ค้นหากิจการที่ให้การส่งเสริม
ค้นหา : หมวด 8
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)
หมวด 8 อุตสาหกรรมดิจิทัล
8.1
กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ [A2] [กสท.4]
1.
ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่่าของโครงการ ซึ่งค่านวณจากค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เป็นการจ้างงานเพิ่มภายหลังยื่นขอรับการส่งเสริม ไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี
2.
ต้องมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ ในประเทศไทย ตามที่สำนักงานกำหนด
3.
อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมหรือใช้แล้ว
4.
ไม่ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่การค้าปลีกและค้าส่งสินค้าทุกประเภท
5.
กำหนดวงเงินสำหรับการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละปี จากรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในปีที่ขอใช้สิทธิและประโยชน์ โดยค่านวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่าย ดังนี้
-
ค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นการจ้างงานเพิ่ม โดยคิดจากการจ้างงานบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างงานบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนวันยื่นขอรับการส่งเสริม
-
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของบุคลากรไทย ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 29110 หรือ CMMI ตั้งแต่ Level 2 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า
8.2
กิจการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
8.2.1
กิจการ Data Center [A1] [กสท.4]
1.
ต้องจัดให้มีบริการ เช่น บริการรับฝากวางคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Co-location) บริการดูแลระบบ (Managed Service) บริการ Backup เครื่อง Server ของลูกค้า บริการ Disaster Recovery Services (DRS) การให้บริการเช่าเครื่องแม่ข่ายสำหรับฝากวางข้อมูล (Data Hosting) เป็นต้น
2.
ต้องมีพื้นที่สำหรับให้บริการ Data Center ไม่น้อยกว่า 3,000 ตารางเมตร
3.
ต้องมีระบบโทรคมนาคมหลัก ที่มีการวางสายสื่อสารแบบความเร็วสูงไปยังศูนย์กลางสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 4 วงจร ทั้งนี้ ต้องเป็นวงจรในประเทศที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 10 Gbps ไม่น้อยกว่า 3 วงจร และมีความเร็วรวมของทุกวงจรไม่น้อยกว่า 60 Gbps
4.
ต้องสามารถให้บริการได้ในขณะที่มีการซ่อมบ่ารุงหรือมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ (Concurrently Maintainable)
5.
ต้องมีระบบ Engine Generator ที่เป็น Continuous Rating ที่รองรับปริมาณการใช้ไฟทั้งหมดของ Data Center พร้อมระบบสำรองกรณี Engine Generator ตัวหนึ่งตัวใดช่ารุดหรือหยุดท่างาน
6.
ต้องมีอุปกรณ์หรือระบบสำรองในอุปกรณ์ UPS, IT Cooling และ UPS Cooling โดยต้องท่างานในทันทีที่อุปกรณ์หลักหยุดท่างาน และไม่กระทบต่อการให้บริการ
7.
ต้องมีเส้นทางสำรองในระบบส่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ขึ้นต่อกัน (Independent Distribution Paths)
8.
ต้องมีระบบป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหาย กรณีที่อุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดช่ารุดหรือหยุดท่างาน
9.
ต้องมีระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อมระบบสำรอง
10.
ต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยทั่วพื้นที่
11.
ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
12.
ต้องได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ด้าน Data Center ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
8.2.2
กิจการ Cloud Service [A1] [กสท.4]
1.
ต้องตั้งอยู่ใน Data Center ที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ด้าน Data Center ไม่น้อยกว่า 2 ศูนย์ที่อยู่ในประเทศ
2.
ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ Data Center ทุกศูนย์ เข้าด้วยกันด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 10 Gbps ในทุกเส้นทาง พร้อมมีวงจรสำรองที่มีขนาดเท่ากัน
3.
ต้องได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ด้าน Cloud Security และมาตรฐาน ISO/IEC 20000-1 ด้าน Cloud Service ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
8.2.3
กิจการบริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงระหว่างประเทศภาคพื้นน้ำ [A2] [กสท.4]
ต้องได้รับใบอนุญาตการบริการวงจรสื่อสัญญาณความเร็วสูงระหว่างประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
8.3
กิจการสนับสนุนระบบนิเวศด้านดิจิทัล
8.3.1
กิจการ Innovation Park [A1] [กสท.4]
1.
ต้องลงทุนหรือจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิงและป้องกันอุบัติภัย เป็นต้น
2.
ต้องมีแผนการบ่มเพาะเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.
ต้องมีแผนการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) หรือการสร้างชุมชนเทคโนโลยี รวมทั้งต้องจัดให้มีพื้นที่และเครื่องมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype)
4.
ต้องมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาการดำเนินธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม (Mentor) ประจ่าโครงการ
5.
ต้องมีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 1,000 ตารางเมตร
8.3.2
กิจการ Maker Space หรือ Fabrication Laboratory [A3] [กสท.4]
1.
ต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในงานสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
2.
ต้องจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พื้นฐานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เช่น CNC Machine, 3D Printer, Water Jet, Tooling, Software Tools สำหรับพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์เพาะเชื้อ อุปกรณ์ผสมสารเคมี เป็นต้น
3.
ต้องจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนานวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
4.
ต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในโครงการ เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิงและป้องกันอุบัติภัย เป็นต้น
8.3.3
กิจการ Co-working Space [B] [กสท.4]
1.
ต้องจัดให้มีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร
2.
ต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
3.
ต้องมีองค์ประกอบในการบริหารจัดการ ได้แก่ Co-working Management, Membership Management System และ Supporting Management
4.
ต้องจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พื้นฐานเพื่อให้บริการ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
5.
ต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในโครงการ เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิงและป้องกันอุบัติภัย เป็นต้น
8.4.1
กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ [A2] [กสท.4]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่พร้อมรองรับระบบอัจฉริยะด้านต่างๆ เช่น Fiber Optic, Public Wifi เป็นต้น
3.
ต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะ Smart Environment และจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อย่างน้อยอีก 1 ด้านจาก 6 ด้าน ดังนี้ Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance และ Smart Energy
4.
ต้องจัดให้มีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูล โดยมีการเชื่อมโยงหรือการให้ใช้งานข้อมูลในการบริหารจัดการและให้บริการในพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Open Data Platform)
5.
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน
6.
ต้องกำหนดและดำเนินการตามเป้าหมายด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่
7.
ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และต้องเสนอแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
8.
หากตั้งอยู่ในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
8.4.2
กิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ [A2] [กสท.4]
1.
ต้องมีการพัฒนา ติดตั้ง และให้บริการระบบเมืองอัจฉริยะที่เหมาะสม ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตามที่คณะกรรมการกำหนด เช่น Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy และ Smart Environment เป็นต้น
2.
ต้องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเท่านั้น
3.
หากตั้งอยู่ในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
pageview : 29,077
total view : 4,300,011