FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน


ค้นหากิจการที่ให้การส่งเสริม

หมวด: ประเภท: กอง:
ค้นคำในประเภทกิจการ:
ค้นหา : หมวด 7
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)

หมวด 7 สาธารณูปโภค
7.1
กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน
7.1.1
กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel) [A1] [กสท.3]
7.1.2
กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ยกเว้นขยะหรือเชื้อเพลิงจากขยะ [A2] [กสท.3]
กรณีกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่น้อยกว่า 200 กิโลวัตต์ ในแต่ละจุดจำหน่ายไฟฟ้า
7.1.3
กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากไฮโดรเจน [A2] [กสท.3]
7.1.4
กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานอื่นๆ [A4] [กสท.3]
ต้องใช้ระบบ Cogeneration หรือกรณีใช้ถ่านหิน ต้องเป็นประเภทเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) เท่านั้น
7.1.5
กิจการผลิตน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม หรือไอน้ำจากน้ำเสีย [A2] [กสท.3]
ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 101 ได้แก่ โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment)
7.1.6
กิจการผลิตน้ำประปา น้ำเพื่ออุตสาหกรรม หรือไอน้ำ [A3] [กสท.3]
7.1.7
กิจการบริการด้านจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO) [A1] [กสท.3]
ต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
7.1.8
กิจการแปรรูปวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycle) หรือนำกลับคืนมาใหม่ (Recovery) [A2] [กสท.3]
1.
ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.
ต้องมีกระบวนการคัดแยกหรือแปรรูปวัสดุที่ไม่ใช้แล้วด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.
ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม
7.1.9
กิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Sorting) กรณีตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม [A3] [กสท.3]
1.
ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.
ต้องมีกระบวนการคัดแยกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.
ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ลำดับที่ 105 ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
7.1.10
กิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Sorting) [A4] [กสท.3]
1.
ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
2.
ต้องมีกระบวนการคัดแยกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.
ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ลำดับที่ 105 ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
4.
ต้องมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท
7.1.11
กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel) [A2] [กสท.3]
1.
ต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ยกเว้นกรณีที่ไม่มีการใช้ความร้อน (Thermal) ในการหลอมหรือเผาไหม้ในกรรมวิธีการผลิต
2.
ต้องดำเนินการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น
3.
ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.1.12
กิจการบำบัดหรือกำจัดของเสีย [A2] [กสท.3]
กรณีกำจัดของเสียด้วยวิธีฝังกลบ จะให้การส่งเสริมเฉพาะการฝังกลบของเสียอันตราย และต้องได้รับความเห็นชอบในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
7.2
กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม
7.2.1
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ไม่ให้การส่งเสริมในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
3.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 500 ไร่
4.
ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด ยกเว้นกรณีมีที่ดินทั้งหมดเกิน 1,000 ไร่ ให้กำหนดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
5.
เงื่อนไขอื่นมีดังนี้
5.1
มาตรฐานของถนนหลัก
-
กรณีที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นไป ต้องมีถนน 4 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 14 เมตร มีเกาะกลางถนนและทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
-
กรณีที่ดินเกินกว่า 500 - 1,000 ไร่ ต้องมีถนน 2 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7 เมตร มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
5.2
มาตรฐานของถนนสายรอง ต้องมีผิวจราจรไม่น้อยกว่า 8.50 เมตร ไหล่ถนนไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง
5.3
ระบบบำบัดน้ำเสียต้องเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีบ่อเก็บน้ำทิ้งหลังการบำบัดด้วย
5.4
ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
5.5
ต้องจัดให้มีที่รวบรวม จัดเก็บ และกำจัดขยะที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
5.6
โรงงานที่เข้าใช้พื้นที่ ต้องเป็นโรงงานที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมต้องห้าม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5.7
ต้องมีบริการสาธารณูปโภค โดยมีไฟฟ้า น้ำประปาและน้ำใช้ โทรศัพท์ และการไปรษณีย์ แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าไปอยู่ในเขตอุตสาหกรรมใช้ได้เพียงพอ
5.8
ต้องจัดปรับปรุงที่ดินประมาณร้อยละ 25 ของที่ดินทั้งหมด หรือตามจำนวนที่คณะกรรมการเห็นชอบ ให้มีความพร้อมในด้านบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม
7.2.2
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ [A2] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ Smart Facilities, Smart IT, Smart Energy, Smart Economy และบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อย่างน้อยอีก 1 ใน 3 ด้าน ดังนี้ Smart Good Corporate Governance, Smart Living และ Smart Workforce
3.
ต้องได้รับความเห็นชอบแผนการพัฒนาเป็นนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ จากคณะกรรมการร่วมระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน
4.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 250 ไร่
5.
ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด ยกเว้นกรณีมีที่ดินทั้งหมดเกิน 1,000 ไร่ ให้กำหนดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
6.
เงื่อนไขอื่น ทั้งกรณีเป็นผู้ดำเนินการเองหรือจัดให้มี ดังนี้
6.1
มาตรฐานของถนนหลัก
-
กรณีที่ดินเกินกว่า 1,000 ไร่ขึ้นไป ต้องมีถนน 4 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 14 เมตร มีเกาะกลางถนนและทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
-
กรณีที่ดินเกินกว่า 250 - 1,000 ไร่ ต้องมีถนน 2 ช่องทาง เขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร ผิวจราจรไม่น้อยกว่า 7 เมตร มีทางเท้าไม่น้อยกว่า 2 เมตรต่อข้าง นอกจากนี้ต้องมีผิวทางหรือไหล่ทางกว้างเพียงพอที่จะให้รถยนต์จอดฉุกเฉิน
6.2
มาตรฐานของถนนสายรอง ต้องมีผิวจราจรไม่น้อยกว่า 8.50 เมตร ไหล่ถนนไม่น้อย กว่า 2 เมตรต่อข้าง
6.3
ระบบบำบัดน้ำเสียต้องเหมาะสมตามลักษณะสมบัติของน้ำเสีย และการบำบัดน้ำเสียต้องเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีบ่อเก็บน้ำทิ้งหลังการบำบัดด้วย
6.4
ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด
6.5
ต้องจัดให้มีที่รวบรวม จัดเก็บ และกำจัดขยะที่เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
6.6
โรงงานที่เข้าใช้พื้นที่ ต้องเป็นโรงงานที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมต้องห้าม ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
6.7
ต้องมีบริการสาธารณูปโภค โดยมีไฟฟ้า น้ำประปาและน้ำใช้ โทรศัพท์ และการไปรษณีย์ แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าไปอยู่ในเขตอุตสาหกรรมใช้ได้เพียงพอ
6.8
ต้องจัดปรับปรุงที่ดินประมาณร้อยละ 25 ของที่ดินทั้งหมด หรือตามจำนวนที่คณะกรรมการเห็นชอบ ให้มีความพร้อมในด้านบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม
7.
ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้รับความเห็นชอบ ภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันมีรายได้ครั้งแรกของโครงการ
8.
หากตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
7.2.3
นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทาง
7.2.3.1
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ด้านนวัตกรรมอาหาร [A1] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.
ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่พร้อมสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัยพัฒนา โรงงานต้นแบบ พื้นที่ทดลองผลิต พื้นที่ทดสอบตลาด (Living Lab) และพื้นที่ให้เช่า สำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชน เป็นต้น
4.
ต้องมีห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab) ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งมีนักเทคนิค (Technician) ประจำเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่พร้อมสนับสนุนการท้าวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชน
5.
ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น ห้องประชุมสัมมนา ระบบการสื่อสาร ระบบไฟฟ้าสำรอง เป็นต้น
6.
ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสม ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
7.2.3.2
กิจการนิคมหรือเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Park) [A1] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องมีศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubation Center)
3.
ต้องมีระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ
4.
ต้องมีระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง
5.
ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.3.3
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่
3.
ต้องมีพื้นที่สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด
4.
ต้องมีพื้นที่สำหรับการค้าขายอัญมณีและเครื่องประดับ
5.
ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ต้องมีห้องประชุมและห้องแสดงสินค้ารวมทั้งศูนย์ธุรกิจ
7.2.3.4
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Park) [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 200 ไร่ และมีการลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าให้เช่าหรือขาย โดยมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 50,000 ตารางเมตร
3.
ต้องตั้งในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 50 กิโลเมตรจากบริเวณท่าเรือ ท่าอากาศยาน ด่านชายแดนศุลกากร สถานีตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (Inland Container Depot: ICD) หรืออยู่ในเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
4.
ต้องจัดให้มีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นเขตประกอบการเสรีหรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
5.
ต้องจัดให้มีสถานีเปลี่ยนถ่ายขึ้น-ลงตู้คอนเทนเนอร์ หรือสถานีรถบรรทุกและสถานีเก็บและรับฝากตู้คอนเทนเนอร์ ไม่น้อยกว่า 50 ตู้
6.
ต้องมีระบบโทรคมนาคมหลักที่มีการวางสายสื่อสารแบบความเร็วสูง จากเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไปยังศูนย์กลางสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ
7.2.3.5
กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอากาศยานหรืออวกาศ [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่
3.
ต้องจัดให้มีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) หรือเขตปลอดอากร (Free Zone)
4.
ต้องจัดให้มีพื้นที่รองรับศูนย์ซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วน
5.
ต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการ ได้แก่ ระบบถนน ระบบระบายน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบดับเพลิงและป้องกันอุบัติภัย ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม และระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.3.6
กิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ไม่ให้การส่งเสริมในกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
3.
ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ โดยพื้นที่สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่เกินร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด
4.
ต้องมีพื้นที่เป็นสถานประกอบการในอุตสาหรรมเกษตร เกษตรแปรรูปอาหาร กิจการที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตร ผลพลอยได้ เศษหรือของเสียจากการเกษตร เป็นวัตถุดิบหลัก รวมทั้งบริการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร ในสัดส่วนพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่เป็นสถานประกอบการทั้งหมด
5.
ต้องมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ ดังนี้
-
ห้องปฏิบัติการ/ทดสอบ
-
สถาบันฝึกอบรมหรือพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรหรืออาหาร
-
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน หรือรายละเอียดตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
7.2.4
กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และ/หรือ คลังสินค้า [A2] [กสท.3]
ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น

pageview : 29,080

total view : 4,300,014