FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน


ค้นหากิจการที่ให้การส่งเสริม

หมวด: ประเภท: กอง:
ค้นคำในประเภทกิจการ:
ค้นหา : หมวด 5
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)

หมวด 5 อุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ
5.1
กิจการสำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ แต่งแร่ ถลุงแร่ ประกอบโลหกรรมแร่ศักยภาพเป้าหมาย
5.1.1
กิจการสำรวจแร่ [B] [กสท.3]
ต้องมีอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
5.1.2
กิจการทำเหมืองแร่ แต่งแร่ ถลุงแร่ ประกอบโลหกรรมแร่ศักยภาพเป้าหมาย
5.1.2.1
กิจการทำเหมืองแร่ศักยภาพเป้าหมาย [A2] [กสท.3]
1.
ต้องมีประทานบัตรหรือใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมือง ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
2.
ต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับแร่ศักยภาพเป้าหมาย เช่น แร่หายาก (Rare Earth) โลหะมีค่าสูง (Precious Metal) โลหะแอลคาไลน์ (Alkali Metal) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โพแทช ( Potash) เป็นต้น และแร่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติกำหนด (ยกเว้นหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง)
3.
ต้องได้รับหนังสือรับรองสถานประกอบการเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) หรือมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ
4.
ต้องได้รับหนังสือรับรอง Mining 4.0 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
5.
ต้องมีระบบตรวจสอบและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
6.
กรณีนิติบุคคลเดียวกันมีการทำเหมืองแร่ต่อจากการสำรวจแร่ศักยภาพเป้าหมาย ให้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสำรวจแร่ของประทานบัตรที่รับรองโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มาคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
7.
กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากมาขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 3 – 5 ภายในวันครบเปิดดำเนินการ
5.1.2.2
กิจการแต่งแร่ต่อเนื่องจากการทำเหมืองแร่ศักยภาพเป้าหมายในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.3]
1.
ต้องมีประทานบัตรหรือใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมือง ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
2.
กรณีแต่งแร่อยู่นอกพื้นที่ประทานบัตร ต้องมีใบอนุญาตแต่งแร่ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
3.
ต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับแร่ศักยภาพเป้าหมาย เช่น แร่หายาก (Rare Earth) โลหะมีค่าสูง (Precious Metal) โลหะแอลคาไลน์ (Alkali Metal) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โพแทช ( Potash) เป็นต้น และแร่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติกำหนด (ยกเว้นหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง)
4.
ต้องได้รับหนังสือรับรองสถานประกอบการเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) หรือมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ
5.
ต้องได้รับหนังสือรับรอง Mining 4.0 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
6.
ต้องมีระบบตรวจสอบและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
7.
กรณีนิติบุคคลเดียวกันมีการทำเหมืองแร่ ต่อจากการสำรวจแร่ศักยภาพเป้าหมาย ให้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสำรวจแร่ของประทานบัตรที่รับรองโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มาคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
8.
กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากมาขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 4 – 6 ภายในวันครบเปิดดำเนินการ
5.1.2.3
กิจการถลุงแร่ และ/หรือ ประกอบโลหกรรมต่อเนื่อง จากการทำเหมืองแร่และแต่งแร่ [A2] [กสท.3]
1.
ต้องมีประทานบัตรหรือใบอนุญาตรับช่วงการทำเหมือง ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
2.
กรณีแต่งแร่ และ/หรือประกอบโลหกรรมอยู่นอกพื้นที่ประทานบัตร ต้องมีใบอนุญาตแต่งแร่ และ/หรือ ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
3.
ต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับแร่ศักยภาพเป้าหมาย เช่น แร่หายาก (Rare Earth) โลหะมีค่าสูง (Precious Metal) โลหะแอลคาไลน์ (Alkali Metal) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โพแทช ( Potash) เป็นต้ น และแร่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติกำหนด (ยกเว้นหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง)
4.
ต้องได้รับหนังสือรับรองสถานประกอบการเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) หรือมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ
5.
ต้องได้รับหนังสือรับรอง Mining 4.0 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
6.
ต้องมีระบบตรวจสอบและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
7.
กรณีนิติบุคคลเดียวกันมีการทำเหมืองแร่ต่อจากการสำรวจแร่ศักยภาพเป้าหมาย ให้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสำรวจแร่ของประทานบัตรที่รับรองโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มาคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
8.
กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากมาขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อ 4 – 6 ภายในวันครบเปิดดำเนินการ
5.1.2.4
กิจการแต่งแร่ ถลุงแร่ หรือ ประกอบโลหกรรมแร่ศักยภาพเป้าหมาย [A3] [กสท.3]
1.
ต้องมีใบอนุญาตแต่งแร่ หรือใบอนุญาตประกอบโลหกรรม หรือใบอนุญาตอื่น จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
2.
ต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับแร่ศักยภาพเป้าหมาย เช่น แร่หายาก (Rare Earth) โลหะมีค่าสูง (Precious Metal) โลหะแอลคาไลน์ (Alkali Metal) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โพแทช (Potash) เป็นต้น และแร่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติกำหนด (ยกเว้นหินอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง)
3.
ต้องได้รับหนังสือรับรองสถานประกอบการเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining) หรือมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ
4.
ต้องได้รับหนังสือรับรอง Mining 4.0 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือมาตรฐานสากลอื่น ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
5.
กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากมาขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 3 – 4 ภายในวันครบเปิดดำเนินการ
5.2
กิจการผลิตวัสดุ
5.2.1
กิจการผลิต Advanced หรือ Nano Materials หรือผลิตภัณฑ์จาก Advanced หรือ Nano Materials
5.2.1.1
กิจการผลิต Advanced หรือ Nano Materials หรือการผลิตผลิตภัณฑ์จาก Advanced หรือ Nano Materials ที่มีขั้นตอนการผลิตต่อเนื่องจากการผลิต Advanced หรือ Nano Materials ในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.3]
5.2.1.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จาก Advanced หรือ Nano Materials [A3] [กสท.3]
5.2.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ว หรือเซรามิกส์
5.2.2.1
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์แก้วหรือเซรามิกส์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ [A3] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการหลอม และ/หรือ การอบ
5.2.2.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ว [B] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการหลอม และ/หรือ การอบ
5.2.2.3
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ (ยกเว้น Earthenware และกระเบื้องเซรามิกส์) [B] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูป เผา และ/หรือ การอบ
5.2.3
กิจการผลิตวัสดุทนไฟ หรือฉนวนกันความร้อน (ยกเว้นอิฐมวลเบา อิฐน้ำหนักเบา) [B] [กสท.3]
5.2.4
กิจการผลิตยิปซั่มหรือผลิตภัณฑ์จากยิปซั่ม และปูนซีเมนต์
5.2.4.1
กิจการผลิตยิปซั่ม หรือผลิตภัณฑ์จากยิปซั่ม [B] [กสท.3]
5.2.4.2
กิจการผลิตปูนซีเมนต์ [B] [กสท.3]
1.
ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ เช่น
1.1
มีการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) และ/หรือ ใช้เทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture and Utilization: CCU)
1.2
มีการใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต (ยกเว้นพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์)
2.
กรณีโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม สามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น
5.2.5
กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง สำหรับงานสาธารณูปโภค [A2] [กสท.3]
ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น
5.3
กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในอุตสาหกรรมวัสดุ
1.
ต้องมีขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ที่ใช้เป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
2.
ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยตามรูปแบบที่คณะกรรมการกำหนด เช่น Technology Research Consortium เป็นต้น
5.3.1
กิจการพัฒนา Advanced Materials Technology [A1+ (10 ปี ไม่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคค] [กสท.3]
5.3.2
กิจการพัฒนา Nanotechnology [A1+ (10 ปี ไม่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุค] [กสท.3]
5.4
กิจการผลิตเหล็กและโลหะ
5.4.1
กิจการผลิตเหล็กขั้นต้น ได้แก่ น้ำเหล็กบริสุทธิ์ (Pure Molten Iron) เหล็กถลุง (Pig Iron) เหล็กพรุน (Sponge Iron, Direct Reduction Iron: DRI) และ Hot Briquetted Iron (HBI) [A2] [กสท.3]
5.4.2
กิจการผลิตเหล็กขั้นกลาง ได้แก่ Slab, Ingot, Billet และ Bloom
5.4.2.1
กิจการผลิตเหล็กขั้นกลาง ได้แก่ Slab, Ingot, Billet และ Bloom ที่ผลิตต่อเนื่องจากเหล็กขั้นต้นในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.3]
5.4.2.2
กิจการผลิตเหล็กขั้นกลาง ได้แก่ Slab, Ingot, Billet และ Bloom อื่นๆ [A4] [กสท.3]
5.4.3
กิจการผลิตเหล็ก และ/หรือ เหล็กกล้าขั้นปลาย
5.4.3.1
กิจการผลิตเหล็กขั้นปลายคุณภาพสูง ชนิดเหล็กทนแรงดึงสูง (High Tensile Strength Steel) [A2] [กสท.3]
ต้องมีค่า Ultimate Tensile Strength (UTS) มากกว่า 700 เมกะปาสคาล (MPa) ขึ้นไป
5.4.3.2
กิจการผลิตเหล็กขั้นปลาย ที่มีขั้นตอนการผลิตต่อเนื่องจากการผลิตเหล็กขั้นต้นและขั้นกลาง ในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปโลหะ
5.4.3.3
กิจการผลิตเหล็กทรงยาวสำหรับงานอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็กรูปพรรณ เหล็กเพลา เหล็กลวด และลวดเหล็ก [A4] [กสท.3]
5.4.3.4
กิจการผลิตเหล็กทรงยาวสำหรับ งานก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กรูปพรรณ เหล็กเพลา เหล็กลวด และลวดเหล็ก [B] [กสท.3]
5.4.3.5
กิจการผลิตเหล็กทรงแบนสำหรับงานอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็กแผ่นไร้สนิมรีดร้อนหรือรีดเย็น เหล็กแผ่นหนา เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ [A4] [กสท.3]
5.4.3.6
กิจการผลิตเหล็กทรงแบนสำหรับงานก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กแผ่นไร้สนิมรีดร้อนหรือรีดเย็น เหล็กแผ่นหนา เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ [B] [กสท.3]
5.4.3.7
กิจการผลิตแผ่นเหล็กรีดเย็นเคลือบดีบุก (Tin Mill Black Plate) [A3] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการรีด หรือขั้นตอนการขึ้นรูปโลหะ
5.4.3.8
การผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิด Electrical Steel [A3] [กสท.3]
5.4.4
กิจการผลิตท่อเหล็ก หรือท่อเหล็กไร้สนิม
5.4.4.1
กิจการผลิตท่อเหล็กชนิดไร้ตะเข็บ หรือลบตะเข็บภายใน [A3] [กสท.3]
5.4.4.2
กิจการผลิตท่อเหล็กอื่นๆ [B] [กสท.3]
5.4.5
กิจการผลิตผงโลหะ (ยกเว้นผงโลหะสำหรับงานขัดผิว (Shot Blasting)) [A3] [กสท.3]
5.4.6
กิจการผลิตเฟอร์โรอัลลอย [A4] [กสท.3]
5.4.7
กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ
5.4.7.1
กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อเหนียว [A2] [กสท.3]
ต้องใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace
5.4.7.2
กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่ออื่นๆ [A3] [กสท.3]
ต้องใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace
5.4.8
กิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบ [A3] [กสท.3]
5.4.9
กิจการรีด ดึง หล่อ หรือทุบโลหะ ที่มิใช่เหล็ก [A4] [กสท.3]
5.4.10
กิจการตัดโลหะ [B] [กสท.3]
ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
5.4.11
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
5.4.11.1
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผงโลหะ [A3] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอน Additive Manufacturing และ/หรือการ Sintering
5.4.11.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ เหล็ก หรือ ชิ้นส่วนเหล็ก [A3] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อที่ใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace หรือชิ้นส่วนเหล็กทุบในโครงการเดียวกัน
5.4.11.3
กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ [A3] [กสท.3]
5.4.11.4
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ [A4] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปต่อเนื่องจากการรีด ดึง หล่อ หรือทุบโลหะที่มิใช่เหล็กในโครงการเดียวกัน
5.4.11.5
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งชิ้นส่วนโลหะอื่นๆ [B] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูป เช่น Machining, Stamping และ Bending เป็นต้น
5.4.12
กิจการชุบ เคลือบผิว การปรับ หรือเปลี่ยนสภาพผิว
5.4.12.1
กิจการชุบ เคลือบผิว การปรับ หรือเปลี่ยนสภาพผิว ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) [A4] [กสท.3]
5.4.12.2
กิจการชุบ เคลือบผิว การปรับ หรือเปลี่ยนสภาพผิว ที่ใช้เทคโนโลยีระดับพื้นฐาน (Basic Technology) [B] [กสท.3]
ต้องมีกระบวนการทางเคมี และ/หรือ กระบวนการทางไฟฟ้า สำหรับชุบ เคลือบผิว การปรับหรือเปลี่ยนสภาพผิว
5.4.13
กิจการอบ-ชุบโลหะ (Heat Treatment) [A4] [กสท.3]
ต้องไม่ใช้สารไซยาไนต์ในกรรมวิธีการผลิต
5.4.14
กิจการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับอุตสาหกรรม (Fabrication Industry) หรือการซ่อมแท่นขุดเจาะ (Platform) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
5.4.14.1
กิจการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์โลหะสำหรับอุตสาหกรรม (Fabrication Industry) [A3] [กสท.3]
ต้องมีขั้นตอนการออกแบบทางวิศวกรรม
5.4.14.2
กิจการซ่อมแท่นขุดเจาะ (Platform) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม [A4] [กสท.3]
5.4.15
กิจการผลิตโครงสร้างโลหะสำหรับงานก่อสร้างหรืองานอุตสาหกรรม (Fabrication Industry) [A2] [กสท.3]
ต้องตั้งสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเท่านั้น

pageview : 29,086

total view : 4,300,021