ค้นหากิจการที่ให้การส่งเสริม
ค้นหา : หมวด 1
(ค้นหาได้ครั้งละ 1 เงื่อนไข)
หมวด 1 อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ
1.1.1
กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ และ พืชพลังงาน
1.1.1.1
กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ [A1] [กสท.1]
1.
ต้องมีพื้นที่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 ไร่
2.
ต้องได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า จากกรมป่าไม้หรือหน่วยงานที่กรมป่าไม้มอบหมาย ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับหนังสือรับรอง ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
3.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม เช่น Forest Stewardship Council (FSC), Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.1.1.2
กิจการปลูกพืชพลังงาน [A1] [กสท.1]
1.
ต้องมีพื้นที่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 ไร่
2.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการการปลูกที่เหมาะสม เช่น Forest Stewardship Council (FSC), Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.1.2
กิจการขยายพันธุ์สัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ [A3] [กสท.1]
1.
ต้องมีการขยายพันธุ์สัตว์ในโครงการ
2.
ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โรงเรือนระบบปิด ระบบระบายอากาศ ระบบการให้น้ำและอาหารอัตโนมัติ ระบบป้องกันพาหะนำโรคเข้าสู่ฟาร์ม และระบบป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3.
ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่า ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
4.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการการเลี้ยงสัตว์ เช่น Good Agricultural Practice (GAP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.1.3
กิจการฆ่าและชำแหละสัตว์ [A3] [กสท.1]
1.
ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย เช่น ระบบทำให้สัตว์สลบ ราวแขวนสัตว์ ห้องเย็น ระบบลดอุณหภูมิ และการตรวจสอบสิ่งปลอมปน เป็นต้น
2.
ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่า ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
3.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสำหรับโรงฆ่าสัตว์ เช่น Good Manufacturing Practice (GMP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.1.4
กิจการประมงน้ำลึก [A3] [กสท.1]
ต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยจากกรมประมง ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.1
กิจการผลิตแป้งจากพืช
1.2.1.1
กิจการผลิตแป้งอินทรีย์ (Organic Starch or Organic Flour) [A2] [กสท.1]
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่น International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM), Canada Organic Regime (COR), The National Organic Program (NOP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.1.2
กิจการผลิตแป้งแปรรูป (Modified Starch) หรือแป้ง จากพืชที่มี คุณสมบัติพิเศษ [A3] [กสท.1]
1.2.1.3
กิจการผลิตแป้งดิบ (Native Starch or Native Flour) [A4] [กสท.1]
1.
ต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การควบคุมมลภาวะทางอากาศ เป็นต้น
2.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.2
กิจการผลิตน้ำมันหรือไขมัน จากพืชหรือสัตว์ [A3] [กสท.1]
1.2.3
กิจการฟอกหนังสัตว์ หรือแต่ง สำเร็จหนังสัตว์ [A3] [กสท.1]
1.
ต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการใช้สารเคมี หรือน้ำเอนไซม์ หรือตัวเร่งชีวภาพ (Biological Catalyst) มาใช้ทดแทนการใช้สารเคมี เป็นต้น
2.
เฉพาะกิจการฟอกหนังสัตว์ ต้องตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม หรือในเขตประกอบการอุตสาหกรรมฟอกหนัง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 30 ของกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และในกรณีขยายกิจการหรือการขอรับการส่งเสริมตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) จะอนุญาตให้ตั้งในพื้นที่สถานประกอบการเดิมได้ โดยจะต้องมีมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.2.4
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยาง ธรรมชาติ
1.2.4.1
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ [A2] [กสท.1]
1.
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตยางรัดของ ลูกโป่ง และแหวนยาง
2.
ต้องมีปริมาณการใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของปริมาณการใช้วัตถุดิบในโครงการ
1.2.4.2
กิจการแปรรูปยางขั้นต้น [A4] [กสท.1]
1.2.5
กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) สิ่งปรุงแต่ง อาหาร (Food Ingredient) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement) ที่ใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย [A3] [กสท.1]
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลทราย น้ำผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำบริโภค น้ำโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ำอัดลม น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ
1.2.6
กิจการผลิตอาหารแห่งอนาคต (Future Food)
1.2.6.1
กิจการผลิตอาหารที่มีคำกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) [A2] [กสท.1]
1.
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลทราย น้ำผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำบริโภค น้ำโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ำอัดลม น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ
2.
ต้องได้รับการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.6.2
กิจการผลิตอาหารใหม่ (Novel Food) [A2] [กสท.1]
1.
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลทราย น้ำผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำบริโภค น้ำโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ำอัดลม น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ
2.
ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.6.3
กิจการผลิตอาหารอินทรีย์ (Organic Food) [A2] [กสท.1]
1.
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลทราย น้ำผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำบริโภค น้ำโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ำอัดลม น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ
2.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่น International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM), Canada Organic Regime (COR), The National Organic Program (NOP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.6.4
กิจการผลิตอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) [A2] [กสท.1]
1.
ไม่ให้ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลทราย น้ำผลไม้เจือจาง เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มให้พลังงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำบริโภค น้ำโซดาทั้งที่มีการแต่งกลิ่นรสและไม่แต่งกลิ่นรส น้ำอัดลม น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของสิ่งปรุงแต่งอื่นๆ
2.
ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารทางการแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.7
กิจการผลิตน้ำตาลทราย [A4] [กสท.1]
1.
ต้องได้รับความเห็นชอบแผนการเตรียมปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงาน จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริม
2.
ต้องได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
3.
กำหนดวงเงินสำหรับการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากเงินลงทุนด้านเครื่องจักร ตามหลักเกณฑ์ของมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ ด้านการใช้พลังงานทดแทนหรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
4.
ทั้งกรณีการลงทุนใหม่และกรณีขยายกิจการ ไม่สามารถขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรการอื่นๆ ได้
1.2.8
กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือ ส่วนผสมอาหารสัตว์
1.2.8.1
กิจการผลิตอาหารประกอบการรักษาโรคสำหรับสัตว์เลี้ยง [A2] [กสท.1]
1.
ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ควบคุม เฉพาะประเภทอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดอาหารประกอบการรักษาโรคสำหรับสัตว์เลี้ยง หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.
ต้องได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เช่น ISO 22000 หรือมาตรฐานที่ Global Food Safety Initiative (GFSI) ยอมรับ เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.8.2
กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร [A3] [กสท.1]
ต้องได้รับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เช่น ISO 22000 หรือมาตรฐานที่ Global Food Safety Initiative (GFSI) ยอมรับ เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.8.3
กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล [A4] [กสท.1]
ต้องได้รับรองมาตรฐานสากล เช่น Hazard Analysis and Critical Control Points (HACCP) หรือ Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.8.4
กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ กรณีอื่นๆ [B] [กสท.1]
1.2.9
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ จากผลผลิตทางการเกษตร ผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มาจากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุหรือของเสียจากการเกษตร [A3] [กสท.1]
1.2.10
กิจการผลิตเชื้อเพลิงหรือแอลกอฮอล์ทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Grade) จากผลผลิตการเกษตร รวมทั้งเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือของเสียที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร
1.2.10.1
กิจการผลิตเชื้อเพลิงหรือแอลกอฮอล์ทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Grade) จากผลผลิตทางการเกษตร [A2] [กสท.1]
1.2.10.2
กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือของเสียที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร [A2] [กสท.1]
ต้องเป็นการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือของเสียที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร เช่น Biomass to Liquid (BTL) ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นต้น
1.2.10.3
กิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัด [A3] [กสท.1]
1.2.11
กิจการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร
1.2.11.1
กิจการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ ที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง หรือการผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง ที่ต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.1]
การผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ต่อเนื่องในโครงการ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือเทียบเท่า ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.11.2
กิจการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือการผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ ที่ต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน [A3] [กสท.1]
การผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ต่อเนื่องในโครงการ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือเทียบเท่า ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.2.11.3
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตสารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ [A3] [กสท.1]
1.
ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือเทียบเท่า ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสำหรับสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น Good Manufacturing Practice (GMP) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.3.1
กิจการปรับปรุงพันธุ์พืช หรือสัตว์ (ที่ไม่เข้าข่ายกิจการ เทคโนโลยีชีวภาพ) [A3] [กสท.1]
สำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีความอ่อนไหวตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
1.3.2
กิจการผลิตหรือให้บริการเครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางการเกษตรสมัยใหม่ และระบบเกษตรสมัยใหม่
1.3.2.1
กิจการผลิตหรือให้บริการเครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางการเกษตรสมัยใหม่ และระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่มีการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม และผลิตเครื่องจักรกล อุปกรณ์ในโครงการ [A1] [กสท.1]
1.
ต้องผลิตระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบตรวจจับหรือติดตามสภาพต่างๆ ระบบควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (น้ำ ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และระบบโรงเรือนอัจฉริยะ) เป็นต้น
2.
ต้องมีขั้นตอนการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะ System Integration ที่ดำเนินการเอง โดยจะต้องมีการเก็บข้อมูล แปลผล และวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการเอง จะต้องเป็นการว่าจ้างผู้พัฒนาระบบในประเทศ โดยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
3.
ต้องผลิตเครื่องจักรกล อุปกรณ์สำหรับระบบเกษตรสมัยใหม่ โดยมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน การประกอบ และ/หรือการออกแบบทางวิศวกรรม ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
4.
ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรม ไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียน และค่ายานพาหนะ) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
1.3.2.2
กิจการผลิตหรือให้บริการเครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางการเกษตรสมัยใหม่ และระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่มีการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม แต่ไม่มีการผลิตเครื่องจักรกลอุปกรณ์ในโครงการ [A2] [กสท.1]
1.
ต้องผลิตระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบตรวจจับหรือติดตามสภาพต่างๆ ระบบควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (น้ำ ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และ ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ) เป็นต้น
2.
ต้องมีขั้นตอนการออกแบบระบบ หรือซอฟต์แวร์ หรือแพลตฟอร์ม ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะ System Integration ที่ดำเนินการเอง โดยจะต้องมีการเก็บข้อมูล แปลผล และวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการเอง จะต้องเป็นการว่าจ้างผู้พัฒนาระบบในประเทศ โดยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ โดยค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้พัฒนาระบบในประเทศ ให้นับรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
3.
ต้องมีการจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ จากผู้ประกอบการรายอื่น หรือว่าจ้างผู้ประกอบการรายอื่นผลิต แล้วนำมาประกอบในลักษณะ System Integration เป็นระบบเกษตรสมัยใหม่
4.
ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นการจ้างงานใหม่ หรือมีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดิน ทุนหมุนเวียน และค่ายานพาหนะ) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
1.3.2.3
กิจการให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ [A4] [กสท.1]
ต้องเป็นการให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบตรวจจับหรือติดตามสภาพต่างๆ ระบบควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (น้ำ ปุ๋ย เวชภัณฑ์ และระบบโรงเรือนอัจฉริยะ) เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
1.3.3
กิจการโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) [A3] [กสท.1]
ต้องมีการปลูกพืชภายในอาคารที่ออกแบบมาเฉพาะในระบบปิด และต้องมีการติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมในการปลูกพืช ทั้งทางกายภาพและการควบคุมสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
1.4
กิจการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
1.4.1
กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน และสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช [A3] [กสท.1]
1.
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน ต้องดำเนินการให้ได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า จากกรมวิชาการเกษตร ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.
ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องดำเนินการให้ได้รับการขึ้นทะเบียนและใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 จากกรมวิชาการเกษตร ก่อนการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและใบรับแจ้ง ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.4.2
กิจการอบพืชและไซโล [B] [กสท.1]
1.4.3
กิจการคัดคุณภาพ และเก็บรักษาผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
1.4.3.1
กิจการคัดคุณภาพ และเก็บรักษาผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง [A2] [กสท.1]
ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบเนื้อในผลไม้ การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการกำจัดแมลง การใช้ Nuclear Magnetic Resonance และการใช้ระบบเอกซเรย์ เป็นต้น
1.4.3.2
กิจการคัดคุณภาพ และเก็บรักษาผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย [A3] [กสท.1]
1.
ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้เครื่องคัดแยกสีเมล็ดพืช การอบไอน้ำฆ่าไข่แมลงวันผลไม้ การเคลือบผิวเมล็ดพืช การบรรจุในบรรยากาศดัดแปลง (Modified Atmosphere Packaging: MAP) การบรรจุในบรรยากาศควบคุม (Controlled Atmosphere Packaging: CAP) การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Storage) และการแช่เยือกแข็ง (Freezing) เป็นต้น
2.
ไม่ให้การส่งเสริมการคัดคุณภาพข้าว
1.4.3.3
กิจการคัดคุณภาพและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าว ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย [B] [กสท.1]
1.4.4
กิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น
1.4.4.1
กิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น กรณีใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ (Natural Refrigerants) [A4] [กสท.1]
ต้องใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ โดยอนุญาตให้ใช้แอมโมเนียได้ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ของปริมาณการใช้สารทำความเย็นในระบบ
1.4.4.2
กิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น กรณีอื่นๆ [B] [กสท.1]
ต้องใช้สารทำความเย็นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยจะพิจารณาจากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น Global Warming Potential (GWP) เป็นต้น
1.4.5
กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร [A3] [กสท.1]
1.
ต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ไร่
2.
ต้องมีพื้นที่สำหรับประกอบกิจการและบริการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับแสดงหรือซื้อขายสินค้าเกษตร ศูนย์ประมูลสินค้า ห้องเย็น และคลังสินค้า
3.
ต้องมีการให้บริการตรวจสอบ คัดคุณภาพ และตรวจสารพิษตกค้าง
1.4.6
กิจการศูนย์การค้าผลิตผลทางการเกษตรระบบดิจิทัล [A3] [กสท.1]
1.
ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2.
ต้องมีแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมทั้งมีระบบการติดตามและควบคุมคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร โดยต้องมีกระบวนการพัฒนาหรือว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในโครงการ
3.
ต้องเป็นการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) เท่านั้น
4.
ต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่เทียบเท่า ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ และมีกระบวนการตรวจคุณภาพ เช่น ห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบคุณภาพ เป็นต้น
1.5
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ
1.5.1
กิจการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
1.5.1.1
กิจการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ขึ้นรูปต่อเนื่องในโครงการเดียวกัน [A2] [กสท.1]
ต้องได้การรับรองมาตรฐานพลาสติกฐานชีวภาพ เช่น มอก. 2734, ISO 16620 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.5.1.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ [A3] [กสท.1]
1.
ต้องได้การรับรองมาตรฐานพลาสติกฐานชีวภาพ เช่น มอก. 2734, ISO 16620 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
2.
ต้องมีกระบวนการขึ้นรูปจากพลาสติกชีวภาพ
1.5.2
กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals) [A2] [กสท.1]
1.
ต้องใช้วัตถุดิบที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตร วัสดุชีวมวล เศษหรือผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 โดยน้ำหนัก
2.
ไม่ให้การส่งเสริมโครงการที่มีเฉพาะการผสมหรือเจือจาง
3.
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานหรือการทดสอบคุณสมบัติการย่อยสลายทางชีวภาพได้ (Ready Biodegradability) ตามมาตรฐานสากล เช่น OECD Guidelines for the Testing of Chemical, Test No. 301: Ready Biodegradability เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ
1.5.3
กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
1.5.3.1
กิจการการปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ [A1] [กสท.1]
1.5.3.2
กิจการผลิตสารเวชภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ [A1] [กสท.1]
1.5.3.3
กิจการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ [A1] [กสท.1]
1.5.3.4
กิจการผลิตสารชีวโมเลกุลและสารออกฤทธิ์ชีวภาพ ที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์ เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ ในการผลิต [A1] [กสท.1]
1.5.3.5
กิจการผลิตวัตถุดิบและ/หรือวัสดุจำเป็น ที่ใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การควบคุมคุณภาพ สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ [A1] [กสท.1]
1.6
กิจการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) [A1+(10 ปี ไม่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล] [กสท.1]
1.
ต้องมีขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ที่ใช้เป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
2.
ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย ตามรูปแบบที่คณะกรรมการกำหนด เช่น Technology Research Consortium เป็นต้น
pageview : 29,081
total view : 4,300,015