ขอบคุณมากค่ะ
ยินดีครับ
สวัสดีค่ะ จะรบกวนสอบถามค่ะ ว่า บริษัท ได้นำเข้าสายไฟมาทำการผลิต เป็นสายไฟรถจักรยาน แล้วส่งออกต่างประเทศ
ภายใต้สิทธิ BOI (IPO) มาตรา 36(1) ที่ได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว ในส่วนสายไฟจะมีแกนพลาสติกที่สายไฟพันมา เมื่อทำการผลิตแล้วจะมีแกนพลาสติก
เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร บริษัท ฯ สามารถปฏิบัติได้ตามนี้ได้หรือไม่ค่ะ
1. ขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตร โดยไม่ต้องทำลาย (บริษัท ไม่มีภาระภาษีผูกพัน)
หรือ 2. ขอชำระภาษี ตามสภาพแล้วทิ้งถังขยะได้
หรือ 3. ทำลายแล้วชำระภาษี ตามสภาพแล้วให้ใครก็ได้ เอาไปชั่งกิโลขายต่อ
ขอรบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ
การจำแนกประเภทพิกัดสินค้า หลักเกณฑ์ข้อ 5 (ข) กำหนดไว้ว่า
"วัตถุและภาชนะสำหรับใช้ในการบรรจุที่บรรจุของเข้ามา ให้จำแนกเข้าประเภทเดียวกันกับของนั้นถ้าวัตถุและภาชนะนั้นเป็นชนิดที่ตามปกติใช้สำหรับบรรจุของดังกล่าว อย่างไรก็ตามไม่ให้ใช้ข้อกำหนดนี้เมื่อเห็นได้ชัดว่า วัตถุและภาชนะสำหรับใช้ในการบรรจุนั้นเหมาะสำหรับใช้ซ้ำได้อีก"
แกนพลาสติกพันสายไฟ น่าจะเป็นวัตถุที่ใช้ซ้ำได้อีก จึงอาจเข้าข่ายที่ต้องจำแนกพิกัดสินค้าคนละรายการกับสายไฟ
และสามารถขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบจาก BOI เป็น 1.สายไฟ และ 2.แกนพลาสติก ได้
สายไฟจะตัดบัญชีได้ตามสูตรการผลิต
ส่วนแกนพลาสติกจะไม่สามารถตัดบัญชีได้ แต่สามารถดำเนินการดังนี้
1. ขอส่งคืนไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี
2. ขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วจึงจำหน่ายเป็นเศษพลาสติก
หรือไม่อย่างนั้น ก็อาจชำระอากรแกนพลาสติกตั้งแต่ตอนที่นำเข้า และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็จำหน่ายในประเทศต่อไปครับ
ขอบคุณค่ะ ที่บอกให้ชำระอากรแกนพลาสติกตั้งแต่ตอนที่นำเข้า และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็จำหน่ายในประเทศต่อไป
แล้วชื่อสินค้าที่นำ ระบุบนอินวอยซ์ ต้องแยกเป็น 2 รายการ 1. CABLE.......... Metre
2. CABLE ROLL.........Pcs
อย่างนี้หรือคะ? รบกวนหน่อย ขอบคุณค่ะ
การแสดงรายการในอินวอยซ์น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
plastic spool, plastic reel, plastic bobbin, plastic roll แล้วแต่จะเรียกครับ
ขอบคุณค่ะ ขอสอบถามเพิ่มเติมนิดหนึ่งค่ะว่า กรณีขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้ว ทิ้งขยะ
โดยที่ไม่ได้กำจัดโดยวิธีอื่น ทำได้ไหมคะ ?
ขอบคุณค่ะ
การขอทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร จะต้องมีวิธีการจำกัดที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
การทิ้งเศษพลาสติกเป็นขยะ ไม่ใช่การกำจัดที่เหมาะสม
ทั้งนี้ บริษัทต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมด้วยนะครับ
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
ยินดีครับ
ขอถามเพิ่มเติมนะคะ ในกรณี ขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร (แกนพลาสติก) และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วจึงจำหน่ายเป็นเศษพลาสติก
โดยที่แกนพลาสติก ตัดบัญชีไม่ได้ ดังนั้น ขั้นตอนการทำลาย จะต้องมี Inspector มาดูวิธีการทำลายและยืนยันปริมาณหรือเปล่าค่ะ ?
ขอบคุณมากค่ะ
ขอสอบถามเพิ่มเติมว่าผู้ที่จะพิจารณาว่าเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าหรือไม่ คือใครค่ะ เพราะชิ้นงานส่วนใหญ่เป็นพลาสติกขึ้นรูป เมื่อทำลายก้อแตกหัก แบบนี้ถือว่ามีมูลค่าเชิงพาณิชย์มั้ยค่ะ
เศษโลหะ เศษพลาสติก ฯลฯ ปกติจะถื่อว่ามีมูลค่าครับ
1. ถ้ามีคนมารับซื้อ ก็มีมูลค่า
2. ถ้ามีคนมาขนไปให้ฟรี ก็มีมูลค่า (ไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครยอมเสียเวลา เสียค่าน้ำมัน มาขนไปให้) ครับ
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
ยินดีครับ
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ ในกรณีที่วิธีการทำลายเป็นแบบฝังกลบ ต้องให้ Inspector มาตรวจด้วยหรือไม่ค่ะ
ส่วนสูญเสียจะต้องทำลายเป็นเศษซาก
หากเศษซากนั้นมีพิษหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานหรือผู้ประกอบการที่ BOI ให้ความเห็นชอบ
บริษัท Inspector มีหน้าที่ต้องตรวจสอบจนถึงขั้นตอนการทำลายเสร็จ
แต่บริษัท Inspector ไม่ต้องร่วมตรวจสอบในขั้นตอนการจำกัด คือ ให้บริษัทที่นำไปกำจัดต่อ เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการกำจัด (ชนิด ปริมาณ วิธีจำกัด) เพื่อแนบเป็นหลักฐานร่วมกับหนังสือรับรองของ Inspector
-------------------------------------------------------
กรณีที่สอบถาม อาจไม่ได้แจ้งขั้นตอนการทำลายมาทั้งหมด การฝังกลบอาจเป็นเพียงขั้นตอนการกำจัดก็ได้
ซึ่งถ้าเป็นขั้นตอนการกำจัด บ.Inspector ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมในการจำกัด
แต่ต้องมีหลักฐานการตรวจสอบส่วนสูญเสียและรับรองการทำลายของ Inspector และหนังสือรับรองการกำจัดของหน่วยงานที่กำจัด จึงจะใช้ตัดบัญชีได้ครับ
สอบถามกรณีที่วัตถุดิบบางรายการที่หากต้องการกำจัดจะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ในกรณีของ รง เราไม่เคยกำจัดเดี่ยวๆ แต่จะมีการกำจัดเฉพาะในกรณีที่มีการผสมกันแล้ว เช่น เรซินผสมกับHardener เศษซากของสารผสมสองตัวนี้จะติดอยู่ตามหลอดที่ใช้หยอดสารผสมนี้ และเวลานำไปกำจัด ชื่อที่กรมโรงงานอนุมัติ จึงเรียกชื่อว่า ภาชนะปนเปื้อนสารเคมี (เพราะนำหลอดไปกำจัด) และกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ
คำถามคือ
1. เราจำเป็นต้องขอวิธีการทำลายและการกำจัดของสารเดี่ยวๆ หรือไม่หากเราไม่เคยกำจัดจริงๆ เช่น เรซิน อย่างเดียว (และเราไม่รู้ว่าวิธีกำจัดไหนที่จะได้รับอนุมัติจากกรมโรงงานเนื่องจากไม่เคยนำเรซิน หรือ Hardener เดี่ยวๆไปกำจัด)
2. เราจำเป็นต้องขอวิธีการทำลายและการกำจัดของสารผสมสองตัวนี้ หรือไม่ และต้องทำในตาราง “ตามสภาพวัตถุดิบ” หรือ “ตามสภาพ Semi Product” หรืออื่นๆ คะ
1) ตารางชนิดของส่วนสูญเสีย ตามสภาพวัตถุดิบ ทำแบบด้านล่างนี้ได้หรือไม่คะ
- Resin ทำลายโดยการเจือจางด้วยน้ำ และกำจัดด้วยการฝังกลบโดยบริษัทรับกำจัด ในชื่อว่า “ ภาชนะปนเปือนสารเคมี “
- Hardener ทำลายโดยการเจือจางด้วยน้ำ และกำจัดด้วยการฝังกลบโดยบริษัทรับกำจัด ในชื่อว่า “ ภาชนะปนเปือนสารเคมี “
2) ตารางชนิดของส่วนสูญเสีย ตามสภาพ Semi Product หรืออื่นๆ ทำแบบด้านล่างนี้ได้หรือไม่คะ
Semi Mixed Resin and Hardener (ไม่จำเป็นต้องทำลายเนื่องจากไม่สามารถนำไปผลิตต่อได้) และกำจัดด้วยการฝังกลบโดยบริษัทรับกำจัด ในชื่อว่า “ ภาชนะปนเปือนสารเคมี “
สรุปคำถามคือ บริษัทนำวัตถุดิบ A และ B มาผลิต ผสม ประกอบเป็น C เพื่อใช้ในโครงการตามที่ได้รับส่งเสริม โดยบรรจุ C ลงในภาชนะบรรจุ (หลอด) ก่อนนำไปใช้ในขั้นตอนการผลิต
และมี C ตกค้างในภาชนะบรรจุ ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้
กรณีนี้ C ที่เหลือตกค้างในภาชนะบรรจุ และไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ==> ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต ซึ่งสามารถขออนุญาตทำลาย และตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีได้
ตอบคำถามดังนี้
1.การขออนุมัติวิธีทำลาย ให้ขอในชื่อของส่วนสูญเสียนั้นๆ ==> ซึ่งกรณีนี้คือ C
โดยบริษัท Inspector ผู้ได้รับมอบหมายจาก BOI จะเป็นผู้ตรวจสอบ และออกหนังสือรับรองการทำลาย โดยระบุข้อมูล คือ
- รายการและปริมาณส่วนสูญเสียที่ได้ทำลาย (กรณีนี้ คือ C โดยอาจระบุหมายเหตุเพิ่มเติมว่าอยู่ในภาชนะบรรจุ เพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริง)
- รายการและปริมาณวัตถุดิบที่ได้ใช้ไปเป็นส่วนสูญเสีย (กรณีนี้คือปริมาณของ A และ B)
2.การยื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบ ให้ใช้ตารางตามสภาพวัตถุดิบ ซึ่งต้องตรงกับชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ระบุในรายงานของ บ.Inspector (กรณีนี้คือ A และ B) ครับ