FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การขอรับส่งเสริม / ภาพรวมการขอรับการส่งเสริม
การขอรับการส่งเสริม
21 - 24 จาก 24 คำตอบ
page: 2/2
ADMIN เมื่อ 25 มีค 65, 17:22 น. #21
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 25 มีค 65, 17:24 น.

สรุปโดยย่อคือ

กิจการกลุ่ม A1, A2, A3, และกิจการพัฒนา/สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายในหมวด 8 ที่ตั้งใน EEC

1. หากตั้งในเขต/นิคมอุตสาหกรรม จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 1 ปี

2. หากมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 2 ปี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 3 ปี

3. หากตั้งในเขตพิเศษ ในเขต EEC จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 1 ปี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 2 ปี ครับ

Khun Ao เมื่อ 26 มีค 65, 09:11 น. #22

ขอบคุณมากค่ะ

unknown เมื่อ 12 กพ 67, 13:45 น. #23

เรียน แอดมิน

กรณีบริษัทต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยขั้นตอนการผลิตสินค้ามีทั้งหมด 10 ขั้นตอน ตอนที่บริษัทยื่นเอกสารขอรับการส่งเสริม

อยากทราบและขอคำแนะนำดังนี้ค่ะ

1. บริษัทจะใส่ข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และนำเข้าเครื่องจักรมาไม่ครบทุกขั้นตอนการผลิตได้หรือไม่ เช่น แต่ละขั้นตอนใช้เครื่องจักรขั้นตอนละ 1 เครื่อง

   (รวมเป็น 10 เครื่อง) แต่บริษัทจะเขียนข้อมูลใช้เครื่องจักรแค่ 7 เครื่อง

2. จะสามารถตรวจเปิดดำเนินการได้หรือไม่ ถ้ามีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอนการผลิต

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 12 กพ 67, 14:33 น. #24

ขออธิบายแนวทางพิจารณาเรื่องขั้นตอนการผลิตและเครื่องจักร ดังนี้

1. กรรมวิธีการผลิต

กรรมวิธีผลิตที่ยื่นขอรับส่งเสริมและได้รับอนุมัติ เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง คือต้องผลิตครบทุกขั้นตอน

หากไม่ครบ ถือเป็นการผลิตไม่ตรงตามที่ได้รับส่งเสริม ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ใดๆได้

และจะไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง

ดังนั้น จึงควรกรอกกรรมวิธีการผลิตให้ถูกต้องตามที่จะลงทุนจริง

2. เครื่องจักร

การใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ต้องเป็นเครื่องจักรที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ และมีปริมาณไม่เกินกำลังผลิตสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ


ตอบคำถามดังนี้

1. การกรอกข้อมูลเครื่องจักรในคำขอรับการส่งเสริม

ควรกรอกให้ครบถ้วนทั้งรายการและปริมาณ ทั้งที่จะซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

  • การกรอกรายการเครื่องจักรไม่ครบ
    จะทำให้ไม่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ยื่นขอรับส่งเสริม
  • กรณีกรอกจำนวนเครื่องจักรไม่ครบ
    จะทำให้ไม่สอดคล้องกับกำลังผลิตสูงสุดที่ยื่นขอรับส่งเสริม
    และทั้ง 2 กรณี จะทำให้มูลค่าการลงทุนเครื่องจักร และมูลค่าการลงทุนของโครงการ ไม่สอดคล้องกับมูลค่าการลงทุนจริง

2. การเปิดดำเนินการ

หากบริษัทมีเครื่องจักรไม่ครบตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการ ครับ

 1