FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การแก้ไขโครงการ / แก้ไขกำลังผลิต
แก้ไขกำลังผลิต และกรรมวิธีการผลิต
1 - 2 จาก 2 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 26 มค 64, 13:20 น.

บริษัทพึ่งได้รับบัตรส่งเสริมเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563 ต่อมาเกิดปัญหา ดังกล่าว ตามรายละเอียดด้านล่าง

บริษัทขอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวค่ะ

1. บริษัทมีการขอกำลังการผลิตต่ำกว่าความเป็นจริง ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

2. บริษัทต้องการเพิ่ม วัน/เวลา/ทำงาน จาก 80,000 ชุด (10 ชม. / 312 วัน) เป็น (24 ชม. / 320 วัน)

   -  มีวิธีการคำนวณอย่างไร และบริษัทจะแก้ไขกำลังการผลิตได้เป็นกี่ชุด 

3. บางขั้นตอน บริษัทมีการว่าจ้าง ผู้อื่นให้ชุบ แต่ขั้นตอนเดิม ไม่มีขั้นตอนนี้ ต้องดำเนินการแก้ไขด้วยหรือไม่ ในขั้นตอนไม่ได้มีการระบุไว้

4. มีการผลิตงาน โดยใช้เครื่องจักรของลูกค้า ไม่ใช่การเช่าเครื่องจักร แต่เป็นการซัพพอร์ตเครื่องจักร เพื่อผลิตชิ้นงานเฉพาะรุ่นให้กับลูกค้า โดยลูกค้าอยู่ในเขต FZ ใช้สิทธิ์นำเข้ามาเป็น BOI ตรงนี้สามารถทำได้หรือไม่ ต้องการการแก้ไขโครงเพิ่มเติมอีกหรือไม่

บริษัท Sa..........

ADMIN เมื่อ 26 มค 64, 14:05 น. #1
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 26 มค 64, 14:05 น.

ตอบคำถามดังนี้

1. กรณีคำนวณการผลิตต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น คำนวณประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่ำกว่าที่ผลิตได้จริง ไม่สามารถยื่นขอแก้ไขกำลังผลิตได้ แต่สามารถขอแก้ไขเพิ่มกำลังผลิตในวันที่ตรวจสอบเปิดดำเนินการ ตามกำลังผลิตที่ BOI ตรวจสอบได้จริง

แต่หากเป็นกรณีที่จะมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิต สามารถยื่นขอแก้ไขกำลังผลิตได้

2. การเพิ่มกำลังผลิตโดยเพิ่มเวลาทำงาน สามารถยื่นขอแก้ไขได้

เช่น เดิมได้รับอนุมัติกำลังผลิต  80,000 ชุด/ปี (เวลาทำงาน 10 ชม./วัน 312 วัน/ปี)

หากเพิ่มเวลาทำงานเป็น 24 ชม./วัน 320 วัน/ปี ก็จะได้รับอนุมัติแก้ไขกำลังผลิต ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น เป็น 196,923 ชุด/ปี

3. หากจะมีการว่าจ้างชุบในบางขั้นตอน จะต้องยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อขอเพิ่มขั้นตอนนำชิ้นงานไปว่าจ้างชุบด้วย

4. กรณีที่บริษัทมีการนำเครื่องจักรจากลูกค้ามาใช้ในการผลิต จะต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรหลักหรือไม่

เช่น หากบริษัทเป็นโรงงานฉีดพลาสติก หากนำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกมาจากลูกค้า เพื่อใช้ฉีดชิ้นงานพลาสติกให้กับลูกค้ารายนั้นๆ ก็ไม่ขัดกับกรรมวิธีการผลิต

แต่หากบริษัทนำเครื่องฉีดพลาสติก (ซึ่งเป็นเครื่องจักรหลัก) มาจากลูกค้า เพื่อใช้ฉีดชิ้นงานพลาสติกให้กับลูกค้ารายนั้นๆ ก็จะขัดกับโครงการที่ได้รับส่งเสริม และไม่นับกิจการในส่วนนั้นเป็นกิจการส่วนที่ได้รับการส่งเสริม ครับ

ADMIN เมื่อ 26 มค 64, 15:15 น. #2

เพิ่มเติมคำตอบข้อ 4 ดังนี้ครับ

กรณีที่นำเครื่องจักรหลักมาจากลูกค้าใน Free Zone หากเป็นเครื่องจักรใหม่ และได้รับอนุมัติจาก BOI ให้นำเครื่องจักรหลักจากลูกค้ามาใช้ในการผลิตได้

-->> ก็จะนับกำลังผลิตของเครื่องจักรนั้นในโครงการได้ แต่จะไม่นำมูลค่าเครื่องจักรนั้นมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ