บริษัทได้ส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ
แต่ภายหลังพบว่าส่งไปเกินกว่าที่ลูกค้าต้องการ และต้องการนำผลิตภัณฑ์นั้นกลับเข้ามาโดยใช้สิทธิ์ BOI ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น
บริษัทต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
บริษัท HA......
1.การนำสินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษรอากรตามมาตรา 36
BOI จะอนุญาตเฉพาะกรณีที่เป็นสินค้าที่ต้องนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไป
เช่น บริษัทส่งออกไป 100 ชิ้น แต่ไม่ได้คุณภาพ 10 ชิ้น สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีสต็อกของสินค้า return เพื่อนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ 10 ชิ้นนั้น เข้ามาซ่อมเพื่อส่งออกได้
โดยการนำเข้าจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36
2.กรณีที่สอบถาม หากเป็นการส่งออกสินค้าเกินกว่าปริมาณที่ระบุในใบขนสินค้า เช่น ใบขนสินค้าขาออกระบุ 100 ชิ้น แต่ส่งออกจริง 110 ชิ้น และลูกค้าต่างประเทศตีกลับสินค้าส่วนเกิน 10 ชิ้น
กรณีนี้ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรของ BOI ตามข้อ 1 ได้
แต่สามารถยื่นเรื่องตรวจรับกลับคืนต่อกรมศุลกากร เพื่อนำสินค้าส่วนเกินนั้นกลับเข้ามาได้โดยไม่มีภาระภาษี
รายละเอียดตามข้อ 2 ขอให้ปรึกษากับกรมศุลกากร หรือบริษัทที่ปรึกษา (เช่น บ.ชิปปิ้ง) ครับ
1.กรณีที่บริษัทขายสินค้าให้บริษัท A แล้วจะนำกลับเข้ามาซ่อม ภายในการนำเข้าด้วยกรุ๊ป R เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว จะไม่ส่งกลับให้บริษัท A เจ้าเดิม แต่จะส่งขายให้บริษัท C แทน สามารถทำได้หรือไม่ โดยจะนำใบขนจากบริษัท C มาทำการปรับยอดกรุ๊ป R ได้หรือไม่ ขอบคุณค่ะ
ตอบคำถามดังนี้ครับ
1. บริษัทส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศให้กับ A แต่ไม่ผ่านมาตรฐาน จึงนำกลับเข้ามาซ่อม แล้วจะส่งออกไปให้กับ B
สามารถทำได้ เนื่องจากแนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน จะตรวจสอบเพียงว่า เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ได้ส่งออกไปต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง
โดยไม่ตรวจสอบว่า ส่งกลับออกไปให้ลูกค้ารายเดิมหรือไม่
2. ใบขนขาออกของสินค้าที่ซ่อมเสร็จแล้วส่งกลับออกไป สามารถนำมาตัดบัญชีตามสูตรสินค้า return ได้ ครับ
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ
1.กรุ๊ป R มีไว้เพื่อสำหรับนำงานที่จะซ่อมกลับเขามาโดยไม่ต้องเสียภาษีใช่หรือไม่ค่ะ
2.หากมีงานที่ Model ไม่ได้มีขอจดสูตรบีโอไอไว้ เพราะไม่ได้มีใช้วัตถุดิบที่ซื้อ ขายเป็นบีโอโอเลย ไม่ต้องโอนยอด Report V คืนให้ใครจึงไม่ได้ขอสูตรบีโอไอ
Model นี้ มีส่งงานไปขายต่างประเทศ จะนำกลับเข้ามาซ่อมต้องทำอย่างไร สามารถทำเข้าได้ด้วยกรุ๊ป R ได้หรือไม่ ขอบคุณค่ะ
แนวทางการอนุมัติให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม เพื่อส่งออกคือ
1. ต้องเป็นสินค้าที่บริษัทเป็นผู้ผลิตเอง ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม (ไม่ใช่การรับซ่อมสินค้าของผู้อื่น)
2. สินค้าที่จะนำกลับเข้าซ่อม ต้องเคยยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตไว้แล้ว
โดยสูตรของสินค้า return ให้ระบุเป็น revision 0 ในสูตรการผลิตสินค้าโมเดลเดียวกันนั้น
3. สินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ปกติจะสั่งปล่อยในกรุ๊ป R
กรณีที่สอบถาม เป็นสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI จึงไม่ได้ยื่นขออนุมัติสูตรไว้
แนวทางดำเนินการ อาจทำได้ 2 วิธีคือ
1. หากใบขนสินค้าขาออก ติ๊กว่าใช้สิทธิ BOI
- เพิ่มรายการวัตถุดิบกรุ๊ป R ให้ตรงกับชื่อสินค้าและโมเดลที่จะนำกลับเข้ามาซ่อม
- อาจต้องยื่นขออนุมัติสูตร สำหรับสินค้าโมเดลเดียวกันนั้นก่อน
- จากนั้น ขอเพิ่ม revision 0 สำหรับสินค้า return
2. หากใบขนสินค้าขาออก ไม่ได้ติ๊กว่าใช้สิทธิ BOI
- สามารถยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากร เพื่อทำใบสุทธินำกลับ เพื่อนำสินค้านั้นกลับเข้ามาในประเทศ โดยไม่มีภาระภาษีอากร ครับ
หากบริษัทส่งสินค้าสลับตู้และประเทศ และลูกค้าต้องการตีคืนสินค้าบางส่วนให้ บริษัทจะต้องยื่นขอ STOCK REJECT หรือไม่คะ อย่างไร
1. หากสินค้าถูกตีกลับ เนื่องจากไปไม่ถึงลูกค้า
ลูกค้าจะไม่ออกอินวอยซ์ตีกลับสินค้า
กรณีนี้เข้าใจว่า น่าจะใช้มาตรการทางศุลกากร เพื่อแก้ไขปลายทางส่งออกใหม่ให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องผ่านพิธีการขาเข้า/ขาออกรอบที่สอง
2. แต่ถ้าลูกค้าตีกลับ โดยมีอินวอยซ์มาด้วย
สามารถใช้สิทธินำเข้าโดยยกเว้นภาษี (ในข่ายผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม) ได้
แม้จะไม่ใช่เป็นการซ่อมจริงก็ตาม ครับ
จากข้อความด่านล่าง อยากสอบถามขั้นตอนเกี่ยวกับการนำกลับเข้ามาซ่อม เพื่อส่งกลับออกไปตามความเข้าใจ หากตรงไหนผิดรบกวนแก้ไขให้ถูกต้องด้วย่ะ
1. ลูกค้าแจ้งว่าของเสีย
2. บริษัทยื่นสูตรของโมเดลนั้น
-- คำถาม --
1) การยื่นสูตรคือต้องยื่นแต่ละครั้งที่จะมีการนำมาซ่อมใช่ไหมคะ
2) ระยะเวลาพิจารณาสูตรดังกล่าวนานเท่าไรคะ
3) จำเป็นต้องได้รับอนุมัติสูตรก่อนการนำเข้าหรือไม่ หรืออย่างไรคะ
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์นั้นเขามา
-- คำถาม --
1) สามารถยกเว้นภาษีนำเข้าได้อย่างไรคะ / ขั้นตอนการนำเข้าทำอย่างไรคะ (ทั้งทางบีโอไอและกรมศุล) เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้า
4. บริษัทซ่อมสินค้านั้น
---คำถาม---
1) กำหนดระยะเวลการซ่อมและส่งคืนหรือไม่อย่างไรคะ
2) หากไม่สามารถซ่อมได้ หรือส่งคืนเกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จะเกิดอะไรขึ้นบ้างคะ
5. การส่งออกสินค้าที่ซ่อมเสร็จแล้ว เข้าใจว่าคือการส่งออกไปปกติ และนำใบขนนั้นไปตัดบัญชีตามปกติ
***Quoted***
การนำสินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษรอากรตามมาตรา 36
BOI จะอนุญาตเฉพาะกรณีที่เป็นสินค้าที่ต้องนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไป
เช่น บริษัทส่งออกไป 100 ชิ้น แต่ไม่ได้คุณภาพ 10 ชิ้น สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีสต็อกของสินค้า return เพื่อนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ 10 ชิ้นนั้น เข้ามาซ่อมเพื่อส่งออกได้
โดยการนำเข้าจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36
***Unquoted***
คุณ Zath กรุณาตั้งคำถาม โดยการแจ้งข้อเท็จจริง ปัญหา และเรื่องที่ต้องการสอบถาม
โดยไม่ใช้วิธีที่ให้แอดมินต้องอ่านทำความเข้าใจว่าคุณ Zath เข้าใจผิดหรือถูก
การนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อมโดยใช้สิทธิมาตรา 36
ตัวอย่าง : ผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมคือ TV
แต่บางรุ่นที่ส่งออก เช่น TV รุ่น aaa จำนวน 100 เครื่อง ต้องนำกลับเข้ามาซ่อมหรือตรวจสอบคุณภาพ ก่อนจะส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง
1. ขอแก้ไขบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด
- เพิ่มรายการวัตถุดิบใหม่
กรณีนี้คือ group ...... รายการวัตถุดิบ TV aaa ปริมาณสต็อกสูงสุด 100 C62
- อนุมัติเป็นสต็อกหมุนเวียน
2. ขออนุมัติสูตรสินค้ารีเทิร์น
- ยื่นสูตรรีเทิร์นของ TV รุ่น aaa
- ปริมาณการใช้วัตถุดิบต้องเป็น 1:1 (ปริมาณการใช้วัตถุดิบ อนุญาตเฉพาะรายการที่เป็นสินค้าที่นำกลับมาซ่อม ไม่อนุมัติวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการซ่อม)
- สูตรสินค้ารีเทิร์น จะอนุมัติเป็น revision 0
3. การส่งออกและตัดบัญชี
- ตัดบัญชีโดยระบุ revision เป็น 0 ครับ
ทางเราต้องการใช้ิสทธิยกเว้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์กรณีลูกค้าส่งกลับมาซ่อม ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยค่ะ (เราผลิตมอเตอร์แล้วมีโมเดลจำนวนมาก มากกว่าสองพันรายการ) เชน ตอนนี้ลูกค้าต้องการส่งโมเดล Motor Model : A000001 มาซ่อม
คำถามคือ
เราต้องขอเป็นครั้งๆไปเมื่อมีโมเดลใดโมเดลหนึ่งต้องการนำกลับมาซ่อมหรือไม่คะ
1) ขอแก้ไขบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด กรณ๊นี้ ต้องใช้ชื่อกลุ่มและรายการวัตถุดิบว่าอะไรคะ
Group :
รายการวัตถุดิบ :
PS : เราสามารถทำอย่างไรเพื่อในอนาคตเมื่อมีโมเดลอื่นๆเข้ามา เช่น Motor Model : A000002, A000003, Axxx เราไม่ต้อง ขอแก้ไขบัญชีรายการฯทุกครั้งคะ เพราะเข้าใจว่าขั้นตอนนี้ใช้เวลานาน
2) จำเป็นต้องได้รับอนุมัติสูตรสินค้ารีเทิร์นก่อนการนำเข้ามาเพื่อซ่อมหรือไม่ หรืออย่างไรคะ
3) เข้าใจว่าเมื่อได้รับอนุมัติบัญชีรายการฯ แล้วจะสามารถสั่งปล่อยนำเข้ามาซ่อมโดยไม่ต้องเสียอากร ใข้หรือไม่คะ
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบคำถามดังนี้ครับ
1. การขอนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อม
ปัจจุบันต้องขออนุมัติสต็อกตามโมเดลนั้นๆ เช่น
group R00001 TV 123
group R00002 TV 456
แต่ในอนาคต ระบบ new RMTS จะอนุญาตให้สินค้าแต่ละชนิด สามารถรวมทุกๆโมเดลเป็นสต็อกเดียวกันได้
2. ต้องได้รับอนุมัติสูตรรีเทิร์นก่อนการตัดบัญชี
แต่ในขั้นนำเข้า/สั่งปล่อย ได้รับอนุมัติเพียงบัญชีรายการวัตถุดิบ (สินค้ารีเทิร์น) ก็พอ
3. การได้รับอนุมัติสั่งปล่อย คือการได้รับยกเว้นอากรขาเข้า (และ VAT)
โดยมีเงื่อนไขต้องผลิตส่งออก ครับ
ขอบพระคุณมากค่ะ รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ คำถามจะเป็นตัวเข้ม+ไฮไลท์เหลืองนะคะ
1. การขอนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อม
ปัจจุบันต้องขออนุมัติสต็อกตามโมเดลนั้นๆ เช่น (คำถาม - 1. การขออนุมัติรายการและปริมาณสตอคใช้เวลานานเท่าไรคะ เข้าใจว่าการขอในครั้งแรกของโมเดลนั้นๆใช้เวลานาน และพอได้รับอนุมตรายการและปริมาณสตอคมาก็ต้องไปยื่นฐานข้อมูลที่ไอซีในขั้นตอนต่อไปใช่ไหมคะ 2. ปัจจบันบีโอไอยังไม่มีวิธีใดที่จะทำให้เร็วกว่านี้ได้ใช่ไหมคะ)
group R00001 TV 123 (คำถาม - ปริมาณสตอคหมุนเวียนเท่าไรคะ / คำณวนอย่างไร)
group R00002 TV 456
แต่ในอนาคต ระบบ new RMTS จะอนุญาตให้สินค้าแต่ละชนิด สามารถรวมทุกๆโมเดลเป็นสต็อกเดียวกันได้
2. ต้องได้รับอนุมัติสูตรรีเทิร์นก่อนการตัดบัญชี
แต่ในขั้นนำเข้า/สั่งปล่อย ได้รับอนุมัติเพียงบัญชีรายการวัตถุดิบ (สินค้ารีเทิร์น) ก็พอ
3. การได้รับอนุมัติสั่งปล่อย คือการได้รับยกเว้นอากรขาเข้า (และ VAT)
โดยมีเงื่อนไขต้องผลิตส่งออก ครับ (คำถาม - 1. ขั้นตอนการนำเข้านี้ ไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอน/ใบขนพิธีการนำเข้าชั่วคราวของกรมศุลฯ สามารถสั่งปล่อยใช้สิทธิประโยชน์บีโอไอเพียงอย่างเดียว เหมือนการสั่งปล่อยนำเข้าวัตถุดิบทั่วไป เข้าใจถูกต้องไหมคะ 2. เมื่อนำเข้ามาซ่อม มีระยะเวลาจำกัดในการส่งออกหรือไม่ เข้าใจว่าไม่มีเพราะเป็นสตอคหมุนเวียน เข้าใจถูกต้องไหมคะ)
1. การขอแก้ไขบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบ
- ยื่นผ่านระบบ IC online
- ใช้เวลาพิจารณา 30 วันทำการ
- สต็อกสูงสุดของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ไม่เกิน 5% ของกำลังผลิตที่ได้รับอนุมัติ
2. การอนุมัติสั่งปล่อย เป็นการสั่งปล่อยในข่ายวัตถุดิบ (แม้จะเป็นสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม)
หลักเกณฑ์อื่นๆ เหมือนกับวัตถุดิบทั่วไป คือ หากสิ้นสุดสิทธิ ม.36 ต้องส่งออกและตัดบัญชีให้เสร็จสิ้นใน 2 ปี ครับ