FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / ระยะเวลานำเข้า และการขยายเวลา
การนำเข้าเครื่องจักร และขยายเวลานำเข้าย้อนหลัง
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 18 พย 63, 17:07 น.

ถ้าเราทำการยื่นคำขอโครงการใหม่ เข้าไปทางออนไลน์ วันที่ 1พฤศจิกายน 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกระบวนการถัดๆ ไป

จึงขอสอบถามว่า

1. เราจะนำเข้าเครื่องจักรได้เมื่อใด

ถ้าต้องรีบเอาเข้าก่อนทำบัญชีรายการเครื่องจักร ต้องขยายเวลานำเข้าย้อนหลังเป็นวันเดียวกับที่ยื่นเรื่อง หรือเป็นวันที่ลงเลขรับเรื่อง

2. ตอนนำเข้าต้องระบุขอสงวนสิทธิ์ BOI ลงในใบขนขาเข้าด้วยใช่ไหม หรือว่านำเข้าเสียภาษีตามปกติไปก่อนได้เลย

3. การทำเรื่องขอขยายเวลานำเข้าย้อนหลัง ในระบบจะต้องมีเลขที่บัตรใหม่ก่อนถึงจะทำเรื่องได้ใช่ไหม

บริษัท Ni.........

ADMIN เมื่อ 18 พย 63, 17:41 น. #1

1.การยื่นคำขอรับการส่งเสริมออนไลน์ จะถือวันที่ BOI ออกเลขรับคำร้อง เป็นวันที่มีผลทางกฎหมาย

ดังนั้น การจะนำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร จะมีผลย้อนหลังไปได้จนถึงวันที่ BOI รับคำขอ ไม่ใช่วันที่บริษัทยื่นคำขอ

2.การนำเข้าเครื่องจักรก่อนออกบัตรส่งเสริม จะต้องชำระภาษีสงวนสิทธิ (หรือใช้ธนาคารค้ำประกัน) ไปก่อน

เท่าที่ทราบคือ หาก BOI อนุมัติให้สั่งปล่อยคืนอากร ก็สามารถขอคืนอากรได้ แม้จะชำระภาษีโดยไม่ระบุการสงวนสิทธิก็ตาม

แต่ปกติควรระบุการสงวนสิทธิ / หรือหากจะไม่ระบุ ก็ควรตรวจสอบกับกรมศุลกากรให้แน่ชัดก่อน

3.การทำเรื่องขอขยายเวลาย้อนหลัง บริษัทจะต้องได้รับบัตรส่งเสริมแล้วเท่านั้น

มีเรื่องเดียวที่อนุญาตให้ทำได้ก่อนออกบัตรส่งเสริม แต่ต้องตอบรับมติการอนุมัติให้การส่งเสริมแล้วเท่านั้น คือ การขอใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรเครื่องจักร ครับ

NTCCC เมื่อ 5 เมย 64, 11:00 น. #2

สอบถามเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร ในขณะที่กำลังรอการออกบัตรส่งเสริม (ตอบรับมติแล้ว)

อยากสอบถามว่า บริษัทฯ จะสามารถนำเข้าเครื่องจักรได้โดยวิธีใดบ้างโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า (ยังไม่ได้ทำบัญชีรายการเครื่องจักร)

ADMIN เมื่อ 5 เมย 64, 11:42 น. #3

กรณีตอบรับมติการให้การส่งเสริมแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกบัตรส่งเสริม

บริษัทสามารถยื่นขออนุญาตผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระภาษีอากรเครื่องจักรได้

และเมื่อได้รับบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรเสร็จสิ้นแล้ว สามารถยื่นสั่งปล่อยเพื่อถอนการใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระภาษีอากรได้ ครับ

NTCCC เมื่อ 5 เมย 64, 12:15 น. #4

เรียนadmin ขอบคุณค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมค่ะ การเสียภาษีสงวนสิทธิ์นำเข้าเครื่องจักร ต่างจากการใช้ธนาคารค้ำประกัน อย่างไรคะ? จะเลือกใช้ในกรณีใดคะ?

 

ADMIN เมื่อ 5 เมย 64, 15:48 น. #5

1.กรณีเสียภาษีสงวนสิทธิ

หากได้รับสั่งปล่อยคืนอากร จะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้าเครื่องจักร

ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่ได้รับคืนจากการสั่งปล่อย ต้องเป็นการเครดิตภาษีขาย - ภาษีซื้อ ที่ยื่นตามปกติทุกเดือน

2.กรณีใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร

หากได้รับสั่งปล่อยถอนประกัน จะไม่ต้องชำระทั้งอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่หากไม่ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยถอนประกัน จะต้องชำระภาษีอากรย้อนหลังและค่าปรับ VAT ครับ