สอบถามค่ะ กิจการเภท 5.5
บริษัทจะมีการทำลายประจำปี Fixed Assets ของทางบัญชี เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน โครงสร้างอาคาร และ วัตถุดิบ - ชิ้นงานสำเร็จรูป - เครื่องจักร
ต้องแจ้งรายการทำลายสำหรับสรรพกร และ มีในส่วนของสำหรับใช้สิทธิ boi ทั้งหมดได้รับยกเว้นภาษี
คำถาม
1. พวกทรัทย์สิน เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน โครงสร้างอาคาร นี่ไม่ได้เกี่ยวกับ boi ถูกต้องไหมคะ แจ้งแค่สรรพกรอย่างเดียว
2. ในส่วนของ วัตถุดิบ - ชิ้นงานสำเร็จรูป - เครื่องจักร ที่จะทำลายนี้ ต้องแจ้ง boi ทำลายเสร็จสิ้น ทางแผนกบัญชีต้องรายการสรรพต่อไปถูกต้องไหมคะ
เพราะตอนนี้ทางแผนกบัญชีมีการสับสน จำพวก ทรัพย์สินที่จะทำลาย อยู่ใน Asset List ตอนขอเปิดดำเนินการค่ะ
ขอตอบเฉพาะส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ BOI ดังนี้
1.เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28, 29
- กรณีนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี
ให้ยื่นขออนุมัติทำลาย ตามประกาศ สกท ที่ 3/2555 แต่ต้องเป็นเครื่องที่ชำรุดเสียหายเท่านั้น
โดยการทำลาย ต้องเป็นไปตามวิธีที่ BOI อนุญาต ภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI
และหากเป็นเครื่องจักรที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ต้องมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือต้องขอลดขนาดกิจการด้วย
- กรณีนำเข้าเกินกว่า 5 ปี
ให้ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี และขอจำหน่ายออกจากโครงการ
โดยการจำหน่ายออกจากโครงการ จะเป็นการขาย บริจาค ทำลาย (ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลาย และไม่ต้องทำลาภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI) หรือจะนำไปกำจัดตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานอื่นก็ได้ และให้เก็บหลักฐานการดำเนินการนั้นๆ ไว้ เป็นหลักฐานประกอบการตัดบัญชีเครื่องจักร
และหากเป็นเครื่องจักรที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ต้องมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือต้องขอลดขนาดกิจการด้วย
ทั้งนี้ การทำลายเครื่องจักรทั้งกรณีที่เกิน 5 ปี และไม่เกิน 5 ปี ภายหลังจากการอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะไม่ถูกปรับลดวงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้กำหนดในขั้นการอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว
2.วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36
ให้ยื่นขออนุมัติทำลาย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543
โดยการทำลาย ต้องเป็นไปตามวิธีที่ BOI อนุญาต ภายใต้การควบคุมของบริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI
เศษซากหลังทำลาย หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก
และหากเป็นการทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต ให้ยื่นหลักฐานการทำลายและการชำระภาษี เพื่อตัดบัญชี (ปรับยอด) วัตถุดิบต่อไป
3.สินทรัพย์อื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 ไม่ว่าจะบันทึกเป็นสินทรัพย์หรือไม่ก็ตาม
ไม่ต้องขออนุญาตทำลายต่อ BOI
และหากทำลายภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ก็จะไม่ถูกต้องปรับลดวงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้กำหนดในขั้นการอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว ครับ
เศษซากหลังทำลาย หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก
คำถามค่ะ
ถ้าหากนำเศษซากหลังจากทำลาย สามารถส่งออกไปต่างประเทศ โดยที่ไม่ชำระภาษีตามสภาพเศษซากได้หรือไม่คะ
ประกาศ สกท ที่ ป.5/2543 ไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอส่งเศษซากหลังทำลายไปต่างประเทศ
เนื่องจาก หากบริษัทต้องการส่งเศษซากหลังทำลายออกไปต่างประเทศ
ก็น่าจะขออนุญาตส่งออกในสภาพส่วนสูญเสีย (ไม่ต้องทำลาย)
ซึ่งไม่มีภาระภาษี และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลาย และไม่ต้องเสียค่าจ้างบริการแก่บริษัทผู้ควบคุมการทำลายที่ได้รับอนุญาตจาก BOI
ยกเว้นกรณีเป็นส่วนสูญเสียที่เป็นชิ้นงาน/สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ที่ต้องมีการพิสูจน์รายการและปริมาณวัตถุดิบในส่วนสูญเสียนั้น
แม้จะขอส่งออกไปต่างประเทศ ก็ต้องให้บริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ตรวจสอบและออกหนังสือรับรองรายการและปริมาณวัตถุดิบในส่วนสูญเสียนั้น
หากบริษัทยืนยันว่า ต้องทำลายก่อน จึงจะส่งออก ขอทราบเหตุผล/รายละเอียด มากกว่านี้
เพื่อจะนำไปตรวจสอบหลักเกณฑ์ และให้คำตอบต่อไป ครับ
ขอตอบคำถามในส่วนท้ายนะคะ
ที่จะทำลายเพราะมีการยกเลิกการซื้อขาย จากลูกค้า และลูกค้าให้ทางเราดำเนินการทำลายแล้วส่ง รีพอตให้กับลูกค้า และรายการทั้งหมดนี้
ทางบัญชีก็ได้ยื่นขอทำลายกับสรรพกรไปด้วย จึงมีสรรพกรมาเกี่ยวข้องค่ะ
ตอบคำถาม กรณีทำลาย และส่งออกเศษซากหลังทำลายไปต่างประเทศ ดังนี้
เนื่องจากประกาศและระเบียบปฏิบัติของ BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขนี้ไว้โดยชัดเจน
จึงขอแนะนำวิธีดำเนินการคือ
1.ยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย พร้อมกับระบุว่าจะกำจัดโดยการส่งออกไปต่างประเทศ
2.ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ ภายใต้การควบคุมของ บ.Inspector และให้ บ.Inspector ออกหนังสือรับรองการทำลาย
3.ส่งเศษซากหลังการทำลาย ตามรายการและปริมาณที่ระบุในหนังสือรับรองของ บ.Insepctor ไปต่างประเทศ
4.ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสีย(นอกสูตร) ต่อ BOI
แต่เนื่องจากเป็นกรณีนี้เป็นเรื่องที่ BOI ไม่ได้กำหนดขั้นตอน/วิธีการดำเนินการ ไว้โดยชัดเจน
จึงควรปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานของบริษัทด้วยอีกทางหนึ่ง ครับ