บริษัท กิจการประเภท 5.1 และ 5.2 บัตรปี 56 เปิดดำเนินการไปแล้ว ต่อมานำเข้าเครื่องจักรหลักที่ใช้คำณวนกำลังการผลิตเข้ามาเพิ่ม มีคำถามดังนี้ค่ะ
1. จำเป็นต้องขอเปิดดำเนินการใหม่อีกรอบหรือไม่ หากไม่ประสงค์จะแก้ไขกำลังการผลิตที่ได้รับอนุมัติมาแล้วตอนเปิดดำเนินการ 2. จำเป็นต้องแก้ไขโครงการหรือดำเนินการใดๆอีกหรือไม่ หากเครื่องจักรที่เข้ามาเพิ่ม ทำให้กระบวนการคอขวดที่ใช้คำณวนกำลังการผลิตเปลี่ยนไปเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง
|
|||
|
กิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
สามารถขอนำเข้าเครื่องจักรมาเพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2549
กรณีที่สอบถาม บริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการเครื่องไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ (บัตรส่งเสริมปี 2556) และปัจจุบันได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
หากต้องการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ตามประกาศข้างต้น
และเมื่อได้รับอนุมัติให้แก้ไขโครงการ BOI จะแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม เพื่อให้บริษัทสามารถยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเพิ่มเติม และยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบสูงสุดได้ แต่จะไม่แก้ไขวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้มีการกำหนดไปแล้วในขั้นตอนการเปิดดำเนินการเต็มโครงการ
และจะไม่มีการไปตรวจสอบเปิดดำเนินการอีกเป็นครั้งที่ 2 ครับ
ขอบคุณค่ะ แล้วในกรณีที่ bottle neck เปลี่ยนไปก็สามารถยื่นแก้ไขโครงการโดยใช้กระบวนการใหม่ในการคำณวนกำลังการผลิต โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องมาเปิดดำเนินการรอบ 2 ใช่ไหมคะ
การลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมในส่วนที่เป็น bottle neck เพื่อเพิ่มกำลังผลิต ก็อยู่ในข่ายของประกาศ กกท 6/2549 เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดห้ามไว้
สำหรับการคำนวณกำลังผลิต จะเป็นการชี้แจงตามเอกสารหลักฐานในขั้นตอนการยื่นขอแก้ไขโครงการ เนื่องจากจะไม่มีการตรวจสอบเปิดดำเนินการครั้งที่ 2 ครับ
เรียนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ กรณีนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติมเป็นเครื่องจักรสำหรับผลิตใบพัดพลาสติคสามารถใช้สิทธิ ม.36 ได้หรือไม่คะ (ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติคือ พัดลมและมอเตอร์ ไม่ใช่ใบพัด)
เครื่องจักรที่จะนำเข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28,29
ต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม และตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ
หากกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ มีขั้นตอนผลิตใบพัดพัดลมอยู่แล้ว ก็สามารถนำเครื่องผลิตใบพัด เข้ามาได้
แต่หากในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ ไม่มีขั้นตอนผลิตใบพัดพัดลม จะต้องยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อเพิ่มขั้นตอนการผลิตใบพัดก่อน จึงจะสามารถนำเข้าเครื่องจักรผลิตใบพัด โดยใช้สิทธิประโยชน์ได้ ครับ