FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การแก้ไขโครงการ / แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
ขออนุญาตแก้ไขโครงการ : ขอใช้วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป
1 - 2 จาก 2 คำตอบ
page: 1/1
Suji เมื่อ 27 ตค 63, 09:31 น.

เรียน แอดมิน

 

หากบริษัทฯ ต้องการจะนำสินค้ากึ่งสำเร็จรูปหรือเป็นวัตถุดิบที่ทำบางส่วนนำเข้ามา (โดยผลิตไม่ครบตามขั้นตอนค่ะ) เพื่อผลิตและส่งออก 

และบริษัทฯ จะใช้ในระยะเวลานึงคะ อาจจะประมาณ 6 เดือน 

คำถามคือ

  1. บริษัทฯ จะสามารถทำได้โดยการแก้ไขโครงการ ขอใช้วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ใช่หรือไม่?
  2. หากได้รับอนุมัติแล้วเราต้องขอ Max Import ในระบบเพื่อนำเข้าวัตถุดิบใช่มั๊ยคะ
  3. เอกสารที่ต้องเตรียมคือตามแบบฟอร์มคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ หรือเราต้องไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ของกองฯ ที่ดูแลก่อนคะ
  4. ระยะเวลาที่ขอหากเกินกว่า 6 เดือนได้หรือไม่ มีกำหนดระยะหรือไม่คะ

 

ขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 27 ตค 63, 11:47 น. #1

จะต้องพิจารณาว่า ชิ้นงานกึ่งสำเร็จรูปที่จะนำเข้ามานั้น เป็นสาระสำคัญของโครงการมากหรือน้อยเพียงใด

โดยใช้แนวความคิดว่า หากบริษัทยื่นขอรับส่งเสริม โดระบุตั้งแต่ต้นว่าจะนำเข้าชิ้นงานสำเร็จรูป มาประกอบกับชิ้นส่วนอื่นเป็นสินค้า จะถือว่ามีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย และมีมูลค่าเพิ่มเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่

1.กรณีที่อยู่ในข่ายได้รับส่งเสริมตั้งแต่ต้น เช่น เนื่องจากยังมีขั้นตอนการผลิตอื่น ที่มีมูลค่าเพิ่มเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ส่งเสริม

- แนะนำให้ยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เป็นการผลิตหรือนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปดังกล่าวแล้วแต่กรณี (คือบางรุ่นผลิตเอง บางรุ่นนำเข้า ตามความต้องการของลูกค้า)

2.กรณีที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับส่งเสริมตั้งแต่ต้น เช่น ขั้นตอนการผลิตส่วนที่เหลือ ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม

- ให้ยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพื่อขอใช้วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมี 2 กรณี คือ 

   2.1) ขอผ่อนผันไม่เกิน 10% ของปริมาณการผลิตในแต่ละปี หรือ 

   2.2) ขอผ่อนผันโดยระบุจำนวนและระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น 50,000 ชิ้น ภายในเวลา 4 เดือน เป็นต้น ซึ่งอาจเกิน 10% ของปริมาณการผลิตต่อปีก็ได้ แต่จะต้องมีเหตุผลรองรับที่ชัดเจน เช่น เครื่องจักรเสีย เป็นต้น


กรณีที่ 1 เป็นการแก้ไขกรรมวิธีผลิตเป็นการถาวร ซึ่งจะนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปได้ตลอดไป จึงจะทำบัญชีวัตถุดิบในข่ายสต็อกหมุนเวียน เช่นเดียวกับกรณีปกติ

กรณีที่ 2 เป็นการแก้ไขกรรมวิธีผลิตแบบมีข้อจำกัดปริมาณนำเข้า จึงจะทำบัญชีวัตถุดิบในข่าย Max Import ครับ

Suji เมื่อ 27 ตค 63, 13:35 น. #2

ขอบคุณมากค่ะ