FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / ส่วนสูญเสีย และเศษซาก
การทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร
1 - 20 จาก 74 คำตอบ
page: 1/4
hajiko เมื่อ 16 พค 57, 16:21 น.

สวัสดีค่ะ

สำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตร ตามประกาศแล้วนั้น มีหลายทางเลือก ตัวอย่างเช่น การทำลายให้เสื่อมสภาพ, ชำระภาษีเศษซากหากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์, การนำออกไปต่างประเทศ เป็นต้น ในกรณีที่ส่วนสูญเสียนอกสูตร มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เมื่อได้รับการออกหนังสือเพื่อไปชำระภาษีและทำการชำระภาษีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้น ทางบริษัทสามารถดำเนินการเกี่ยวกับการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานฯตามกฎระเบียบของกรมโรงงานได้เลยหรือไม่ค่ะ โดยมีซัพพลายเออร์เข้ามารับเอาไปกำจัดอีกต่อหนึ่ง

ADMIN เมื่อ 19 พค 57, 14:54 น. #1

ตามประกาศสำนักงาน ที่ 5/2543 เรื่อง เงื่อนไขและวิธีการสำหรับส่วนสูญเสียและเศษซากของวัตถุดิบตามมาตรา 36(1)

ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต สามารถดำเนินการเพื่อตัดบัญชีได้ 3 วิธี คือ

  1. ทำลายให้เป็นเศษซาก ตามวิธีทำลายที่สำนักงานอนุมัติ โดยต้องมีบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานฯ ร่วมควบคุมตรวจสอบรับรอบในการทำลายด้วย
    - หากเศษซากหลังทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะตัดบัญชีให้
  2. ส่งออกไปต่างประเทศตามที่สำนักงานอนุมัติ
  3. บริจาคตามที่สำนักงานอนุมัติ

ดังนั้น หากบริษัทเลือกใช้วิธีที่ 1 ให้ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากจะทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิม ด้วยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายซ้ำอีก)
  2. ติดต่อบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากบีโอไอ ให้มาตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียนอกสูตร และตรวจสอบควบคุมการทำลายให้เป็นตามที่ได้รับอนุมัติ
  3. ยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI
    - หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีเศษซากด้วย
  4. นำหนังสืออนุมัติไปตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC
    - หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้นำหนังสือ BOI ไปติดต่อชำระภาษีที่กรมศุลกากรก่อน จากนั้นจึงแนบใบเสร็จรับเงินภาษีไปพร้อมกับการขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC
  5. การจำหน่ายเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะทำได้เมื่อชำระภาษีตามสภาพเศษซากต่อกรมศุลกากรแล้วครับ
hajiko เมื่อ 19 พค 57, 16:14 น. #2

สอบถามต่อค่ะ

วิธีการใดบ้างค่ะที่สามารถทำลายส่วนสูญเสียให้เป็นเศษซากได้ ตามวิธีที่สำนักงานอนุมัติอะค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 พค 57, 09:17 น. #3

วิธีการทำลายขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นๆ เช่น ตัด อัด บด ทุบทำลาย หลอม หรือจ้างให้นำไปกำจัดโดยวิธีต่าง เช่น เผา เป็นต้น ครับ 

hajiko เมื่อ 21 พค 57, 13:18 น. #4

ขอบคุณแอดมินมากค่ะ ที่ให้แนะนำเป็นอย่างดี^^

ADMIN เมื่อ 22 พค 57, 09:59 น. #5

ยินดีครับ

hajiko เมื่อ 23 พค 57, 08:28 น. #6

รบกวนสอบถามแอดมินต่อเนื่องนะค่ะ

บริษัท,ห้างร้านหรือห้างหุ้นส่วน เป็นต้น ที่รับกำจัดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทั้งที่เป็นอันตรายและไม่อันตราย(ในกรณีที่เป็นส่วนสูญเสียที่จะต้องทำการทำลาย) จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายจากประกาศของกรมโรงงาน, สำนักงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เป็นต้น หรือไม่ค่ะ จะเหมือนกับInspectorที่จะต้องได้รับอนุมัติหรือได้รับมอหมายจากสำนักงานฯ อะค่ะ

 

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ADMIN เมื่อ 23 พค 57, 12:18 น. #7

การจัดการกากอุตสาหกรรม ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

เช่น การจะนำของเสียที่เป็นอันตรายไปจ้างทำลาย (เช่น เผาทำลาย หรือบำบัดพิษ)  ก็ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการว่าด้วยการนั้นๆ

รายละเอียดของของเสียแต่ละอย่าง เกินว่าที่จะตอบภายใต้กรอบคำถามของ BOI ได้ คงจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงครับ

กฎหมายสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

hajiko เมื่อ 27 พค 57, 11:56 น. #8

สอบถามแอดมินเพิ่มเติมนะค่ะ

การทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรที่เป็นประเภทโลหะ จะสามารถทำการจ้างวานโรงงาน,บริษัทรับกำจัดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับบริการกำจัดตามกฏหมาย โดยโรงงานรับกำจัดนั้น เป็นโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลของเสีย  ที่ไม่ใช่โรงงานรับกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ, เผา ฯลฯ เป็นต้น  ไม่ทราบว่าจะสามารถส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรให้กับโรงงานรับกำจัดประเภทนี้ได้หรือไม่ค่ะ????

ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 27 พค 57, 13:38 น. #9

หากส่วนสูญเสียนอกสูตรของบริษัทเป็นชิ้นงานโลหะ แม้ว่าจะทำลายแล้ว ก็ยังมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จึงมีขั้นตอนดังนี้

1. ทำลายให้ไม่อยู่ในสภาพเดิม
2. ชำระภาษีตามสภาพเศษหลังทำลาย
3. จากนั้นจะจำหน่ายให้โรงหลอม โรงรับซื้อเศษเหล็ก โรงรีไซเคิล อย่างไรก็ได้ แต่ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สรุปตามที่สอบถามคือ จะจำหน่ายให้โรงคัดแยกและรีไซเคิลก็ได้ แต่ต้องทำลาย และชำระภาษีตามสภาพเศษเหล็กก่อนครับ

hajiko เมื่อ 27 พค 57, 14:02 น. #10

แต่การทำลายให้ไม่อยู่ในสภาพเดิมนั้น จะสามารถทำลายโดยใช้สเปรย์พ่นได้หรือไม่ค่ะ เพราะเป็นการทำลายที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องจ้างบริษัททำลายอีกต่อหนึ่ง ณ ขณะนี้ของทางบริษัทอะค่ะ

ADMIN เมื่อ 27 พค 57, 14:30 น. #11

ตามประกาศของบีโอไอ ป.5/2543 "เศษซาก" หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพเดิม

ส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องผ่านการทำลายเป็น "เศษซาก" ก่อน

การพ่นสเปรย์ชิ้นงานโลหะที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถือเป็นการทำลายส่วนสูญเสียให้กลายเป็นเศษซากครับ

hajiko เมื่อ 27 พค 57, 16:36 น. #12

ขอบคุณแอดมินมากค่ะ^^

ADMIN เมื่อ 30 พค 57, 15:01 น. #13

ยินดีครับ

CI เมื่อ 2 มิย 57, 13:07 น. #14

สอบถามเกี่ยวส่วนสูญเสีย (Scrap) ครับ บริษัทฯได้รับการส่งเสริมฯประเภท 6.12 ผลิตภัณฑ์พลาสติก ช่วงการนำเข้าจะมีวัตถุดิบหลายประเภท เช่น กระดาษ กาวสองหน้า แผ่นยาง แผ่นพลาสติก แผ่นผ้าสักหลาด วิธีการทำลายบริษัทฯ ใช้วิธีการเผาทำลายและฝังกลบครับ  อยากจะถามว่าวิธีการดังกล่าวสามารถใช้กับวัตถุดิบทุกประเภทหรือเปล่าครับ

ADMIN เมื่อ 2 มิย 57, 15:01 น. #15

วิธีทำลายโดยการเผาและฝังกลบ ใช้ได้กับส่วนสูญเสียหลายประเภท แต่ก็มีที่ใช้ไม่ได้ เช่น ส่วนสูญเสียจำพวกโลหะ เป็นต้น

ในการขออนุมัติวิธีทำลาย จะต้องระบุด้วยว่าเป็นวิธีทำลายส่วนสูญเสียอะไร 

ดังนั้น หากบริษัทเคยยื่นขออนุมัติวิธีทำลายโดยการเผาและฝังกลบ แต่ยังไม่ครอบคลุมส่วนสูญเสียทั้งหมด ก็สามารถยื่นขออนุมัติเข้าไปเพิ่มเติมได้อีกครับ

ADMIN เมื่อ 2 มิย 57, 16:05 น. #16

มีประเด็นที่ควรระวัง คือ แผ่นพลาสติก ซึ่งไม่แน่ใจว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

หากมีความสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปรีไซเคิลได้ เจ้าหน้าที่ก็อาจจะไม่อนุญาตให้ทำลายโดยการเผา แต่อาจจะให้ใช้วิธีทุบทำลาย และเสียภาษีตามสภาพเศษซาก

แต่ถ้าหากเป็นพลาสติกที่ฉีดยึดติดกับวัตถุดิบชนิดอื่น จนยากที่จะแกะออก และมีปริมาณต่อหน่วยจำนวนไม่มาก ไม่คุ้มกับการคัดแยก ก็อาจจะอนุญาตให้ใช้วิธีเผาทำลายไปพร้อมกันได้ครับ

unknown เมื่อ 3 ตค 57, 08:37 น. #17

ส่วนสูญเสียนอกสูตรหมายถึงอะไรค่ะ ของบริษัทได้รับการส่งเสริมประเภท 5.5 ผลิตจอภาพแสดงผล มีชิ้นส่วนที่นำเข้าเช่น เลนส์พลาสติก กาว แผ่นทัชสกรีน แต่มีปัญหาเรื่องการประกอบชิ้นงาน คือฉาบกาวแล้วมีตามด ไม่สามารถใช้ได้ ต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก อยากสอบว่าบริษัทต้องจัดการอย่างไรกับของเสียนี้บ้าง หรือสามารถปฏิบัติตามความเห็นตาม #1 ของ ADMIN ได้เลย ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 3 ตค 57, 09:11 น. #18

ส่วนสูญเสียนอกสูตร หมายถึงส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวในอัตราส่วนที่ไม่คงที่

กรณีของคุณ Chill-Chill หากฉาบกาวแล้วเป็นตามด (คือฟองอากาศหรือเปล่า?) ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร เพราะแต่ละครั้งเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน

ส่วนสูญเสียนอกสูตรนี้ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนในความเห็นที่ #1 ครับ

unknown เมื่อ 3 ตค 57, 09:15 น. #19

ตามดคือฟองอากาศค่ะ ในการขอนุมัติวิธีทำลาย ควรจะเริ่มทำเมื่อไหร่ค่ะ มีกำหนดเวลาหรือไม่ค่ะ

ADMIN เมื่อ 3 ตค 57, 09:43 น. #20

การขออนุมัติวิธีทำลาย ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้ inspector มาตรวจสอบการทำลาย จากนั้นยื่นขอตัดบัญชี และยื่นชำระภาษี (ถ้ามี) แล้วจึงนำหลักฐานไปปรับยอดที่ IC

หากเริ่มทำครั้งแรก น่าจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน จึงต้องดูว่าโรงงานมีพื้นที่สำหรับเก็บส่วนสูญเสียได้มากน้อยเพียงใด และต้องรีบตัดบัญชีส่วนสูญเสียนี้หรือไม่

ถ้ามีพื้นที่เพียงพอ และไม่รีบร้อนตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร จะทำปีละ 1-2 ครั้ง ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ

>4