FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / การชำระภาษีอากรวัตถุดิบ
นำเข้าวัตถุดิบมาตรา36 และไม่ได้ประกอบ และขายไปยังลูกค้าต่างประเทศ
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
DUCK เมื่อ 2 มีค 63, 13:42 น.

เนื่องจากทาง บริษัทได้นำสินค้าเข้ามาภายใต้มาตรา 36 เท่ากับ 1 ชิ้น และต่อมาลูกค้าได้ขอให้ส่งชิ้นส่วนสินค้าตัวไปก่อน ซึงเท่ากับ ทางบริษัทขายสินค้าตัวนี้ไปยังต่างประเทศโอยที่ยังไม่ได้ประกอบ  แบบนี้บริษัท ต้องดำเนินเรื่องเสียภาษีย้อนหลังใน หัวข้อใดคะ     (สินค้าได้ส่งออกไปยังลูกค้าที่ต่างประเทศแล้ว) ขอบคุณมากคะ                                                                                         

การชำระภาษีอากรวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามมาตรา 36

      วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 มีภาระต้องชำระภาษีอากรใน 4 กรณี ดังนี้

  1. นำไปผลิตเป็นสินค้าและจำหน่ายในประเทศ
    • เป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมที่ไม่สามารถส่งออกได้ (ประกาศ สกท ที่ ป.5/2541)
    • ต้องเป็นโครงการที่ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80)
    • ต้องชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์ ตามสภาพ ณ วันที่ BOI อนุญาตให้จำหน่าย
    • ต้องชำระภาษีอากรก่อนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
  2. นำไปจำหน่าย หรือผลิตจำหน่ายในประเทศ
    • ต้องชำระภาษีอากรตามสภาพวัตถุดิบ ณ วันนำเข้า ดังนี้
      • อากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสภาพและพิกัดศุลกากร ณ วันนำเข้า
      • เงินเพิ่มของภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
      • เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เท่า
      • เงินเพิ่มของอากรขาเข้า ร้อยละ 1 ต่อเดือน กรณีที่ไม่ไปชำระตามที่กรมศุลกากรกำหนด
  3. จำหน่ายในสภาพเศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์
    • ต้องชำระภาษีอากรตามสภาพเศษซาก โดยใช้พิกัดอัตราในปัจจุบัน (ประกาศ สกท ที่ ป.5/2543)
  4. วัตถุดิบที่ยังคงเหลืออยู่ในบัญชี หลังจากสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลงแล้วเกินกว่า 1 ปี
    • ต้องชำระภาษีอากรตามสภาพวัตถุดิบ ณ วันนำเข้า ดังนี้
      • อากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสภาพและพิกัดศุลกากร ณ วันนำเข้า
      • เงินเพิ่มของภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
      • เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เท่า
      • เงินเพิ่มของอากรขาเข้า ร้อยละ 1 ต่อเดือน กรณีที่ไม่ไปชำระตามที่กรมศุลกากรกำหนด

 

ADMIN เมื่อ 2 มีค 63, 16:46 น. #1

บริษัทนำวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ไปผลิตเป็นสินค้าไม่ครบขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ และนำไปส่งออก

กรณีนี้แม้ว่าอาจจะมีการส่งออกไปจริง แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ไปจริงได้

จึงจะต้องขออนุญาตชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า แล้วนำเอกสารหลักฐานไปตัดบัญชี (ปรับยอด) ครับ

 

DUCK เมื่อ 3 มีค 63, 11:11 น. #2

เรียน เจ้าหน้าที่    เนื่องจากเราขายวัตถุดิบตัวนี้ ไปยังต่างประเทศ แล้วเราต้องใช้ แบบฟอร์มไหนในการยื่นกับ บีโอไอคะ เพราะว่า ตาม F IN RM35-03 เป็นฟอร์มที่นำมาผลิตแล้วขายในประเทศ  ส่วน F IN RM 32-03 เป็น ฟอร์มหมดสิทธิประโยชนแล้วจึงขอเสียอากร ขอบคุณมากคะ

 

 

 

 

ADMIN เมื่อ 3 มีค 63, 11:31 น. #3

เว็บบอร์ด FAQ108 ไม่ใช่เป็นการตอบคำถามโดย BOI หรือสมาคม IC 


กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่สามารถพิสูจน์ชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่นำไปผลิตไม่ครบขั้นตอนแล้วส่งออก

จึงให้ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า ตามแบบ F IN RM 35-03 ในข่ายวัตถุดิบที่ไม่ได้นำมาผลิตส่งออก ครับ

DUCK เมื่อ 4 มีค 63, 11:06 น. #4

เรียน เจ้าหน้าที่         เนื่องจากวัตถุดิบของเราได้ส่งออกจากประเทศไทยไปยังลูกค้าแล้ว แล้วทางเราสอบถามทาง Shipping เกี่ยวกับการขอชำระภาษี ณ วันนำเข้า  ทาง Shipping แจ้ง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ กรมศุลกากร มาตรวจของที่บริษัท เพื่อประเมินอากร แบบนี้ทางบริษัทควรดำเนินการยังไงคะ เพราะเท่าที่บริษัททราบ เจ้าหน้าที่ กรมศุลกากรจะเข้ามาตรวจเฉพาะ วัตถุดิบที่ Scarp อย่างเดียว 

 

 

ADMIN เมื่อ 4 มีค 63, 14:44 น. #5

การขอชำระภาษีอากรวัตุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 ของ BOI

แอดมินไม่เคยได้ยินว่ากรมศุลกากรจะทำการตรวจวัตถุดิบเพื่อประเมินอากร แต่จะเป็นการชำระภาษีตามหน้าใบขนขาเข้าที่ใช้สิทธิมาตรา 36 ตามชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ BOI แจ้งไปยังกรมศุลกากรเพื่อให้เรียกภาษี

การตรวจที่โรงงานเพื่อประเมินอากร ปกติจะเป็นการชำระภาษีอากรเศษซากวัตถุดิบที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และการชำระภาษีอากรตามสภาพสินค้าก่อนการจำหน่ายในประเทศ (ชำระภาษีปากระวาง) ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการให้ชำระภาษีอากรวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า ครับ