เรียนสอบถามกรณีส่วนสูญเสียในสูตรที่ไม่มีมูลค่า จำเป็นต้องระบุในสูตรการผลิตหรือไม่คะ หากที่ผ่านมาไม่ได้ระบุจำเป็นต้องแก้ไขสูตรหรือไม่ค่ะ
การจะทำสูตรการผลิตที่มีส่วนสูญเสียในสูตรหรือนอกสูตร ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในการผลิตสินค้า ไม่เกี่ยวกับว่าส่วนสูญเสียนั้นมีมูลค่าหรือไม่
โดยส่วนสูญเสียที่รวมไว้ในสูตรการผลิต จะได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งสินค้าไปต่างประเทศและยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ
แต่ส่วนสูญเสียที่ไม่รวมไว้ในสูตรการผลิต (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) จะไม่ได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งออกสินค้าและตัดบัญชีวัตถุดิบ
โดยจะต้องให้ บ.Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย จากนั้นต้องทำลายเป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุญาต และต้องชำระภาษีตามสาพเศษซาก (หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์)
จากนั้นจึงจะนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นได้
ประเด็นที่สอบถาม หากบริษัทต้องการแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้มีผลย้อนหลัง เนื่องจากทำสูตรผิด
จะต้องยกเลิกการตัดบัญชีสำหรับใบขนที่มีการส่งออกสินค้าตามสูตรดังกล่าว จากนั้นจึงนำใบขนนั้นมายื่นตัดบัญชีใหม่โดยใช้สูตรที่แก้ไขแล้ว
หากจะดำเนินการด้วยวิธีนี้ แนะนำให้ศึกษาขัั้นตอนวิธีดำเนินการให้เข้าใจถูกต้องชัดเจนก่อน ครับ
กรณีที่สอบถามเป็นสสส ในสูตรการผลิต หากไม่ประสงค์จะแก้ไขการตัดบัญชีที่แล้วๆมา แต่จะแก้และให้มีผลกับการตัดบัญชีลอตใหม่ๆจะกระทำได้ไม๊คะ
หากประสงค์จะใช้สูตรแก้ไข เฉพาะการตัดบัญชีในครั้งต่อไป ให้ยื่นแก้ไขสูตรเดิม ซึ่งจะเป็น revision 2
โดยในการตัดบัญชีครั้งต่อไป ก็ให้เลือกตัดบัญชีโดยระบุเป็น revision 2 ครับ
สอบถามกรณีต้องการยื่นส่วนสูญเสียในสูตร สามารถแก้ไขสูตรโดยรวมปริมาณ สสส ในสูตร เข้าไปในปริมาณรวม โดยไม่แจกแจงออกมาเป็นปริมาณ สสส ในสูตร สำหรับกรณี สสส ในสูตรไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่คะ ส่วนกรณี สสส ในสูตรที่มีมูลค่าก็จะยื่นสูตรปกติ ตย เช่น
Hardener เดิมยื่นสูตรไว้ NW 0.001 Kg / Waste 0 kg / GW 0.001 Kg
ต่อมาต้องการแก้ไขสูตรโดยรวม สสส ในสูตร 0.0001 Kg เข้าไปด้วย
สามารถยืนแบบนี้ได้ไหมคะ NW 0.0011 Kg / Waste 0 kg / GW 0.0011 Kg
Cable เดิมยื่นสูตรไว้ Net 1.0 Mtr / Waste 0 Mtr / Gross 1.0 Mtr
ต่อมาต้องการแก้ไขสูตรโดยรวม สสส ในสูตร 0.05 Mtr เข้าไปด้วย
จะดำเนินการยืนแบบนี้ Net 1.0 Mtr / Waste 0.5 Mtr / Gross 1.05 Mtr
ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนไม่คงที่ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร จะรวมไว้ในสูตรการผลิตไม่ได้
ไม่เกี่ยวกับว่าส่วนสูญเสียนั้นจะมีมูลค่าหรือไม่ ครับ
ไม่แน่ใจว่าแอดมินหมายถึงอะไรคะที่ว่า ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นในอัตราส่วนไม่คงที่ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร แอดมินหมายถึง Cable or Hardener ที่ยกตัวอย่าง ไม่น่าจะมีสสส ในอัตราส่วนที่คงที่หรือเปล่าคะ
จริงๆ ดิฉันได้รับข้อมูลมาจากนายว่า แต่ละตัวมี % ของ สสส ในสูตรประมาณ 5% น่ะค่ะ เลยอยากจะแก้สูตรโดยเพิ่ม สสส ในสูตรเข้าไป เพียงแต่อยากทราบว่าจำเป็นต้องแจกแจงสสส ในสูตรไหม หรือสามารถรวมไปใน ปริมาณรวมได้เลยน่ะค่ะ
การขออนุมัติสูตรการผลิต จะต้องแสดงรายการและปริมาณการใช้วัตถุดิบ (net) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปริมาณการส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต (loss) ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561
ไม่ใช่นำ net และ loss มารวมกัน แล้วยื่นขอเป็นปริมาณการใช้วัตถุดิบ (net) ครับ
เรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ
1. หากเราไม่เคยยื่นส่วนสูญเสียในสูตรมาก่อน สามารถขอแก้ไขสูตรได้ใช่ไหมคะ หาก สสส นั้นๆ ไม่มีมูลค่า จำเป็นต้องขอแก้ไขไหมคะ
2. กรณี สสส ไม่มีมูลค่า เช่นพวก Hardener , Resin ทั้งในสูตรและนอกสูตรสามารถเก็บในสถานที่เดียวกัน และ เวลาจะนำออกนอกโรงงาน ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตจากบีโอไอใช่ไหมคะ
อีกคำถามคือ หน่วยทศนิยมสำหรับยื่นสูตร มี 5 หน่วยได้หรือไม่คะ (เช่น 0.00001)
1.หากสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว ไม่ตรงกับการผลิตจริงในปัจจุบัน บริษัทสามารถยื่นขอแก้ไขสูตรการผลิตนั้นได้
โดยระบบจะบันทึกการแก้ไขแต่ละครั้ง เป็น revision 2, 3, 4, ... ตามลำดับ
และเมื่อมีการตัดบัญชีสินค้าโมเดลนั้น บริษัทสามารถเลือก revision ที่ต้องการใช้ตัดบัญชีได้
2.ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต จะต้องแยกเก็บตามชนิดและปริมาณ เพื่อรอการตรวจสอบรับรองการทำลายจาก บ.Inspector
แต่ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต ไม่ต้องรอตรวจสอบ สามารถนำไปกำจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต BOI / หรือหากเป็นส่วนสูญเสียที่มีมูลค่าตามสภาพ จะต้องยื่นขอชำระภาษีก่อน
ส่วนสูญเสียในสูตรและนอกสูตร จะเก็บรวมกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียแต่ละชนิดได้
3.สูตรการผลิต สามารถมีทศนิยมได้ 8 หลัก ครับ
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ พอดีมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับสสส ในสูตรค่ะ ว่ามันแยกออกจาก สสส นอกสูตรได้ชัดเจนหรือไม่
อย่างกรณี สายไฟ hardener สสส ในสูตร เกิดขึ้นยังไงคะ อย่างถ้าเผื่อปริมาณการตัดสายไฟ กรณีตัดเกินออกมานิดหน่อย แล้วต้องมาตัดให้พอดีอีกรอบ อย่างนี้ถึงเป็นในสูตรไหมคะ หรือ Hardener เวลาหยอดออกมาอาจจะเผื่อหยอดเกินอะไรประมาณนี้ ถือเป็น สสส ในสูตรไหมคะ
แต่หากตัดสายไฟสั้นเกินไป ทำให้ต้องตัดสายไฟใหม่ทั้งเส้น เส้นที่ผิดก็ถือเป็นนอกสูตรหรือเปล่าคะ
ส่วนสูญเสียในสูตร คือ ส่วนสูญเสียที่จะเกิดขึ้นทุกครั้งในอัตราคงที่ เมื่อมีการผลิตสินค้าโมเดลนั้นๆ
เศษสายไฟ ที่มีการตัดยาวตัดสั้นเกินไป หรือ Hardender ที่เผื่อปริมาณหยอดเกิน ฯลฯ จึงไม่ใช่ส่วนสูญเสียในสูตร เนื่องจากไม่ใช่อัตราสูญเสียคงที่ ในการผลิตสินค้า ครับ
รบกวนสอบถามภาษาอังกฤษของคำว่า สสส นอกสูตร และ สสส ในสูตร ได้ไหมค่ะ พอดีจะสื่อสารกับนายต่างชาติจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ บางที่ไปใช้ waste or scrap ไม่รู้ตัวไหนเป็นศัพท์เฉพาะน่ะค่ะ
อีกคำถามค่ะ สสส นอกสูตร ที่มีแต่วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้ผ่านการผลิตหรือประกอบ สามารถยื่นขอชำระภาษีหรือส่งออก โดยไม่ต้องมี thrid party มาเป็นผู้รับรอง ใช่หรือไม่คะ
1.ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต จะใช้ว่า scrap (หรือ loss) included in production formula ก็ได้ แต่ประเด็นคือต้องอธิบายนิยามตามข้อกำหนดของ BOI ให้ถูกต้อง
2.วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร
สามารถขออนุญาตส่งคืนไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี โดยระบุชื่อส่งออกตามที่ชื่อวัตถุดิบที่นำเข้ามา และไม่ต้องให้ บ.Insector รับรอง
จากนั้นจึงขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ต่อไป ครับ
ยกตย กรณี หลอดหยอดเรซินค่ะ หากเราทิ้งไว้ในหลอดนานมันจะแข็งตัว ใช้ไม่ได้ต่อไป อันนี้เป็น สสส นอกสูตรใช่ไหมคะ แล้วการคำณวนปริมาณเพื่อตัด บช จะทำอย่างไรคะ
สสส นอกสูตรที่ไม่มีมุลค่า ขั้นตอน ดังนี้ใช่ไหมคะ
ขออนมัติวิธีทำลาย
ให้ผู้รับรองปริมาณ
ให้บริษัทรับกำจัดนำออกไป พร้อมออกใบรับรองนำออก
นำใบรับรองปริมาณ และใบรับรองนำออก ไปยื่นขอตัดบัญชีบีโอไอ
1. เรซิน ที่แข็งในหลอด ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร
กา่รคำนวณปริมาณส่วนสูญเสีย อาจใช้วิธิชั่งน้ำหนัก หักลบด้วยน้ำหนักของหลอดเปล่า เป็นต้น
2. การขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร มีขั้นตอนดังนี้
- ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากเป็นส่วนสูญเสียชนิดเดิม และจะทำลายโดยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนมัติวิธีทำลายใหม่อีก)
- ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยติดต่อ บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้มาตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย ก่อนและหลังการทำลาย และออกเอกสารับรองตามแบบที่ BOI กำหนด
- ในการทำลายวัตถุดิบ (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) ต้องแจ้งกรมสรรพากรและผู้สอบบัญชีทราบ ตามประกาศของกรมสรรพากร
- ยื่นคำร้องขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI พร้อมหนังสือรับรองของ บ.Insector
- เมื่อได้รับอนุมัติ จึงยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ต่อ IC ต่อไป ครับ
ต้องรับรองทั้ง ก่อน และ หลังทำลาย หากเราส่งกำจัดข้างนอก inspector ต้องตามไปดูที่บ.รับกำจัดตอนทำลายเสร็จด้วยหรือคะ
สรรพากรจะมาดูตอนเคลื่อนย้าน สสส นี้ ไปที่บริษัทรับกำจัดหรือคะ
ตามประกาศ BOI ส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องทำลายเป็นเศษซาก จึงจะปลอดจาการะภาษี
ส่วนการนำเศษซากไปกำจัด จะต้องเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อกำหนดตามประกาศเรื่องส่วนสูญเสียของ BOI
คำแนะนำคือ ให้ขออนุมัติวิธีการทำลาย เช่น รตัด ทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ เป็นต้น
โดย บ.Inspector จะทำการตรวจสอบ โดยอยู่ร่วมในการทำลายด้วย
สำหรับเรื่องสรรพากร ขอให้ศึกษาจาก คำสั่งกรมสรรพากร ที่ 79/2541 หรือปรึกษากับกรมสรรพากรโดยตรง ครับ
สอบถามเพิ่มเติม อยางกรณี สายไฟ เวลาจะทำรายงานแสครปต้องทำอย่างไรคะ เช่น โมเดล ก. ปกติยาว 1 เมตร แต่พอเป็นแสครปบางเส้นอาจจะยาว 0.5 เมตร บางเส้น 0.2 เมตร ต้องทำรายงานแยกเป็นโมเดลไหมคะ ตย เช่น
โมเดล ปริมาณ
ก. 0.5 ม.
ก. 0.2 ม.
ข. 0.4 ม.