เรียน แอดมิน
บริษัทฯจะทำการการส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ แต่เครื่องจักรนั้นมีอายุไม่เกิน 5 ปี เนื่องจากต้องการยกเลิกโครงการ จะทยอยส่งคืนไปบริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้างและมีภาระภาษีหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
การขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ จะไม่มีภาษี แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาครบ 5 ปีหรือไม่ก็ตาม
แต่จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และต้องไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมขาดหายไป ยกเว้นแต่จะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน
แต่หากจะส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ซึ่งทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% โดยไม่นำเครื่องจักรใหม่มาทดแทน เนื่องจากจะยกเลิกโครงการ
ให้ยื่นขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ผ่านระบบ eMT และชี้แจงเหตุผลว่าขอส่งคืน เนื่องจากจะขอยกเลิกโครงการ ครับ
เรียน Admin
ขอสอบถามค่ะ ในกรณีที่โครงการเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และทางบริษัทฯ มีความประสงค์จะเปลี่ยนเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมาแทน โดยส่งเครื่องเดิมกลับไปบริษัทแม่ จะต้องดำเนินการอย่างไรค่ะ (เครื่องจักรสั่งปล่อยจากระบบ emt ยังไม่ได้ตัดบัญชีเครื่องจักร)
ขอบคุณค่ะ
ฐิติรัตน์
กรณีเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
1.การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ เพื่อนำเครื่องจักรใหม่มาทดแทน ให้ยื่นคำร้องขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ผ่านระบบ eMT
โดยหากเป็นเครื่องจักรหลักซึ่งทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% ของบัตรส่งเสริม ให้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรใหม่มาทดแทน
เครื่องจักรที่ส่งคืนต่างประเทศ จะไม่มีภาระภาษี แม้จะไม่ได้ยื่นตัดบัญชีเกิน 5 ปีเพื่อปลอดภาระภาษีหรือไม่ก็ตาม
2.เครื่องจักรใหม่ที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม สามารถใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้
แต่จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 เนื่องจากโครงการนั้นเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว และจะไม่นำมูลค่าเครื่องจักรใหม่นั้นมารวมเป็นขนาดการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคค ครับ
ขอบคุณมากค่ะ
สอบถามค่ะ
ตัดบัญชีเกิน 5 ปีแล้ว
นำเข้าเครื่องจักรมาจากญี่ปุ่น ต่อมาจะทำส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ(เพราะขายคืนบริษัทแม่) จะไม่มีภาระภาษี ถูกต้องไหมคะ
แล้วทางญี่ปุ่นขณะนำเข้าจะมีเสียภาษีนำเข้าหรือไม่คะ
หากมีหรือไม่มี บริษัทจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อไม่ให้ทางบริษัทแม่เสียภาษีนำเข้า
รบกวนแนะนำ ขอบคุณค่ะ
1.เครื่องจักรที่ตัดบัญชี 5 ปี เพื่อปลอดภาษีแล้ว สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศได้โดยไม่มีภาระภาษีอากร
2.การที่บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นจะนำเข้าเครื่องจักรเก่าจากประเทศไทย จะมีกฎระเบียบของประเทศญี่ปุ่นอย่างไร ควรติดต่อสอบถามกับบริษัทแม่ที่ต่างประเทศโดยตรง ครับ
ส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ(ส่งคืน)
เหตุผลการส่งคืน ** ต้องระบุอย่างไรเพราะทางบริษัทขายคืนที่ญี่ปุ่น ค่ะ
หลังจากที่ส่งคืนเรียบร้อยแล้วต้องทำเรื่อง ขอตัดบัญชีส่งคืนเครื่องจักรอีกไหมคะ หรือต้องดำเนินการอย่างไรต่อเพื่อตัดชื่อออกจาก List เครื่องจักรค่ะ
1.เหตุผลการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ให้ระบุไปตามจริง
2.เมื่อได้รับอนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศแล้ว จะต้องส่งเครื่องจักรออกไปภายใน 90 วัน จากนั้นจะต้องยืนยันการส่งออก โดยการคีย์ข้อมูลใบขนขาออกลงในระบบ eMT ครับ
ถ้าบริษัทได้ทำการเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ต้องการส่งคืนเครื่องจักรหลักออกไปต่างประเทศสามารถทำได้หรือไม่? จำเป็นต้องยื่นขอลดกำลังการผลิตหรือไม่? และเพราะเหตุผลใด? (ปัจจุบันการผลิตก็เริ่มจะลดลงตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน) รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่จะจำหน่าย/ส่งออกเครื่องจักร
หากเป็นเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตลดลงกว่า 20% หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม จะต้องแก้ไขโครงการ เพื่อลดขนาดกิจการ หรือแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ให้เหลือเท่าที่มีอยู่จริง ครับ
กรณีส่งคืนmoldของลูกค้า ให้กับลูกค้า ในเขตฟรีโซน อันนี้ถือเป็นส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศไหมคะ เเต่เกิน 5 ปีเเล้ว
การส่งสินเครื่องจักร/แม่พิมพ์ไปยังเขตฟรีโซน ถือเป็นการส่งออกไปต่างประเทศครับ
ส่งคืนเครื่องไปต่างประเทศ และได้ตัดบัญชีส่งคืนแล้ว
คำถามค่ะ
สามารถขอแก้ไข เหตุผลการส่งคืน ได้ไหมคะ แจ้งเหตุผลผิดลักษณะกับที่ส่งคืน ค่ะ
หากการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว
บริษัทไม่ต้องยื่นแก้ไขเหตุผลในการขอส่งคืน แม้ว่าเหตุผลสุดท้ายจะแตกต่างไปจากที่เคยแจ้งไว้กับ BOI ก็ตาม ครับ
ถามเพิ่มเติมค่ะ
มีปัญหาตามหลังค่ะ พอดีปิดงบแล้วก็ยื่น ภงด.50 ค่าเครื่องจักรมันลดลง แต่ไม่ส่งผลต่อกำลังการผลิตค่ะ
เหตุผลตอนส่งกับความเป็นจริง มันขัดแย้งกันค่ะ เจ้าหน้าที่ขอคำชี้แจงค่ะ
หาก จนท ขอทราบเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาในงานอื่น บริษัทน่าจะทำหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมให้กับ จนท ได้ โดยไม่ต้องแก้ไขข้อมูลย้อนหลังในระบบ eMT
อีกทั้งระบบ eMT ก็ไม่ได้ออกแบบให้สามารถแก้ไขข้อมูลของงานที่พิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ครับ
หาก จนท ขอทราบเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาในงานอื่น บริษัทน่าจะทำหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมให้กับ จนท ได้ โดยไม่ต้องแก้ไขข้อมูลย้อนหลังในระบบ eMT
อีกทั้งระบบ eMT ก็ไม่ได้ออกแบบให้สามารถแก้ไขข้อมูลของงานที่พิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ครับ
กรณีบริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ต่อมาต้องการส่งอะไหล่ที่อยู่ในเครื่องจักรดังกล่าวไปต่างประเทศ ทางบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีนำเข้าเครื่องจักร A แต่ต่อมาจะขอส่งส่วนประกอบของเครื่องจักร A (สมมุติว่าคือ Motor) ไปซ่อมต่างประเทศ
- ให้ยื่นขอส่งออกไปซ่อมโดยเลือกรายการที่เคยได้รับอนุมัติสั่งปล่อย (เครื่องจักร A)
- จากนั้นให้คลิ๊กในช่องที่ระบุว่าชื่อที่ขอส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อที่นำเข้า จากนั้นระบุชื่อรายการที่จะส่งซ่อมให้ตรงกับที่จะขอส่งออกไปซ่อม (Motor) ครับ
หากเป็นการส่งไปคืน ไม่ใช่ส่งไปซ่อม จะต้องดำเนินการอย่างไรคะ