FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / การจำหน่าย โอน บริจาคเครื่องจักร
โอนย้ายเครื่องจักรหลักของโครงการ BOI
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
Suji เมื่อ 6 พย 62, 08:46 น.

โครงการที่ 1 ได้สิทธิโยชน์ BOI เปิดดำเนินการแล้ว

โครงการที่ 2 ได้สิทธิโยชน์ BOI ยังไม่เปิดดำเนินการ กำลังจะยื่นเปิดภายในสิ้นปี 2562

คำถาม กรณีจะโอยย้ายเครื่องจักรหลักของโครงการที่ 1 ไปให้โครงการที่ 2 จะทำได้หรือไม่ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 6 พย 62, 11:18 น. #1

การจะโอนเครื่องจักรหลักของโครงการหนึ่ง ไปยังอีกโครงการหนึ่ง เป็นการสวมสิทธิ ไม่สามารถทำได้
เนื่องจากเป็นการนำเครื่องจักรที่เคยผลิตสินค้าและใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วในโครงการหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ผลิตสินค้าเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ในอีกโครงการหนึ่ง
ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม

กรณีที่จะเปิดดำเนินการโครงการที่ 2 แต่มีเครื่องจักรไม่ครบ
บริษัทจะต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ให้ครบ ตามที่เคยยื่นขอรับการส่งเสริมไว้
หรือต้องขอลดขนาดโครงการ (ลดกำลังผลิต) หรือแก้ไขลดขั้นตอนการผลิต ในขั้นเปิดดำเนินการ
แต่หากการลดโครงการ ไม่อยู่ในข่ายที่จะให้ส่งเสริมได้ ก็อาจจะเปิดดำเนินการไม่ได้ และอาจถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ครับ

Suji เมื่อ 7 พย 62, 08:29 น. #2

เรียน แอดมิน

แล้วถ้าหากกรณีเครื่องจักรในโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว เสียหรือใช้ไม่ได้แล้ว และเป็นเครื่องจักรหลัก ทางบริษัทฯ จะต้องทำอย่างไรบ้าง และนำเข้าเครื่องจักรมาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหรือใช้ไม่ได้นี้อย่างไรค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 7 พย 62, 12:26 น. #3

หากบริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว แต่ต่อมาเครื่องจักรเกิดชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมได้ บริษัทสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีดังนี้

  1. ซื้อเครื่องจักรใหม่มาแทน โดยการชำระภาษีอากรขาเข้าเอง เนื่องจากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว
    โดยสินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรที่ซื้อมาใหม่เพื่อทดแทนนี้ สามารถนับเป็นกำลังผลิตของโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้นได้ ตามกำลังผลิตและวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม
  2. กรณีที่ไม่ซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน บริษัทยังคงผลิตสินค้าต่อไปได้ตามกำลังผลิตของเครื่องจักรที่เหลืออยู่จริง
    แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องมีกรรมวิธีการผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม

สำหรับเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หากนำเข้ามาเกินกว่า 5 ปีแล้ว สามารถขออนุญาตจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษีอากร ครับ

Suji เมื่อ 7 พย 62, 13:52 น. #4

เรียน แอดมิน

 

ขออีกคำถามค่ะ

ในกรณีที่บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิ์ JTEPA และเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ BOI สามารถนำเข้าโดยใช้สิทธิ์ JTEPA ได้หรือไม่คะ?

 

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 7 พย 62, 14:04 น. #5

การนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 หรือไม่ก็ได้

เช่น กรณีที่นำเข้าเครื่องจักรตามรายการในข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราอากรขาเข้าเป็น 0% จะใช้สิทธิตามมาตรา 28 เพื่อค้ำประกัน VAT และถอนประกัน VAT ก็ได้
หรือจะไม่ใช้สิทธิ BOI โดยชำระ VAT ตามขั้นตอนปกติก็ได้ครับ


เนื่องจากเรื่องที่สอบถามเพิ่มเติม ไม่อยู่ในหัวข้อของกระทู้นี้

หากมีคำถามอื่นเพิ่มเติม ขอให้ตั้งเป็นคำถามใหม่ในหัวข้อคำถามที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วยครับ