FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การเปิดดำเนินการ / การเปิดดำเนินการ
การซื้อเครื่องจักรทดแทนหลังเปิดดำเนินการ
1 - 9 จาก 9 คำตอบ
page: 1/1
na na เมื่อ 30 ตค 62, 12:02 น.

บริษัทได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้ว กำลังการผลิตจากเครื่องจักรหลัก 10 เครื่อง บริษัทได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

และได้พบว่าเครื่องจักรชำรุด 3 เครื่อง และจึงซื้อเครื่องใหม่เข้ามาทดแทน ขอสอบถามดังนี้ค่ะ

1. บริษัทจะต้องทำเรื่องแจ้ง BOI หรือไม่ 

2. สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถใช้ได้เฉพาะสินค้าที่ผลิตได้ 7 เครื่อง ใช่ไหมคะ ส่วน 3 เครื่องที่ซื้อใหม่ถือว่าเป็นเครื่องจักร NON BOI ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ใช่หรือไม่

ADMIN เมื่อ 30 ตค 62, 14:49 น. #1

กรณีที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI แล้ว แต่ต่อมาภายหลังเครื่องจักรชำรุดเสียหาย

บริษัทสามารถซื้อเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ตามที่เหลืออยู่ของโครงการเดิมได้

โดยเครื่องจักรที่ซื้อมาทดแทนนี้

1.จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (หรือกรณีที่บัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า จะต้องเป็นเครื่องจักรเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผลิตไม่ก่อนปีที่กำหนดในบัตรส่งเสริม และมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า)

2.จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นถาษีอากรขาเข้า (ยกเว้นเป็นประเภทกิจการที่ระบุในบัตรส่งเสริมให้ได้รับสิทธิเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม)

3.จะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้น

4.บริษัทจะยังคงมีกำลังผลิตและมูลค่าวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมอยู่เดิม แม้ว่าเครื่องจักรที่ซื้อมาทดแทนนี้จะทำให้บริษัทมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าเดิมก็ตาม ครับ

unknown เมื่อ 31 ตค 62, 10:21 น. #2

สอบถาม Admin เพิ่มเติมค่ะว่า บริษัทฯต้องแจ้ง BOI ด้วยหรือไม่คะ

 

ADMIN เมื่อ 31 ตค 62, 14:21 น. #3

กรณีนี้ไม่ต้องแจ้ง BOI เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษี

และในบัตรส่งเสริมไม่มีเงื่อนไขระบุให้ต้องแจ้งรายงานต่อ BOI ครับ

ZATH เมื่อ 18 สค 64, 15:43 น. #4

กรณี กิจการที่ได้รับสิทธิเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม และได้เปิดดำเนินการแล้ว จะสามารถขอใช้ ม.30 นำเข้าเครื่องจักรที่ใช้คำนวณกำลังการผลิตเพราะต้องการทดแทนเครื่องเก่าที่ชำรุดได้หรือไม่คะ 

 

ส่วนกรณีเครืืองจักรที่ไม่ได้ใช้คำณวนกำลังการผลิต เข้าใจว่าสามารถนำเข้าได้ตลอด (ไม่จำกัดจำนวน) ถูกต้องใช่ไหมคะ

ADMIN เมื่อ 18 สค 64, 16:20 น. #5

กรณีที่บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม และปัจจุบันเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว

1. สามารถขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหายได้ ทั้งกรณีเป็นเครื่องจักรที่ใช้คำนวณกำลังผลิตหรือไม่ก็ตาม

2. การนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม กรณีเป็นเครื่องจักรที่ไม่เกี่ยวกับการคำนวณกำลังผลิต สามารถขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรเป็นครั้งๆได้ โดยให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องจักรรายการนั้นๆ ครับ

ZATH เมื่อ 18 สค 64, 16:33 น. #6

ขอสรุปแบบนี้ได้ไหมคะ สำหรับการขอเพิ่มชื่อ/จำนวน หลังเปิดดำเนินการแล้วของกิจการที่ได้รับสิทธิเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม

1. เครื่องจักร

    1.1 เครื่องจักรที่ใช้คำณวนกำลังการผลิต

         1.1.1 ขอเครืองจักรทดแทน สามารถทำได้ โดยได้รับ ม.30 ยกเว้นภาษีนำเข้า (กำลังการผลิต + วงเงินรายได้ เท่าเดิม)

         1.1.2 ไม่สามารถขอเพิ่มได้ด้วยสาเหตอื่นๆนอกจากข้อ 1.1.1

    1.2 เครื่องจักรอื่นๆ (ที่อยู่ในลิสต์)  - สามารถขอเพิ่มได้ไม่กำหนดจำนวน (ด้วยเหตุผลใดๆก็แล้วแต่ เช่น เพิ่มกำลังการผลิต, ทดแทน, ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต, เพิ่มขั้นตอนการผลิต (หลังจากขอแก้ไขโครงการแล้ว))

    1.3 เครื่องจักรอื่นๆ (ที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์) - สามารถขอเพิ่มได้ไม่กำหนดจำนวน หากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เดิม (ด้วยเหตุผลใดๆก็แล้ว เช่นเดียวกับ 1.2)

2. Spare parts/mold/jig/fixture สามารถขอเพิ่มจำนวน และรายการใหม่ได้ ไม่จำกัด

ADMIN เมื่อ 18 สค 64, 17:02 น. #7

กรณีที่บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม และปัจจุบันเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว

1. เครื่องจักรที่มีผลต่อกำลังผลิต

- ต้องมีกำลังผลิตไม่เกินกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม

- กรณีเครื่องจักรเดิมชำรุดเสียหาย หรือเทคโนโลยีเดิมไม่เหมาะสม สามารถขอนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทนได้ แต่ยังคงต้องมีกำลังผลิตตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม

- กรณีต้องการเพิ่มกำลังผลิต สามารถนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาเพิ่มเติมได้ ตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2549

2. เครื่องจักรที่ไม่มีผลต่อกำลังผลิต

- ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมกับกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม

- อื่นๆ เหมือนกับเครื่องจักรที่มีผลต่อกำลังผลิต

3. อะไหล่ แม่พิมพ์ Jig & Fixture

- จะอนุมัติรายการโดยไม่ระบุปริมาณสูงสุด จึงจะนำเข้ามาเท่าใดก็ได้ ครับ

ZATH เมื่อ 18 สค 64, 17:38 น. #8

งงจังค่ะตอนนี้ คือได้ทราบมาว่า หลังเปิดดำเนินการแล้ว ผอ.กอง 2 ไม่อนุมติให้เพิ่มกำลังการผลิตและไม่สามารถนำเข้าเครื่องจักรที่ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นโดยได้รับยกเว้นอากรอีกต่อไปในทางปฏิบัติน่ะค่ะ ^^ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่อ่ะคะ

 

ADMIN เมื่อ 19 สค 64, 12:54 น. #9

1. ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติการแก้ไขโครงการที่มีการลงทุนเพิ่ม โดยมีสาระสำคัญ คือ
- ต้องยังเปิดดำเนินการไม่เต็มโครงการ
- กรณีสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม กับสิทธิประโยชน์กรณียื่นขอเป็นโครงการใหม่ แตกต่างกัน ให้ขอเพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 30% ของกำลังผลิตเดิม

2. ประกาศ กกท ที่ 6/2549 กำหนดว่า
- โครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน ในทุกประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม สามารถนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร


ความเห็นของแอดมิน มีดังนี้

1. บริษัทสามารถขอเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมได้ แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549

2. กรณีสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม กับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ปัจจุบัน แตกต่างกัน (คือ สิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ปัจจุบัน น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม)

BOI อาจพิจารณาให้เพิ่มกำลังผลิต โดยกำลังผลิตในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจให้ได้รับสิทธิตามเกณฑ์ปัจจุบัน หรืออาจไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ได้ ครับ