FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การแก้ไขโครงการ / การแก้ไขเพื่อว่าจ้างหรือรับจ้างผลิต
การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต นำไปว่าจ้างผู้อื่นทำ
1 - 7 จาก 7 คำตอบ
page: 1/1
Suji เมื่อ 6 กย 62, 09:27 น.

การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต นำไปว่าจ้างผู้อื่นทำ ในขั้นตอนการผลิตหลักของโครงการการสามารถทำได้หรือไม่คะ

ADMIN เมื่อ 6 กย 62, 12:20 น. #1

โดยปกติ การนำขั้นตอนกรรมวิธีหลัก ไปว่าจ้างผู้อื่นผลิต จะทำไม่ได้

เพราะอาจทำให้โครงการขาดสาระสำคัญ และอาจทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุมัติให้การส่งเสริม

รวมถึงในบางกิจการ เช่น กิจการผลิตผลิตภัณฑ์/ชิ้นส่วนพลาสติก มีแนวทางพิจารณาว่าจะต้องเป็นการฉีดพลาสติกขึ้นเองในโรงงานเท่านั้น เป็นต้น


กรณีที่มีความจำเป็นต้องนำขั้นตอนหลักไปว่าจ้างผลิต เช่น เครื่องจักรเสีย หรือเป็นการว่าจ้างชั่วคราว หรือจำกัดจำนวน

อาจยื่นขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเป็นการชั่วคราวได้ เช่น ขอทำการว่าจ้างในขั้นตอน ... เป็นเวลา .... เดือน (หรือจำนวน .... ชิ้น) เป็นต้น

แต่จะได้รับอนุมัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็นของบริษัท และแนวทางการพิจารณาของ BOI ครับ

Suji เมื่อ 6 กย 62, 14:28 น. #2

1. สาระสำคัญของโครงการคือขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ตามหนังสือแจ้งมติ ใช่หรือไม่ค่ะ

2. มูลค่าเพิ่มของโครงการคือรายได้รวมของโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ใช่หรือไม่ค่ะ

3. กรณีการนำขั้นตอนบางส่วนไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่า20% ของรายได้ จะไม่อนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต รบกวนอธิบายเพิ่มเติมในส่วนนี้ด้วยได้ไหมค่ะ เพราะตีความไม่ถูกต้องเท่าไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 6 กย 62, 14:32 น. #3

ช่วยให้ข้อมูลด้วยว่า บริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการอะไร ผลิตสินค้าอะไร

กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติระบุไว้อย่างไร

และจะนำขั้นตอนใดไปทำการว่าจ้าง โดยจะว่าจ้างเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด และเป็นการว่าจ้างชั่วคราวหรือตลอดไป

จะตอบคำถามให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการอธิบายหลักเกณฑ์การพิจารณาครับ

Suji เมื่อ 6 กย 62, 14:55 น. #4

ประเภท 4.2 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน ผลิตอุปกรณ์ Cutting Tools

กรรมวิธีการผลิตคือ

1.นำวัตถุดิบ TUNGSTEN CARBIDE มาเจียรผิวให้เรียบ ตัด เจียรร่อง เป็นชิ้นงานย่อยตามขนาดที่กำหนด และทำความสะอาด

2.นำ SINTERED มาเจียรหยาบแล้วนำเข้าเตาอบเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ใช้ลวดเงิน แต้มเชื่อมประกอบกับTUNGSTEN CARBIDE เข้าด้วยกัน

3.ตัดขอบส่วนเกินหลังการเชื่อม

4.เจียรหยาบ เจียรละเอียดพร้อมทั้งทำมุมโค้งที่หัวตัด

5.ประทับตราลงบนชิ้นงาน ตรวจสอบขนาดในทุกทิศทาง

6.ปิดฉลาก บรรจุและจัดส่งไปยังลูกค้า

ขั้นตอนที่จะนำไปว่าจ้างคือ ขั้นตอนที่ 4 และเป็นขั้นตอนหลักของโครงการ โดยจะแก้ไขว่า บางรุ่น นำไปว่าจ้างผู้อื่นเจียรหยาบ เจียรละเอียดพร้อมทั้งทำมุมโค้งที่หัวตัด (ซึ่งคิดประมาณ 30% ของกำลังการผลิต) ค่ะ เป็นการว่าจ้างตลอดไป จะทำได้หรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 6 กย 62, 15:21 น. #5

กรณีที่สอบถาม

หากในขั้นยื่นขอรับส่งเสริม บริษัทเสนอว่าจะมีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะขั้นตอนที่ 1-3 และ 5-6 โดยขั้นตอนที่ 4 จะว่าจ้างผู้อื่นผลิต

ก็เข้าใจว่าน่าจะให้การส่งเสริมได้ตั้งแต่ต้น เนื่องจากมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย และน่าจะมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20%

ดังนั้น แม้ว่าจะขอแก้ไขกรรมวิธีขั้นที่ 5 เป็นการว่าจ้างบางรุ่น ก็ไม่น่าจะทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม จึงน่าจะอยู่ในข่ายที่อนุมัติได้ครับ 

Suji เมื่อ 6 กย 62, 15:49 น. #6

แสดงว่า บริษัทฯ จะสามารถแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ในขั้นตอนที่ 4 คือ บางรุ่น นำไปว่าจ้างผู้อื่น... ได้ใช่หรือไม่ค่ะ เพราะเราต้องการแก้ไขกรรมวิธีการผลิตนี้ก่อนเปิดดำเนินการ ประมาณปลายปีนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 6 กย 62, 15:58 น. #7

ตามความเข้าใจของแอดมิน คิดว่าน่าจะแก้ไขได้ครับ