FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / ส่วนสูญเสีย และเศษซาก
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ที่เสิ่อมสภาพและ ng
1 - 10 จาก 10 คำตอบ
page: 1/1
Jindapon เมื่อ 14 ธค 61, 16:10 น.

สวัสดีค่ะ สอบถาม บริษัทได้รับบัตรส่งเสริม กิจการประเภท 7.6
คำถาม

ข้อ 1.สินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาแล้ว มีการยกเลิกการสั่งซื้อแล้ว และมีเสิ่อมสภาพ เป็น NG ทางบริษัทต้องดำเนินการอย่างไร
สามารถขายเป็น scarp ได้ หรือจำหน่ายได้เลยหรือไม่ รบกวนแนะนำเพิ่อให้ถูกต้องด้วยค่ะ จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพกรและศุลกากรค่ะ

 

กิจการประเภท 5.5

ข้อ 2. สินค้า FG  ทางลูกค้าได้มีการยกเลิกคำสั่งซื้อ และมีเสิ่อมสภาพ ทางบริษัทสามารถดำเนินการขายเป็น scarp ได้เลยหรือไม่ หรือต้องขอทำลายสินค้าก่อน รบกวนแนะนำเพิ่อให้ถูกต้องด้วยค่ะ จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพกรและศุลกากรค่ะ

ข้อ 3. ของเสียทั้ง ITC และ FG เป็นส่วนสูญเสียชนิดไหน นอกสูตร หรือในสูตร และสามารถรู้ได้อย่างไรว่าของเสีย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ หรือไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

ADMIN เมื่อ 18 ธค 61, 16:26 น. #1

ตอบคำถามตามนี้ครับ

1.วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 หากมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ ถือเป็น ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

สามารถดำเนินการตาม ประกาศ ป.5/2543 โดยวิธีต่างๆ เช่น
- ขออนุญาตส่งคืนไปต่างประเทศ (ไม่มีภาระภาษี)
- ขออนุญาตทำลาย (ไม่มีภาระภาษี / แต่หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะมีภาระภาษีตามสภาพเศษซาก)

2.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 36 หากมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ถือเป็น ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

หากไม่สามารถส่งออกได้ จะต้องขออนุญาตทำลาย

และหากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซาก จึงจะตัดบัญชีได้

3.เศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติก หรือเศษซากอื่นๆ ที่มีผู้มารับซื้อ หรือรับขนไปให้ฟรีๆ ครับ

Jindapon เมื่อ 28 สค 62, 14:00 น. #2

สอบถามเพิ่มเติมอีกค่ะ

ผลิตภัณฑ์ที่ Deadstock และได้แจ้งทางสรรพกร ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ BOI และทางนี้สรรพกรแจ้งให้ทำลายผลิตภัณฑ์ และห้ามขาย ดังนั้น
ปัญหาคือใช้สิทธิ BOI  และทางเราต้องการยอดเพื่อมาตัดบัญชีเพื่อปรับยอด จะทำอย่างไรที่ถูกต้องดี
คำถาม 

ทำลายผลิตภัณฑ์นั้น สรรพกร และ  Third party  ฺBOI  สามารถเข้ามาดูการทำลายพร้อมกันได้หรือไม่
และหากทำลายและชำระภาษีแล้ว ก็สามารถขายเศษซากได้ถูกต้องไหมคะ

ADMIN เมื่อ 28 สค 62, 17:22 น. #3

ผลิตภัณฑ์ที่เป็น dead stock จัดเป็น "ส่วนสูญเสีย" ตาม ประกาศ BOI ป.5/2543 ข้อ 3.3

หากต้องการตัดบัญชีโดยการทำลาย จะต้องดำเนินการดังนี้

1.ยื่นขออนุมัติวิธีการทำลายส่วนสูญเสีย และวิธีการกำจัดเศษซาก ต่อ BOI

2.ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติจาก BOI โดยให้บริษัทผู้ประกอบการตรวจสอบส่วนสูญเสียที่ได้รับอนุญาตจาก BOI (บริษัท Inspector) ทำการควบคุมการทำลาย และออกเอกสารรับรองการทำลาย

3.ยื่นขอตัดบัญชี (หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซาก)


กรณีที่สอบถาม เข้าใจว่าเป็นไปตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 ข้อ 3 (2)

บริษัทจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งกฎระเบียบ BOI และกรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ครับ

Jindapon เมื่อ 8 ตค 62, 16:11 น. #4

สอบถามเพิ่มเติมค่ะ

1. กรณีทำลาย ( หากมีเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ / ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ) สามารถส่งออกไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษีได้หรือไม่คะ
2. หากส่งออก ก็ทำเรื่อง "
ขออนุญาตส่งส่วนสูญเสีย (นอกสูตรไปต่างประเทศ)" ถูกต้องไหมคะ

ADMIN เมื่อ 9 ตค 62, 10:15 น. #5

1. การจะขอส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี

สามารถยื่นขออนุญาตส่งออกตามสภาพส่วนสูญเสีย โดยไม่จำเป็นต้องทำลาย

2. ขั้นตอนคือ 

1) ยื่นคำร้องขอส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ
2) เมื่อส่งออกแล้ว ยื่นคำร้องขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรกรณีส่งออก
3) นำหนังสืออนุมัติจาก BOI ไปยื่นตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC ครับ

ZATH เมื่อ 23 มีค 64, 17:03 น. #6

กรณีนำเข้าวัตถุดิบมา โดยมีทั้งใช้สิทธิ /และไม่ใช้สิทธิ ม.36 หากมีกรณีไม่ได้มาตรฐาน/เสื่อมสภาพ /หรือสูญเสียจากการผลิต เราสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของบีโอไอ และรายได้จากการขายเศษซากเหล่านี้ สามารถเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ใช่หรือไม่คะ (สิทธิยังไม่หมด) 

ZATH เมื่อ 23 มีค 64, 17:48 น. #7

สอบถามเพ่ิมเติมค่ะ

1. ผลิตผลิตภัณฑ์เพิ่มเป็นตัวอย่าง และตัดออกจากระบบ (ไม่อยู่ในระบบ MRP อีกต่อไป) เมื่อเลิกใช้ ก็นำไปขายเป็นเศษซาก อย่างนี้เป็นรายได้บีโอไอหรือไม่คะ

2. วัตถุดิบซื้อในประเทศ (ลวดทองแดง) เกิดส่วนสูญเสียที่เกิดจากการตัดลวด/หัวม้วน ท้ายม้วน/ เสียระหว่างผลิต รวบรวมนำไปขายเป็นเศษซาก อย่างนี้เป็นรายได้บีโอไอหรือไม่คะ

ADMIN เมื่อ 23 มีค 64, 18:57 น. #8

1. รายได้ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดไว้ตาม ประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2530 เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งในข้อ 2.2 ของประกาศ ให้รวมถึงรายได้การจำหน่ายผลพลอยได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม ได้แก่ เศษและของเสียจากการกระบวนการผลิตด้วย

2. เศษซากและของเสียจากกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเกิดจากวัตถุดิบที่ซื้อในประเทศหรือนำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 1 ได้

3. สินค้าที่ผลิตขึ้นเป็นตัวอย่าง แต่เลิกใช้แล้ว และจะจำหน่ายเป็นเศษซาก ความเห็นส่วนตัวของแอดมิน เห็นว่า ไม่น่าจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายผลพลอยได้ คือไม่ใช่เศษและของเสียจากกระบวนการผลิต ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม

4. การผลิตสินค้าตัวอย่างที่จะไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออก ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 เนื่องจากไม่ใช่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก

เศษซากของสินค้าตัวอย่างที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกนี้ ก็ย่อมไม่สามารถนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้ ครับ

ZATH เมื่อ 24 มีค 64, 19:01 น. #9

วัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน/เสื่อมสภาพ/ยกเลิกการผลิต จัดเป็นเศษซากและของเสียจากกระบวนการผลิต ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่คะ

ADMIN เมื่อ 25 มีค 64, 10:33 น. #10

วัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ/เสื่อมสภาพ/ยกเลิกการผลิต หากทำลาย จะถือเป็นเศษซากที่สามารถตัดบัญชีวัตถุดิบได้โดยไม่มีภาระภาษี ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2543

ซึ่งเป็นเงื่อนไขและวิธีการในการใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36


กรณีที่สอบถาม เป็นเรื่องของการใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ซึ่งกำหนดตามประกาศกรมสรรพากรตามคำตอบที่ 6

เนื่องจากบัตรส่งเสริมระบุว่า "ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต"

วัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ/เสื่อมสภาพ/ยกเลิกการผลิต เป็นของที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการผลิต จึงไม่เข้าข่ายผลพลอยได้ และไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้


เนื่องจากคำตอบนี้เป็นการตีความของแอดมิน ซึ่งไม่แน่ใจว่ากรณีนี้เคยมีการวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร

หากต้องการคำตอบที่เป็นทางการ แนะนำให้ทำหนังสือสอบถามไปยัง BOI และกรมสรรพากร โดยตรงครับ