FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / ภาพรวม
การส่งออกทางอ้อม
1 - 9 จาก 9 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 24 ธค 56, 01:35 น.
ต้องการทราบขั้นตอนการดำเนินการ กรณีที่บริษัท A (Zone 3) ต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม ให้กับบริษัทที่อยู่ในประเทศซึ่งได้รับสิทธิ BOI (Zone 2)
1. เริ่มแรก ต้องยื่นเรื่องหรือขออนุญาตจาก BOI ก่อนหรือไม่
2. ต้องตรวจสอบเรื่องสิทธิประโยชน์กับบริษัทที่ลูกค้าก่อนหรือไม่ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ต่างกัน (ต่าง Zone)
ADMIN เมื่อ 24 ธค 56, 01:43 น. #1
A (BOI) -> B (BOI) -> ส่งออก

1. การที่ A จะขายให้ B ไม่ต้องขออนุญาตจากบีโอไอ เพราะ A จะส่งออกโดยตรงหรือทางอ้อม ก็ไม่ผิดเงื่อนไขอะไร

2. แม้ว่า A และ B จะตั้งอยู่คนละโซน แต่หากทั้ง 2 บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 (โซน 3 ยกเว้น 5 ปี โซน 2 ยกเว้น 1 ปี) ก็ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากเมื่อ B ส่งออก ก็สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับมาให้ A ได้

3. แต่ทั้งนี้ A ควรตรวจสอบกับ B ก่อนว่า สินค้าที่ซื้อ A ขายให้ B เข้าข่ายวัตถุดิบตามโครงการที่ B ได้รับส่งเสริมหรือไม่ เวลาโอนสิทธิตัดบัญชีกลับมาจะได้ไม่มีปัญหา
GUEST เมื่อ 24 ธค 56, 01:53 น. #2
อยากทราบว่า แล้ว A ต้องใช้เอกสารอะไรในการพิสูจน์ว่า B ส่งออกสินค้าของ A ไปต่างประเทศ
ADMIN เมื่อ 24 ธค 56, 01:55 น. #3
โดยหลักการ เมื่อ B (ผู้ส่งออก) จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A
B จะต้องสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า ได้ซื้อวัตถุดิบมาจาก B จริง

หาก B โอนสิทธิตัดบัญชีไปให้กับบริษัทที่ไม่ได้ขายวัตถุดิบให้กับ B ย่อมถือว่า B มีความผิด
และหากบริษัทผู้รับโอนสิทธิมาโดยมิชอบนั้น นำสิทธิไปตัดบัญชี ก็ย่อมถือว่า มีความผิดเช่นกัน

หลักฐานเบื้องต้นที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ คือหลักฐานการซื้อขาย (ใบรับของ/ใบกำกับภาษี ฯลฯ) ระหว่าง A กับ B
GUEST เมื่อ 24 ธค 56, 02:03 น. #4
A (BOI) -> B (Non BOI) -> ส่งออก

กรณีนี้ A ต้องใช้เอกสารอะไรในการพิสูจน์ว่า B ส่งออกสินค้าของ A ไปต่างประเทศ
ADMIN เมื่อ 24 ธค 56, 02:17 น. #5
กรณีส่งออกทางอ้อม คือ A (BOI) -> B -> ส่งออก
BOI อนุญาตให้ A ตัดบัญชีวัตถุดิบมาตรา 36 ด้วยระบบ RMTS ใน 4 กรณี คือ

1. B เป็น BOI และได้รับ ม.36
    - ตัดบัญชีแบบโอนสิทธิด้วย Report-V
2. B เป็น Non-BOI แต่เป็น Trading ที่ไม่ได้นำของไปผลิตต่อ และส่งออกไปในชื่อสินค้าเดียวกันกับที่ซื้อมาจาก B โดยไม่มีการแกะกล่องหรือ re-pack ใหม่
    - ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนของผู้ส่งออกที่มีการระบุหน้าใบขนโดยชัดเจนว่าโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A
3. B เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)
    - ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกโอนย้าย
4. B อยู่ใน Free Zone  (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)
    - ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกของ A

แต่ถ้า B เป็นบริษัทที่ใช้สิทธิตามมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร จะใช้ใบแนบท้ายใบขนขาออก เป็นหลักฐานในการขอคืนอากรจากกรมศุลกากร
GUEST เมื่อ 24 ธค 56, 02:22 น. #6
A ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 ส่วนลูกค้าคือ B ได้รับสิทธิลดหย่อนอากรตามมาตรา 30 จะยังสามารถจำหน่ายให้กันได้หรือไม่
ADMIN เมื่อ 24 ธค 56, 02:29 น. #7
สิทธิลดหย่อนภาษีวัตถุดิบ (ม.30) ใช้ในกรณีที่นำวัตถุดิบเข้ามาเพื่อผลิตเป็นสินค้า ซึ่งจะส่งออกหรือไม่ก็ได้
ส่วนสิทธิยกเว้นภาษีวัตถุดิบ (ม.36) ใช้ในกรณีที่นำวัตถุดิบเข้ามาผลิตส่งออก

1) A (ม.36) -> B (ม.36) -> ส่งออก  ... กรณีนี้สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา
2) A (ม.36) -> B (ม.30) -> จำหน่ายในประเทศ ... กรณีนี้มีปัญหา เนื่องจากเป็นการนำวัตถุดิบตามมาตรา 36 ไปจำหน่ายในประเทศ
3) A (ม.36) -> B (ม.30) -> ส่งออก  ... กรณีนี้มีปัญหา เนื่องจากวิธีการตัดบัญชีตามมาตรา 30 เป็นการสรุปรายงานการผลิตจำหน่ายปีละ 1 ครั้ง ซึ่งต่างกับวิธีการตัดบัญชีตามมาตรา 36 ... จึงควรให้ลูกค้า B ขอรับสิทธิตามมาตรา 36 เพิ่มเติม และดำเนินการตามวิธีที่ 1 คือ A (ม.36) -> B (ม.36) -> ส่งออก
Nihon เมื่อ 8 ธค 65, 08:31 น. #8

รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าบริษัท A ขายวัตถุดิบให้กับบริษัท B (บริษัท A สั่งซื้อวัตถุดิบมาเกินความจำเป็น แล้ววัตถุดิบเหลือในสต็อค จึงจำเป็นต้องขายให้กับบริษัท B ซึ่งต้องการใช้วัตถุดิบชนิดนี้พอดี บริษัท A และ B เป็น BOI) อยากสอบถามว่า บริษัท A สามารถขายวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้หรือไม่ ถ้าขายได้ บริษัท B จะโอน Report-v ให้โดยใช้ชื่ออะไร เดิมซื้อขายกันแต่ชิ้นงาน ไม่เคยซื้อขายวัตถุดิบ  

ADMIN เมื่อ 8 ธค 65, 16:13 น. #9

ตอบตามประกาศ สกท คือ

หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิมาตรา 36 แล้วเหลือเกินความจำเป็น สามารถจัดการด้วยวิธีต่างๆ คือ

1. ขอส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ ซึ่งไม่มีภาระภาษี

2. ขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า แล้วจึงนำไปผลิตหรือจำหน่ายในประเทศได้

3. หากเป็นวัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
สามารถขอดำเนินการการในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร คือ ยื่นขอทำลาย และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก (ถ้ามี) 

โดยทั่วไปจึงควรใช้ 3 แนวทางนี้เป็นหลัก


นอกจาก 3 วิธีข้างต้น ยังมีกรณีการโอน-รับโอนวัตถุดิบ

แต่ในประกาศของ BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การขอโอน-รับโอนวัตถุดิบ ไว้

หากเป็นการนำวัตถุดิบเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่าย จะไม่อนุญาตให้เป็นการโอน-รับโอนวัตถุดิบ

แต่หากเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับบริษัท อาจจะพิจารณาให้เป็นกรณีๆ ไป

กรณีที่ BOI อนุญาตให้โอน-รับโอนวัตถุดิบ จะเป็นการยื่นปรับยอด (ไฟล์ birtadj) ทั้งในส่วนของผู้โอนและผู้รับโอน ครับ