FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การแก้ไขโครงการ / แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
กรรมวิธีการผลิตนำเครื่องจักรและวัตถุดิบไปว่าจ้างผู้อื่นผลิต
1 - 4 จาก 4 คำตอบ
page: 1/1
Planning เมื่อ 23 มีค 60, 14:02 น.

เรียน Admin ค่ะ

ขอเรียนถามค่ะ

บริษัท ได้รับการส่งเสริม กิจการผลิต xx โดยมีกรรมวิธีการผลิต ขั้นตอนหนึ่งในนั้นคือ ให้นำเครื่องจักรและวัตถุดิบไปว่าจ้างผู้ผลิตในประเทศผลิตชิ้นส่วน /ชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปให้บางส่วน

คำถามคะ

เนื่องจากบริษัท มีกรรมวิธีการผลิตในโครงการแล้ว บริษัทฯ สามารถนำเครื่องจักรออกไปว่าจ้างได้เลย เช่นเดียวกับกรณีนำแม่พิมพ์ออกไปว่าจ้าง บริษัทฯ โดยไม่ต้องทำหนังสือถึงสำนักงาน เพื่อแจ้งรายการเครื่องจักรที่จะออกไปในแต่ละครั้งอีก เข้าใจถูกต้องไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 24 มีค 60, 16:37 น. #1

ขอตอบตามความเห็นของ admin ดังนี้ครับ

1.การอนุมัติกรรมวิธีการผลิตให้มีขั้นตอนการนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน เนื่องจาก
1.1 เพื่อให้สามารถอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบ เพื่อให้บริษัทสามารถนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบเข้ามาได้โดยยกเว้นภาษีอากร
1.2 เพื่อให้สามารถนำมูลค่าการลงทุนเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่นำไปจ้างผลิตในประเทศ มานับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.กรณีที่บริษัทนำเข้าเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิ จะต้องปฏิบัตตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนด

3.ในอดีต เป็นที่ทราบว่า บริษัทจะต้องขออนุญาตต่อ BOI ก่อนนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ และวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต

4.ปัจจุบัน ทราบว่า BOI มีแนวทางปฏิบัติคือ กรณีที่บริษัทได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมโดยมีขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน บริษัทไม่ต้องยื่นขออนุญาต BOI ก่อนนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิต ครับ

Planning เมื่อ 28 มีค 60, 09:13 น. #2

เรียน Admin

ขอบคุณมากค่ะ


 

ZATH เมื่อ 2 ธค 62, 15:09 น. #3

ปัจจุบันหากบริษัทว่าจ้างบริษัทอื่นผลิตชิ้นส่วน โดยมีการส่งชิ้นส่วนบางอย่างไปให้ด้วย เช่น ว่าจ้างผลิต A ทางเราส่งชิ้นส่วน B + C ไปให้ด้วย (มีทั้งที่นำเข้าโดย ม.36 และเสียภาษีเข้ามา หรือซื้อในประเทศ) ในตอนนี้จะต้องขออนุมัติบีโอไอหรือไม่อย่างไรคะ

ADMIN เมื่อ 2 ธค 62, 15:35 น. #4

ในบัตรส่งเสริมมีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า กรรมวิธีการผลิตจะต้องเป็นไปตามโครงการที่เสนอและได้รับอนุมัติ

ดังนั้น หากบริษัทจะนำวัตถุดิบ B และ C ไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตเป็นชิ้นส่วน A โดยในกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติไม่ได้อนุญาตไว้ ก็ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต

แต่หากการว่าจ้างดังกล่าว ทำให้โครงการที่เหลืออยู่ ขาดสาระสำคัญที่จะได้การส่งเสริมต่อไป ก็อาจไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต ครับ