FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 30 / การตัดบัญชีวัตถุดิบ
จำหน่ายสินค้าทั้งที่ผลิตจากวัตถุดิบมาตรา 30 และ 36
1 จาก 1 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 23 ธค 56, 23:09 น.
บริษัทยังไม่เคยใช้สิทธิมาตรา 30 แต่มีแผนการตลาดในอนาคตว่า จะขายในประเทศ
ลูกค้าเป็น BOI แต่เนื่องจาก ลูกค้ารับผลิตภัณฑ์จากเราไปเพื่อผลิต ประกอบ
ส่วนหนึ่งส่งออก ส่วนหนึ่งขายในประเทศ
ส่วนที่ลูกค้าจะขายในประเทศ ถ้าบริษัทจะใช้สิทธิ มาตรา 30
อยากทราบว่า 1) กรณีตัดบัญชี Balance วัตถุดิบที่เหลือ บริษัทต้องมีภาระ หรือต้องจัดการอย่างไรคะ
2) กรณี Balance ติดลบ บริษัทต้องมีภาระ หรือต้องจัดการอย่างไรคะ
อันนี้ สอบถามมาโดยอ้างอิงกรณีความน่าจะเป็นจาก มาตรา 36 ไม่ทราบว่าจะเหมือนกันหรือไม่
ADMIN เมื่อ 23 ธค 56, 23:46 น. #1

1. หากสิ้นสุดสิทธิมาตรา 30 แล้ว ยังมี Balance เหลือ ไม่สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้ภายใน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ จะต้องชำระภาษีย้อนหลังตามสภาพ ณ วันที่นำเข้า

2. กรณี Balance ติดลบ เกิดได้หลายวิธี เช่น 1) สูตรเกิน 2) นำส่วนสูญเสียในสูตรมาตัดซ้ำ ฯลฯ จึงต้องหาสาเหตุ และแก้ไขให้ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Balance จะติดลบหรือเป็น 0 แต่หากกรมศุลฯ ตรวจพบว่ามีการใช้สิทธิไม่ถูกต้อง ก็สามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ณ วันที่นำเข้าได้

3. กรณีที่บริษัท A จะจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบมาตรา 30 หรือ 36 ให้กับบริษัท B เพื่อผลิตขายในประเทศและผลิตส่งออก มีข้อควรระวัง ดังนี้

3.1 บริษัท A ต้องไม่นำวัตถุดิบมาตรา 30 และ 36 มาใช้ร่วมกันในการผลิตสินค้าชิ้นเดียวกัน

3.2 กรณีที่บริษัท A นำวัตถุดิบตามมาตรา 30 ไปผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายให้ B / บริษัท B จะนำสินค้านั้นไปผลิตจำหน่ายในประเทศ หรือผลิตส่งออกก็ได้
แต่กรณีนี้ จะมีต้นทุนสินค้าแพงกว่าที่ผลิตจากมาตรา 36 เนื่องจากจะต้องบวกค่าภาษีอากรไปด้วย (ม.30 ลดหย่อนอากรให้เพียง 75% เท่านั้น)

3.3 บริษัท A และ B จึงต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า
- สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบมาตรา 30 จะมีต้นทุนแพงกว่า บริษัท B จึงควรนำไปจำหน่ายในประเทศ
- สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบมาตรา 36 จะไม่มีต้นทุนภาษีอากร จึงมีราคาถูกกว่า แต่บริษัท B ต้องนำไปผลิตส่งออกเท่านั้น มิฉะนั้น บริษัท A จะถูกเรียกเก็บภาษีอากร