บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภท 6.5 กิจการผลิตยา และหรือ สารออกฤทธิ์สำคัญในยา ประเภทยาฉีด บริษัท A ซึ่งจัดตั้งในประเทศไทยได้ว่าจ้างบริษัทให้ผลิตยาฉีด โดยบริษัท A เป็นผู้สั่งซื้อวัตถุดิบหลักมาจากต่างประเทศ และนำเข้าโดยใช้ License ของบริษัท เพื่อทำการผลิตยาฉีด ทั้งนี้ในการผลิตยาฉีดตามที่บริษัท A ได้ว่าจ้างนั้น ไม่ใด้ใช้วัตถุดิบจากบริษัท A เท่านั้นแต่ บริษัทยังต้องจัดหาวัตถุดิบชนิดอื่นเพื่อใช้ในการผลิตยาฉีดนี้อีกด้วย ซึ่งวัตถุดิบที่บริษัทจัดหาเองนำเข้าจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งยาฉีดนี้เมื่อผลิตเสร็จจะขายไปยังประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด
ขอสอบถามว่า บริษัทสามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นอากรขาเข้า และ VAT ตามมาตรา 36 (1) สำหรับวัตถุดิบที่บริษัท A เป็นเจ้าของได้หรือไม่
กรณีที่สอบถามไม่ชัดเจนว่าบริษัท A ได้รับส่งเสริมหรือไม่ / ใครเป็นผู้นำเข้า / ใครใช้สิทธิใคร / ใครเป็นผู้ส่งออก
จึงขอตอบเฉพาะหลักการคือ
1. การจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ผู้ที่ได้รับสิทธิ (บริษัท BOI) จะต้องมีสถานะเป็นผู้นำเข้า
2. การรับจ้างผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม โดยมีกรรมวิธีผลิตครบถ้วนที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ตามปกติ
3. กรณีใช้สิทธินำเข้าวัตถุดิบตามาตรา 36(1) จะต้องผลิตเพื่อส่งออกโดยตรง หรือจำหน่ายให้กับบริษัทที่ได้รับส่งเสริมเพื่อส่งออกทางอ้อม และรับหลักฐานการส่งออก (report-v) เพื่อตัดบัญชีวัตถุดิบต่อไปครับ
ขอโทษค่ะ ที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ขอเพิ่มเติมข้อมูลดังนี้ค่ะ
บริษัท A ไม่ได้รับการส่งเสริม
บริษัทรับจ้างผลิตเป็นผู้นำเข้า และใช้สิทธิบริษัทในการนำเข้า (บริษัทรับจ้างผลิตเป็น Importer ในใบขนจะแสดงชื่อบริษัทเป็นผู้นำเข้า) โดยบริษัท A จะโอนสิทธิการนำเข้าให้กับบริษัทรับจ้างผลิต
บริษัท A เป็นผู้ส่งออก โดยสลักหลังใบขนขาออกโอนสิทธิ ให้กับบริษัทรับจ้างผลิต เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดวัตถุดิบในระบบ RMTS
สรุปคำถามคือ
A (non-BOI) จ้างให้ B (BOI) ผลิตสินค้า โดย A จัดหาวัตถุดิบจากต่างประเทศมาให้ B โดย B มีสถานะเป็นผู้นำเข้า (คือ Bill to A, Ship to B)
เมื่อผลิตเสร็จ A จะรับสินค้านั้นไปส่งออก และสลักหลังใบขนขาออกเพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ B
ตอบคำถามตามนี้ครับ
1. สินค้าที่ B (BOI) รับจ้างผลิต ต้องเป็นสินค้าตามบัตรส่งเสริม และมีขั้นตอนการผลิตครบตามที่ได้รับส่งเสริม จึงจะใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้
2. หาก B เป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก ต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวด้วย เนื่องจากจะเข้าข่ายการรับจ้างให้บริการทำของ
3. กรณีเป็นการส่งออกทางอ้อมตามที่สอบถาม
แนะนำให้ A ยื่นขอรับการส่งเสริมในข่าย ITC เพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36
ซึ่งเมื่อ B จำหน่ายให้ A และ A นำไปส่งออก A ก็จะสามารถโอนสิทธิตัดบัญชีให้ B ด้วย report-v ตามขั้นตอนการปฏิบัติในการใช้สิทธิมาตรา 36 ของ BOI ได้
4. ส่วนกรณีที่ A สลักหลังเพื่อโอนสิทธิให้ B นำไปตัดบัญชี ขอไม่ตอบบนหน้าเว็บบอร์ดครับ