ขอสอบถามการควบคุมวัตถุดิบ ทั้งกรณีนำเข้าและซื้อในประเทศ ดังนี้
1. ต้องแยก physical ของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นมั้ยคะ (แยก warehouse หรือแยกบริเวณภายใน warehouse เดียวกัน)
2. ในทางบัญชีต้องแยกวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นของ BOI จาก Non-BOI มั้ยคะ เพราะเหมือนจะต้องยื่นให้กับทาง BOI ทุกปี
3. หากซื้อในประเทศ มีข้อกำหนดมั้ยว่าต้องซื้อกับใครได้บ้าง
จากคุณ Pak....
ขอตอบคำถามดังนี้
1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะต้องแยกเก็บทางกายภาพ โดยต้องโดยไม่นำไปรวมกับวัตถุดิบที่ซื้อในประเทศ หรือชำระภาษี หรือใช้สิทธิอื่น แม้จะเป็นรายการวัตถุดิบเดียวกันก็ตาม
เนื่องจากตามหลักการ วัตถุดิบที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี กับที่ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้
เช่น ไม่สามารถนำวัตถุดิบที่ยกเว้นภาษีไปจำหน่ายในประเทศก่อน จากนั้นจึงนำเข้าวัตถุดิบโดยชำระภาษี เพื่อมาทดแทน/ชดเชย ส่วนที่นำไปจำหน่ายในประเทศ
ดังนั้น จึงต้องมีการแยกจัดเก็บให้ชัดเจน ไม่ปะปนกัน
2. ในทางบัญชี เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ชำระภาษี กับยกเว้นภาษี ต้นทุนไม่เท่ากัน จึงเข้าใจว่าต้องแยกควบคุมด้วยเช่นกัน (ไม่ใช่ข้อกำหนดของ BOI แต่เป็นเรื่องหลักการทำบัญชี)
3. การซื้อวัตถุดิบ ทั้งกรณีนำเข้าและซื้อในประเทศ ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องซื้อจากใคร ครับ
รบกวนปรึกษาและขอคำแนะนำค่ะ
คำถาม
บ. นำเข้าวัตถุดิบมาโดยใช้สิทธิ ม.36 เพื่อผลิตและส่งออก ภายใต้สิทธิ BOI
แต่ต่อไปจะเปลี่ยนมาซื้อวัตถุดิบบางตัวในประเทศ โดย NON BOI
และผลิตขายส่งออกและขายในประเทศ ภายใต้สิทธิ BOI
สินค้า 1 รายการจะประกอบด้วยวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ ม.36 และ ไม่ใช้สิทธิ BOI จะสามารทำได้ไหมคะ
ซึ่งจะเคลียร์ Balance ของวัตถุดิบรายการนั้นให้เป็น 0 ก่อน ค่ะ
สูตรการผลิตตามความหมายของ BOI มีไว้เพื่อควบคุม/ตรวจสอบ ชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า
ดังนั้น สูตรการผลิตที่ยื่นต่อ BOI จึงอาจจะมีเฉพาะวัตถุดิบรายการที่ใช้สิทธิ หรือ จะรวมถึงวัตถุดิบที่ไม่ใช้สิทธิด้วยก็ได้
กรณีที่สอบถาม
สมมุติว่า สูตรการผลิตของบริษัท มีวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ 2 รายการ คือ A และ B
แต่ต่อมาบริษัทสามารถจัดซื้อวัตถุดิบ B ได้ภายในประเทศ จึงไม่ต้องใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ B
บริษัทสามารถดำเนินการได้หลายวิธี ดังนี้
1. แก้ไขสูตรการผลิต (กรณีใช้ชื่อโมเดลเดิม)
- ให้ยื่นแก้ไขสูตรการผลิต (โมเดลเดิม เพิ่ม revision ใหม่) เพื่อเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
เพื่อเปลี่ยนการใช้วัตถุดิบจาก A และ B เป็น A
- ในการตัดบัญชี สามารถเลือกใช้ revision เดิม หรือ revision ใหม่ ก็ได้
2. ขออนุมัติสูตรใหม่ (กรณีชื่อโมเดลเปลี่ยนไปจากเดิม)
- สูตรใหม่ จะมีรายการวัตถุดิบเฉพาะ A
- ในการตัดบัญชี ต้องตัดให้ตรงสูตรการผลิตของโมเดลที่ส่งออก
3. ไม่ต้องแก้ไขสูตร
- จะตัดบัญชีวัตถุดิบรายการ B ติดลบ เนื่องจากซื้อในประเทศ จึงไม่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิ
- ยอดติดลบให้ทำการโอนสิทธิแบบ non-BOI ให้กับตนเอง ครับ