FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / ภาพรวม
การใช้สิทธิมาตรา36
1 - 15 จาก 15 คำตอบ
page: 1/1
mitsuwa เมื่อ 20 มค 59, 18:11 น.

กรณีบริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ 7.6 ITC  ซื้อชิ้นส่วนมาตรวจสอบ บรรจุ ส่งขาย อย่างนี้ต้องใช้สิทธิตามาตรา 36 (1) หรือ 36 (2) 

 

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 21 มค 59, 09:19 น. #1

ของที่นำเข้า มีการผ่านขบวนการตามที่ได้รับส่งเสริม

จึงใช้สิทธิมาตรา 36(1) ครับ

SS เมื่อ 4 มิย 62, 17:08 น. #2

เรียน แอดมินเว็บบอร์ด IC

ทางบริษัทได้รับการส่งเสริม ITC ต้องการนำเข้า "น้ำแข็งแห้ง" เพื่อนำมาขายให้กับบริษัทลูกค้าในประเทศเอาไว้ใส่ในสินค้าของลูกค้าเพื่อป้องกันความชื้น โดยยังไม่แน่ใจว่าสินค้าดังกล่าวจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือขายในประเทศ

สอบถามดังนี้ค่ะ

  1. กรณีดังกล่าวสามารถขอยื่นขอสูตรการผลิตในบัตรส่งเสริม ITC ได้หรือไม่
  2. หากสามารถใช้ขอยื่นสูตรได้ การนำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36(1) สามารถสั่งปล่อยใน IC online ได้เลยหรือไม่ 
  3. วิธีการตัดบัญชีจะสามารถตัดได้อย่างไร (กรณีที่ลูกค้าซื้อน้ำแข็งแห้ง และไม่ได้มีการส่งออกต่างประเทศ)

ขอแสดงความนับถือ

SS

ADMIN เมื่อ 5 มิย 62, 14:41 น. #3

ขอสอบถามเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตอบคำถามดังนี้ครับ

1.นำแข็งแห้ง มีผลิตในปรเทศ เหตุใดจึงจำเป็นต้องนำเข้า (มาตรา 36 ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบที่มีผลิตในประเทศ)

2.จะพิสูจน์ปริมาณนำเข้าและส่งออกน้ำแข็งแห้งได้อย่างไร เนื่องจากอาจมีการะเหิดเป็นก๊าซ

040266 เมื่อ 13 กย 62, 15:05 น. #4

เรียน เจ้าหน้าที่ สอบถามคะ

กรณี เรานำวัตถุดิบมาผลิตสินค้าตามสิทธิ BOI  ผลิตส่งออกไปยังต่างประเทศ    แต่   ลูกค้าต่างประเทศแจ้งว่า ต่อไปไม่ต้องส่งสินค้าให้ลูกค้า ไปที่ต่างประเทศ ให้ไปส่งให้กับ Trading ที่ลูกค้าติดต่อในประเทศไทยไว้ โดยเปิดInvoice ซื้อขายปกติ โดยTrading เป็นตัวเเทนในการจัดจำหน่ายในประเทศให้ลูกค้า แบบนี้ถือว่า ผิดเงื่อนไข และไมสามารถมาตัดบัญชีได้ใช่ไหมคะ .

ADMIN เมื่อ 16 กย 62, 11:26 น. #5
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 17 กย 62, 12:04 น.

เว็บบอร์ด FAQ108 ไม่ใช่การตอบคำถามโดยเจ้าหน้าที่ BOI หรือ IC
หากต้องการคำตอบที่เป็นทางการ จะต้องติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ BOI/IC หรือทำหนังสือสอบถามกับหน่วยงานทั้ง 2 โดยตรงครับ


A (BOI) -> B (Trading) -> export to C สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1. กรณี B ได้รับส่งเสริมในกิจการ IPO/ITC

- เมื่อ B ส่งออก ก็ยื่นตัดบัญชีตามหลักเกณฑ์ปกติ และโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
- จากนั้น A นำไฟล์ report-v ที่ได้รับจาก B มาตัดบัญชีต่อไป

2. กรณี B เป็น Trading ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI

- B ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในช่อง เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ BOI (Y)  ในใบขนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของ A  ในช่อง Remark ของสินค้าแต่ละรายการที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
- ต้องระบุชื่อสินค้าส่งออกให้ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อรุ่นของ A
- ฺA จะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบขนที่ B โอนสิทธิมาให้ ผ่านระบบของ IC เพื่อนำมาตัดบัญชีโดยตรงต่อไป ครับ

(* แก้ไขตามตัวสีแดง)

040266 เมื่อ 17 กย 62, 10:14 น. #6

 (BOI) -> B (Trading) -> export to C สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

2. กรณี B เป็น Trading ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI

- B ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในช่อง เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ BOI (Y)  ในใบขนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของ A  ในช่อง Remark ของสินค้าแต่ละรายการที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
- ต้องระบุชื่อสินค้าส่งออกให้ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อรุ่นของ A
- ฺB จะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบขนที่ A โอนสิทธิมาให้ ผ่านระบบของ IC เพื่อนำมาตัดบัญชีโดยตรงต่อไป ครับ

      ถามต่อนะคะ  แล้วถ้า  B ไม่ใช่ BOI ไม่ได้ส่งออกเลย ขายเฉพาะภายในประเทศไทยเท่านั้น  จะต้องทำอย่างไรคะ ถึงจะสามารถตัดบัญชีได้

ADMIN เมื่อ 17 กย 62, 11:00 น. #7

A (BOI) -> B (Trader) -> จำหน่ายในประเทศ

กรณีนี้ A ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตขายให้ B ได้

คือ A ต้องชำระภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบ และนำต้นทุนภาษีไปรวมในราคาที่จำหน่ายให้ B ครับ

040266 เมื่อ 17 กย 62, 11:34 น. #8
 

2. กรณี B เป็น Trading ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI

- B ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในช่อง เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ BOI (Y) คือ  Y – ใบขนสินค้าขาออกเร่งด่วน (Express)  ในใบขนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ใช่ไหมคะ

- ฺB จะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบขนที่ A โอนสิทธิมาให้ ผ่านระบบของ IC เพื่อนำมาตัดบัญชีโดยตรงต่อไป ครับ

        B จะต้องจะต้องโหลดข้อมูล ผ่านระบบ IC  มาตัดบัญชี ขั้นตอนจะต้องติดต่ออย่างไรกรณีทำครั้งเเรก ซึ่งB ไม่เคยติดต่อ IC เพราะไม่ใช่ BOI

 

ADMIN เมื่อ 17 กย 62, 12:09 น. #9

1. เนื่องจากซอฟต์แวร์ของบริษัทผู้ส่งออกแต่ละราย อาจไม่เหมือนกัน -> สรุปว่า ให้ระบุการใช้สิทธิ BOI ในใบขนขาออกอิเล็กทรอนิกส์

2. ได้แก้ไข A กับ B ในคำตอบที่ 5 ตามตัวสีแดงแล้วครับ

Chihiro เมื่อ 9 สค 64, 15:27 น. #10

เรียน Admin,

ขอรบกวนสอบเรื่องการยื่นขอใช้สิทธิมาตรา 36 ค่ะ หากบริษัท อยู่ระหว่างยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน กิจการประเภท ุ6.1 เคมีพื้นฐาน มีการกรอกใน application ว่า มีการนำเข้า raw mater มาจากต่างประเทศ

กรณีที่ boi ให้การส่งเสริม บริษัทจะสามารถใช้สิทธิ ตามมาตรา 36 ได้กี่ปีค่ะ และ จะขอใช้สิทธิได้เมื่อไหร่

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 9 สค 64, 16:55 น. #11

1. จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 เป็นเวลา 1 ปี และเมื่อสิ้นสุดสิทธิ จะได้รับขยายเวลาครั้งละ 2 ปี

2. สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้ หลังจากบริษัทได้รับบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีรายการปริมาณสต็อกวัตถุดิบ (Max Stock) แล้ว ครับ

Chihiro เมื่อ 9 สค 64, 17:35 น. #12

ขอบคุณมากค่ะ

Chihiro เมื่อ 10 สค 64, 11:42 น. #13

เรียน Admin,

ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ในกรณีที่บริษัทนำเข้า raw material มา 1 lot โดยใช้สิทธิ BOI มาตรา 36 

นำเข้ามาผลิต  แล้ว มีทั้งส่งออกไปต่างประเทศ และ ขายในประเทศ คำถามคือ ส่วนที่ขายในประเทศ จะต้องเสียภาษีอะไรบ้างคะ ตามความเข้าใจน่าจะต้องเสียภาษีขาย 7 %

แล้วถ้าอากรขาเข้าของตัว raw mat นี้ อยู่ที่ 10% บริษัทจะต้องจ่ายอากรขาเข้าย้อนหลังอีกหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 10 สค 64, 16:46 น. #14

กรณีที่บริษัทนำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36

แต่ต่อมาจะนำวัตถุดิบนั้นไปผลิตจำหน่ายในประเทศ โดยไม่ส่งออก

จะต้องยื่นขอชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)

รายละเอียดตาม Link ครับ

Chihiro เมื่อ 10 สค 64, 17:40 น. #15

ขอบคุณมากค่ะ