เนื่องจากบริษัทได้รับสิทธิและโปรโยชน์ จาก คณะส่งเสริการการลงทุน เกี่ยวกับได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีมูลค่าไม่เกิน 23,600,000 บาท ซึ่งจะปรับเปลี่ยนตามจำนวนเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และเงินทุนหมุนเวียน ที่แท้จริง ในวันเปิดดำเนินการ
ขอถามดังต่อไปนี้
1. ถ้าในวันเปิดดำเนินการมีการลงทุนที่แท้จริง 30,000,000 บาท ซึ่งมากกว่า 23,600,000 บาท มูลค่าที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเปลี่ยนไปเป็น 30,000,000 บาท หรือไม่ ?
2. ถ้าในวันเปิดดำเนินการมีการลงทุนที่แท้จริง 20,000,000 บาท ซึ่งน้อยกว่า 23,600,000 บาท มูลค่าที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเปลี่ยนไปเป็น 20,000,000 บาท หรือไม่ ?
3. จำนวนเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และเงินทุนหมุนเวี่ยนที่แท้จริง มาจาก
3.1 ค่าก่อสร้างรวมถึงค่าต่อเติมหรือปรับปรุง กรณีทีมีโครงการอื่นที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ด้วย จะมีวิธีแบ่งค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร?
3.2 กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน ให้ใช้ค่าเช่าตามสัญญาการเช่า (ระยะเวลาการเช่าต้องมากกว่า 3 ปี) ถ้าในสัญญาเช่าระบุไว้ไม่ถึง 3 ปี ไม่สามารถนำมาใช้ได้ใช่หรือไม่ ?
3.3 ถ้าในสัญญาการเช่าระบุไว้เป็นระยะเวลากี่ปีก็สามารถนำมาค่าเช่าระบุตามระยะเวลาการเช้าทั้งหมดคิดเป็นเงินลงทุนได้ใช่หรือไม่ ?
3.4 กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน และมีโครงการอื่นที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ด้วย จะมีวิธีแบ่งค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร?
3.5 กรณีถ้าในสัญญาเช่าระบุทั้งค่าบริการและค่าเช่า สามารถนำค่าบริการที่ระบไว้ในสัญญาเช่ามาคิดเป็นเงินลงทุนได้ใช่หรือไม่ ?
ขอตอบตามนี้ครับ
1. ถ้าในวันเปิดดำเนินการมีการลงทุนที่แท้จริง 30,000,000 บาท ซึ่งมากกว่า 23,600,000 บาท มูลค่าที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเปลี่ยนไปเป็น 30,000,000 บาท หรือไม่ ?
ตอบ จะปรับให้เป็น 30,000,000 บาท
2. ถ้าในวันเปิดดำเนินการมีการลงทุนที่แท้จริง 20,000,000 บาท ซึ่งน้อยกว่า 23,600,000 บาท มูลค่าที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเปลี่ยนไปเป็น 20,000,000 บาท หรือไม่ ?
ตอบ จะปรับให้เป็น 20,000,000 บาท
3. จำนวนเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และเงินทุนหมุนเวี่ยนที่แท้จริง มาจาก
3.1 ค่าก่อสร้างรวมถึงค่าต่อเติมหรือปรับปรุง กรณีทีมีโครงการอื่นที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ด้วย จะมีวิธีแบ่งค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร?
ตอบ ใช้วิธีปันค่าใช้จ่ายตามสัดส่วนการใช้พื้นที่ หรือตามสัดส่วนรายได้ ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของสรรพากร
3.2 กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน ให้ใช้ค่าเช่าตามสัญญาการเช่า (ระยะเวลาการเช่าต้องมากกว่า 3 ปี) ถ้าในสัญญาเช่าระบุไว้ไม่ถึง 3 ปี ไม่สามารถนำมาใช้ได้ใช่หรือไม่ ?
ตอบ ถูกต้อง
3.3 ถ้าในสัญญาการเช่าระบุไว้เป็นระยะเวลากี่ปีก็สามารถนำมาค่าเช่าระบุตามระยะเวลาการเช้าทั้งหมดคิดเป็นเงินลงทุนได้ใช่หรือไม่ ?
ตอบ ปกติ BOI จะคำนวณเงินลงทุนให้จากมูลค่าเช่าตามอายุสัญญาเช่าที่จดทะเบียน เช่น ถ้าจดทะเบียนเช่า 5 ปี ก็จะคำนวณค่าเช่า 5 ปี ให้เป็นเงินลงทุนของโครงการ
แต่จะมีประเด็นว่า หากจดทะเบียนเช่าเกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะพิจารณาอย่างไร เช่น บริษัทได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี แต่จดทะเบียนเช่า 30 ปี กรณีนี้น่าจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ BOI ซึ่งหากพิจารณาจากความสมเหตุสมผล ก็อาจคำนวณเงินลงทุนจากมูลค่าเช่า 7 ปี เท่ากับระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
หากได้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องนี้ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
3.4 กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน และมีโครงการอื่นที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ด้วย จะมีวิธีแบ่งค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร?
ตอบ ใช้วิธีปันส่วนตามข้อ 3.1
3.5 กรณีถ้าในสัญญาเช่าระบุทั้งค่าบริการและค่าเช่า สามารถนำค่าบริการที่ระบไว้ในสัญญาเช่ามาคิดเป็นเงินลงทุนได้ใช่หรือไม่ ?
ตอบ ใช้มูลค่าตามสัญญาเช่าอสังหาฯที่จดทะเบียน ไม่นับรวมค่าบริการ และหากเป็นสัญญาเช่าอสังหาฯ+ที่ดิน จะไม่นับรวมในส่วนของที่ดิน ครับ
ขอเพิ่มเติมข้อมูลของคำตอบข้อ 3.3
การคำนวณเงินลงทุนตามสัญญาเช่าที่มากกว่า 3 ปี จะคำนวณให้ตามอายุสัญญาเช่าที่จดทะเบียน แต่ไม่เกินระยะเวลาการยกเว้นภาษีนิติบุคคลที่บริษัทได้รับ เช่น
1. บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี จดทะเบียนสัญญาเช่า 5 ปี
- กรณีนี้จะคำนวณเงินลงทุนให้ตามอายุสัญญาเช่า คือ 5 ปี
2. บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี จดทะเบียนสัญญาเช่า 30 ปี
- กรณีนี้จะคำนวณเงินลงทุนให้ไม่เกินระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ คือคำนวณตามมูลค่าเช่าเป็นเวลา 7 ปี ครับ
ขอบคุณมากค่ะ