กรณีแก้ไขกรรมวิธีการผลิต
บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ6.9 ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์
โดยมีกรรมวิธีการผลิตดังนี้ค่ะ
1. นำเม็ดพลาสติกผ่านเครื่องฉีดพลาสติก ตามรูปแบบที่ต้องการ
2. ตัดชิ้นงานพลาสติกตามรูปแบบที่ต้องการ
3. ประกอบชิ้นงานกับโลหะ บางส่วนพิมพ์ บางส่วนพ่นสี
4. ตรวจสอบ และ บรรจุ
ปัจจุบันบริษัทมีความต้องการจะส่งชิ้นงานที่บริษัทผลิตโดยการฉีด บางส่วนส่งไปพ่นสี ยังบริษัท C และจะซื้อกลับมาบางส่วน พิมพ์ , ประกอบ และบรรจุส่งขาย บางส่วน พิมพ์ และ บรรจุส่งขายเลย กรณีนี้รบกวนขอคำแนะนำในการขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตด้วยค่ะ
และในการสั่งซื้อ หรือ นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อมาประกอบนอกจากโลหะ ที่ระบุในมติแล้ว
บริษัทยังมีรายการต่อไปนี้ด้วย
สายยาง, ฟองน้ำ, เทปกาว, ชิ้นส่วนพลาสติก, สปิง, สกรู, แผ่นฟิล์ม
อย่างนี้ต้องขอแก้ไขด้วยหรือไม่
ขอบคุณมากค่ะ
ในการกรอกแบบฟอร์บในหัวข้อ ผลการดำเนินการที่ผ่านมา ต้องใส่ปีล่าสุดที่ผ่านมา กี่ปีค่ะ
ตอบเรื่องแก้ไขกรรมวิธีผลิต
1. บริษัทมีขั้นตอน "บางส่วนพ่นสี" อยู่ในขั้นตอนที่ 4 อยู่แล้ว แต่ที่สอบถามมา น่าจะหมายถึงจะขอนำชิ้นส่วนที่ฉีและตัดเสร็จ ในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไปว่าจ้างพ่นสีด้วย
- สามารถแก้ไขกรรมวิธีเพื่อให้มีการว่าจ้างพ่นสีได้ด้วย
- อาจขอแก้ไขขั้นตอนที่ 2 เป็น "ตัดชิ้นส่วนพลาสติกตามรูปแบบที่ต้องการ บางส่วนนำไปว่าจ้างพ่นสี"
2. การว่าจ้างไม่ใช่การขาย ชิ้นงานยังเป็นของเรา ไม่ต้องใช้คำว่า "ซื้อกลับมา"
3. ชิ้นส่วนที่ว่าจ้างพ่นสี จะนำกลับมาประกอบกับชิ้นงานโลหะตามขั้นตอนที่ 3 ต่อไป ใช่หรือไม่
- หากใช่ ก็แก้ไขเฉพาะขั้นตอนที่ 2 ส่วนขั้นตอนอื่น ไม่น่าจะต้องแก้ไขอะไร
- หากไม่ใช่ ก็สรุปกรรมวิธีที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน และบรรยายในคำขอแก้ไขโครงการให้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจอย่างถูกต้อง
4. ขั้นตอนที่ 3 ระบุว่าให้ "ประกอบชิ้นงานกับโลหะ" ก็ต้องประกอบกับโลหะ
- หากจะประกอบกับชิ้นส่วนอื่น ก็ต้องแก้ไขกรรมวิธีผลิตให้ครอบคลุม เช่น "ประกอบชิ้นงานกับชิ้นส่วนโลหะ หรือชิ้นส่วนอื่น เช่น สายยาง ฟองน้ำ เทปกาว เป็นต้น" ครับ
5. ข้อมูลผลประกอบการที่ผ่านมา ปกติควรกรอก 3 ปี ครับ
ขออธิบายเพิ่มเติมค่ะ เกี่ยวกับชิ้นส่วนที่พ่นสียังบริษัทอื่น
1.ขอยกตัวอย่างน่ะค่ะ
บริษัท A ฉีดงาน และขายไปยังบริษัท B
บริษัทB นำไปพ่นสี และขายคืนให้บริษัท A
ในลักษณะถือเป็นการว่าจ้างหรือเปล่าค่ะ
2. ในบัญชีปริมาณสต๊อก (MML) มีบางกรุ๊ปเป็น ชิ้นส่วนพลาสติก (เช่นปุ่มกดพลาสติก)ที่บริษัทนำเข้ามาเพื่อประกอบกับผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติกของบริษัท(หน้ากากเครื่องเสียงรถยนรต์)
อย่างนี้เราต้องขอแก้ไขเป็นกรณีนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปด้วยหรือไม่ค่ะ
1. หากมีการขายไป แล้วซื้อกลับมา
- ไม่เป็นการว่าจ้าง เพราะสินค้าเปลี่ยนความเป็นเจ้าของไปแล้ว
- หากใช้วิธีนี้จะมีปัญหาคือจะไม่ตรงกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ คือมีการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และมีการซื้อชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในโครงการ
- ปกติควรเป็นการว่าจ้าง คือ A จ่ายเงินค่าจ้างพ่นสีให้ B ไม่ใช่การขายไปแล้วซื้อกลับ
2. ดูจากกรรมวิธีการผลิตที่บริษัทแจ้งมา มีแต่ขั้นตอนการประกอบกับชิ้นส่วนโลหะเท่านั้น
ดังนั้น การได้รับอนุมัติรายการ "ชิ้นส่วนพลาสติก (เช่น ปุ่มกด)" อยู่แล้วใน MML จึงไม่น่าจะถูกต้อง
กรณีนี้จะเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรงว่า ควรแก้กรรมวิธีการผลิตให้เป็นอย่างไร จะได้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบที่ต้องการได้ครบ
บริษัทซื้อวัตถุดิบ BOI แล้วฉีดขายไปให้A เพื่อพ่นสีแบบ Non BOI
ซื้อกลับมาแบบ Non BOI
และขายให้C แบบ BOI
เช่นนี้ผิดเงื่อนไขหรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
คุณ mitsuwa ถามแบบนี้ ตอบลำบากนะครับ
มันต่อจากคำถามไหน หรือเริ่มถามใหม่ หรืออะไรอย่างไร
ถ้าจะถามว่าผิดเงื่อนไขไหม ต้องบอกเงื่อนไขในบัตรให้ครบก่อน แล้วจึงบอกว่าจะทำสิ่งที่แตกต่างจากบัตรส่งเสริมอย่างไร
จึงจะให้คำตอบได้
การตอบคำถาม ผู้ตอบไม่สามารถย้อนกลับไปดูข้อเท็จจริงในคำตอบเก่าๆได้ แล้วคิดเองเออเองว่า คงจะต่อเนื่องกัน
ดังนั้น ขอให้ผู้ถาม ตั้งคำถามให้สมบูรณ์ด้วยครับ
บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ6.9 ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์
โดยมีกรรมวิธีการผลิตดังนี้ค่ะ
1. นำเม็ดพลาสติกผ่านเครื่องฉีดพลาสติก ตามรูปแบบที่ต้องการ
2. ตัดชิ้นงานพลาสติกตามรูปแบบที่ต้องการ
3. ประกอบชิ้นงานกับโลหะ บางส่วนพิมพ์ บางส่วนพ่นสี
4. ตรวจสอบ และ บรรจุ
แต่หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบ(BOI)มาฉีดงานขาย (Non BOI) ไปยังบริษัท B และ Bพ่นสี ขายคืนให้ A เป็น Non BOI และ A นำมาพิมพ์ประกอบขายให้ C เป็น BOI
เช่นนี้ ถือเป็นการซื้อ-ขายชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป จะต้องแก้ไขโครงการอย่างไรค่ะ
ประเด็นที่สอบถาม ไม่สามารถทำได้
1. การฉีดชิ้นส่วนและขายเป็น Non-BOI ให้กับ B หมายความว่า A จะไม่ใช้เครื่องฉีดของโครงการ BOI และจะไม่ใช้สิทธิวัตถุดิบ ม.36 ใช่หรือไม่
- ถ้าใช้เครื่องฉีด หรือใช้สิทธิ ม.36 ก็เป็นสินค้า BOI แต่จะเป็นการจำหน่ายสินค้าที่ผิดเงื่อนไข
2. การซื้อชิ้นส่วนพลาสติกพ่นสี จาก B ทำไม่ได้
- ตามโครงการ A ต้องฉีดพลาสติกเป็นชิ้นส่วนขึ้นเอง ไม่ใช่การซื้อชิ้นส่วนพลาสติกจากผู้อื่น การซื้อชิ้นส่วนพลาสติกจาก B จึงเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่ว่า B จะซื้อชิ้นส่วนนั้นมาจาก A หรือไม่ก็ตาม เพราะการซื้อขายทำให้ขาดช่วงกันไปแล้ว
----------------------------------
หาก A จะมีการให้ B พ่นสี
แนะนำให้ใช้วิธีว่าจ้าง โดย A ต้องแก้ไขกรรมวิธีผลิตให้มีการว่าจ้างพ่นสีด้วยครับ
เครื่องฉีดของบริษัททุกเครื่องนำเข้าโดยใช้สิทธิ์ BOI สามารถใช้ผลิตสินค้า Non BOI ได้หรือไม่ค่ะ
เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ ม.28, 29 จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากโครงการไม่ได้ ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาต
คำว่าสินค้า non BOI ไม่ใช่คำที่มีนิยามชัดเจน ไม่แนะนำให้ใช้คำนี้ในการศึกษาหลักเกณฑ์ครับ
เครื่องฉีดของบริษัททุกเครื่องนำเข้าโดยใช้สิทธิ์ BOI สามารถใช้ผลิตสินค้า ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่เสียภาษี (ไม่ได้ใช้สิทธิ์ BOI) ได้หรือไม่ค่ะ
ในการดูบัตรส่งเสริม จะต้องแยกเป็นเรื่องๆคือ
1. เงื่อนไขในการส่งเสริม
- เป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด หากปฏิบัติผิดเงื่อนไข อาจถูกการเพิกถอนสิทธิบางส่วน หรือทั้งหมด หรือเพิกถอนบัตร
2. สิทธิประโยชน์
- เป็นสิ่งที่บริษัทสามารถเลือกได้ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ หากจะใช้ ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขว่าด้วยการใช้สิทธิ (เป็นคนละส่วนกับเงื่อนไขในการส่งเสริม)
-----------------------------------------------
กรณีคุณ mitsuwa
- เครื่องจักรนำเข้ามาโดยใช้สิทธิ BOI
- เงื่อนไขของเครื่องจักรที่ใช้สิทธิ กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม หน้า 4(?) เงื่อนไขทั่วไป ข้อ 3.2 คือ ต้องใช้เฉพาะกิจการตามบัตรส่งเสริม
สินค้าที่ผลิต จะใช้สิทธิวัตถุดิบหรือไม่ ในกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็น
สินค้าที่จะนำเครื่องจักรที่ได้รับสิทธิ BOI ไปใช้ผลิต ต้องเป็นสินค้าตามบัตรส่งเสริม ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับส่งเสริมครับ
กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานฯ ในขั้นตอน "ประกอบกับอุปกรณ์โลหะหรือชิ้นส่วนอื่นๆที่ผลิตในโครงการ หรือประกอบกับชิ้นส่วนพลาสติกที่นำเข้าจากผู้ผลิตรายอื่น"
จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่เพราะ โลหะและชิ้นส่วนอื่น ไม่ได้ผลิตในโครงการ แต่มีการซื้อมาเพื่อประกอบกับชิ้นงานที่ผลิตในโครงการ
คำถามมันเริ่มวนแล้วนะครับ
ขอสรุปเฉพาะหลักการคือ จะต้องผลิตตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม
ดังนั้น ถ้าอ่านกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม แล้วงง แนะนำให้เข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท
และถ้ายังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน ก็ให้ทำหนังสือสอบถามอย่างเป็นทางการ
--------------------------------------------------------------
ผมเข้าใจว่า ที่คุณ mitsuwa พยายามจะสอบถามคือ โครงการนี้ได้รับอนุมัติกรรมวิธีโดยมีขั้นตอนฉีดพลาสติก และนำไปประกอบชิ้นส่วนอื่น (รวมถึงชิ้นส่วนพลาสติกที่ไม่ได้ฉีดขึ้นเอง)
ถ้ากรรมวิธีเขียนอย่างนี้จริงๆ ก็น่าจะถือว่า ขาดความชัดเจน
เพราะจะไม่ทราบว่า ชิ้นส่วนพลาสติกรายการใดควรฉีดขึ้นเอง และรายการใดสามารถซื้อชิ้นส่วนพลาสติกที่ฉีดขึ้นรูปแล้ว มาใช้ได้
อย่างที่เคยแจ้งไปแล้วคือ กิจการหมวด 6.12 ถือว่าการฉีดพลาสติก เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังนั้น จึงต้องคุยกับเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนครับ
ถ้าได้รับอนุมัติกแก้ไขกรรมวิธีการผลิตแล้ว ต้องนำบัตร BOI ตัวจริงไปแก้ไขด้วยหรือไม่คะ
การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ปกติไม่ต้องนำบัตรส่งเสริมไปติดต่อแก้ไข
เนื่องจากในบัตรส่งเสริมเดิม ก็ไม่ระบุกรรมวิธีการผลิตอยู่แล้ว
(กรรมวิธีการผลิตจะระบุในหนังสือแจ้งมติการให้ส่งเสริม)
แต่กรณีที่มีการแก้ไขกรรมวิธีผลิต พร้อมกับแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ หรืออื่นๆ
ต้องนำบัตรส่งเสริมไปติดต่อแก้ไข
วิธีตรวจสอบ ให้ดูจากหนังสือแจ้งมติอนุมัติให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต
หากไม่มีข้อความระบุให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ก็ไม่ต้องนำไปแก้ไขครับ
ขอบคุณค่ะ
ยินดีครับ
ขออนุญาติสอบถามเพิ่มเติมนะคะ
และถ้าในกรณีกรรมวิธีการผลิตแบบเดิม มีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนตามด้านล่างนี้ แต่ใช้กระบวนการละเครื่อง
1. Cutting
2. Grinding
3. Forming
4. Packing
ถ้าในอนาคตข้างหน้า จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เพื่อที่จะสามารถ ทำกระบวนการที่1และ3 ออกมาเป็นชิ้นงานได้ในเครื่องเดียวกัน
จำเป็นที่จะต้องขอแก้ไขโครงการหรือไม่คะ
ขอบคุณมากค่ะ
New Gen
สามารถทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขโครงการ
แต่กำลังการผลิตยังคงต้องเป็นเท่าเดิมครับ