FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / ส่วนสูญเสีย และเศษซาก
วัตถุดิบทดแทนที่เสียหาย
1 - 3 จาก 3 คำตอบ
page: 1/1
unknown เมื่อ 20 พค 58, 15:51 น.

ขอสอบถามนะครับถ้ามีวัตถุดิบBOI เสียหาย แต่บริษัทนำเข้ามาทดแทนโดยการเสียภาษีเข้ามาแบบนี้ต้องทำเรื่องทำลายหรือไม่เพราะบริษัทใช้ชิ้นส่วนทดแทนที่เสียภาษีเข้ามา

ADMIN เมื่อ 20 พค 58, 16:29 น. #1

1. วัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI หากเสียหาย ก็สามารถขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตรได้ตามหลักเกณฑ์

2. ส่วนวัตถุดิบที่นำเข้ามาใหม่ ก็สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้อีก

BOI มีวิธีการช่วยเหลือตามขั้นตอนข้างต้นอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีเหตุผลอะไรที่บริษัทจะเสียภาษีวัตถุดิบเข้ามาเอง

-----------------------------------------------------------------

หรือหากบริษัทต้องการชำระภาษี ก็ควรเป็นการอ้างถึงหนังสือสั่งปล่อยงวดก่อนที่เคยใช้สิทธิ

ไม่ควรเป็นการชำระภาษีในการนำเข้าครั้งต่อไป ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันครับ

unknown เมื่อ 21 พค 58, 09:10 น. #2

1.หากบริษัท มีชิ้นส่วนนำเข้ามาหลายรายการใน 1 ครั้งแต่มีชิ้นส่วนเสียหายเพียง  1 รายการ หากจะทำการทำลาย ก็จะต้องมีค่าใช้จ่าย Survey ซึ่งคำนวณแล้วมีมูลค่ามากกว่ามูลค่ายกเว้น ภาษีสำหรับรายการที่จะนำเข้ามาทดแทน จึงตัดสินใจโดยเสียภาษีนำเข้าเพื่อจะไม่ต้องทำเรื่อง Scrap ทำได้หรือไม่

2. หากมีชิ้นส่วนเสียหายเพียง 1 รายการมีมูลค่าน้อยกว่าค่า Surveyor บริษัทสามารถเก็บรวมหลาย ๆ ครั้งไว้เพื่อให้ Survey มาตรวจสอบ ปีละครั้งได้หรือไม่

3. หากต้องการนำชิ้นส่วนมาทดแทนทรัพย์สินที่เสียหาย ต้องรอให้ทำลายจ่ายภาษีเศษซากก่อนถึงจะนำนำเข้าหรือไม่ (เนื่องจากบริษัทต้องรีบใช้ชิ้นส่วนทดแทนมาทำการผลิต)

 

ADMIN เมื่อ 21 พค 58, 09:54 น. #3

1. หากจะไม่ทำลาย แต่จะชำระภาษี ก็สามารถทำได้

แต่โดยหลักการ ควรนำใบขนที่สั่งปล่อยไปก่อนหน้านี้ มายื่นขอชำระภาษีบางรายการที่ต้องการชำระภาษีคิน

2. สามารถเก็บรวมของที่เสียหาย เพื่อรวมทำลายเพียงครั้งเดียวก็ได้

3. การทำลาย กับการนำเข้ามาทดแทน ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถนำเข้ามาทดแทนได้ โดยการสั่งปล่อยตามปกติ ไม่ต้องรอให้ทำลายเสร็จก่อน

 

คำแนะนำคือ

1. ส่วนที่เสียหาย ให้รวบรวมจนได้ปริมาณมากพอ จึงขอทำลายและตรวจสอบตัดบัญชีในภายหลัง (การเก็บ ให้แยกตามประเภทวัตถุดิบ และลักษณะการเสียหาย)

2. ระหว่างนั้นก็สั่งปล่อยเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้แทนส่วนที่เสียหาย

3. ส่วนที่เสียหายตามข้อ 1 จะมียอดค้างใน balance ใน max stock ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำลายและตัดบัญชีเสร็จ

4. ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษีสำหรับส่วนที่นำเข้ามาใช้แทน แต่หากมีเหตุผลอื่นก็ขึ้นกับการตัดสินใจของบริษัทครับ