ในกรณีที่นำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อกลับมาซ่อมแซม ต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ต้องชำระอากรขาเข้า และหากสามารถทำได้ ระหว่างที่ดำเนินการยังไม่เรียบร้อย สามารถชำระอากรแล้วสงวนสิทธิ์ไว้ก่อนได้หรือไม่
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ สามารถขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง
โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น
แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้การซ่อม
ขั้นตอนคือ
1. ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก เพื่อเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม
2. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC จากนั้น ยื่นสั่งปล่อยเช่นเดียวกับขั้นตอนปกติ
3. ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตจาก BOI จากนั้นนำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC
4. ยื่นตัดบัญชีหลังจากส่งผลิตภัณฑ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ
ระหว่างที่ยื่นแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก สามารถชำระภาษีสงวนสิทธิ์ได้เช่นเดียวกับกรณีการสงวนสิทธิ์วัตถุดิบรายการอื่นๆ ครับ
ขอสอบถามเพิ่มเติมค่ะ ถ้าในกรณีที่ส่งขายให้ลูกค้าที่เป็นเขตปลอดอากร และลูกค้าส่งไปขายต่อยังต่างประเทศ และผู้ที่จะส่งกลับมาให้ซ่อมคือต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในข่ายที่สามารถขออนุมัติได้หรือไม่ค่ะ
A(BOI) -> B(Free Zone) -> C(ต่างประเทศ)
A สามารถนำสินค้าจาก C กลับเข้ามา เพื่อซ่อมแซม แล้วส่งกลับออกไปให้ C โดยขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ได้ครับ
ถ้านำกลับมาจาก C เพื่อซ่อม แต่ซ่อมเสร็จส่งไป B ค่ะ ได้หรือไม่ค่ะ
สามารถทำได้ครับ
หากเป็นการนำสินค้าที่ a ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับเข้ามาซ่อม เพื่อส่งออก ก็สามารถใช้สิทธิได้ครับ
A ไม่ได้ส่งไปต่างประเทศค่ะ A ขายให้ B ที่เป็น Free zone ค่ะ
ถ้าสามารถทำได้ ชื่อที่นำเข้า ชื่อที่ส่งออก และชื่อที่ส่งเข้า Free zone เป็นชื่อเดียวกันได้หรือไม่ค่ะ
ชื่อสินค้าที่นำเข้ามาซ่อม ปกติจะเป็นชื่อเดียวกับที่ส่งออก (หรือส่งไป Free Zone) ครับ
ขอบคุณค่ะ ใช้แบบฟอร์มเดียวกับขอสต็อกวัตถุดิบเลยหรือไม่ค่ะ
การขออนุมัติปริมาณสต็อกสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ใช้แบบฟอร์มเดียวกับการขอแก้ไขสต็อกวัตถุดิบตามปกติ
โดย group no. ให้กำหนดเป็น R00001 ..... ครับ
รบกวนสอบถามเพิ่มจากหัวข้อค่ะ,
1) การนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ และขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้ง โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น, วิธีการนี้เรียกว่าอย่างไรคะ
2) ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI ในการส่งออกครั้งแรก จะสามารถใช้ยกเว้นอากรขาเข้าได้หรือไม่คะ
ตอบคำถามคุณ arunee ดังนี้ครับ
1. ถ้าเรียกรวมๆ ก็คือการขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม
แต่ถ้าจะพูดถึงการขอสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร หรือการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก หรือการขอสูตรการผลิต ฯลฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม ก็จะว่ากันเป็นเรื่องๆไปครับ
2. ใช้สิทธิได้ครับ การขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่ส่งออกไปโดยใช้สิทธิฯ
หากเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ ก็อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก และนำเข้ามาซ่อมโดยใช้สิทธิได้ คือ
- ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
- ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมได้
- ต้องไม่เป็นการรับจ้างซ่อม หรือเป็นการซ่อมสินค้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว ครับ
ขอบคุณค่ะ
ยินดีครับ
รบกวนสอบถาม สินค้านำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งออกไปค่่ะ
- กรณี บริษัท A เป็น ได้ปิดโครงการไปแล้ว เมื่อปลายปี 59 และตอนนี้ลูกค้าแจ้งสินค้ามีปัญหาจะส่งสินค้ากลับคืนมาเพื่อซ่อมแซมและส่งออกไป (สินค้าที่ ลูกค้าใช้ไม่ได้เปิด Invoice ขายตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 59 ก่อนปิดโครงการ ) บริษัทฯ A สามารถนำเข้ามาเพื่อโดยไม่เสียภาษี และผ่าน BOI ได้มั๊ยคะ
- กรณี บริษัท A (non boi) ขายสินค้าให้ ลูกค้า ต่างประเทศ โดย สลักหลัง ใบขน โอนสิทธิให้บริษัท B (BOI) แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพลูกค้าแจ้งคืนสินค้า รบกวนสอบถามว่าบริษัท A ให้ บริษัท B ( BOI) รับภาระในการนำสินค้ากลับมาซ่อมแซมได้มั๊ยคะ
****ขั้นตอนของทั้ง 2 บริษัท มีดังนี้ บริษัท A ได้โอนวัตถุดิบทั้ง หมดไปให้บริษัท B ไปผลิต ก่อนปิดโครงการ // ปัจจุบัน บ.B ได้ขายสินค้า ให้ บ.A ( Non ฺBOI) ซึ่ง บริษัท A เป็นผู้ส่งออก โดยการสลักหลังใบขนขาออก โอนสิทธิ์ ให้บริษัท B นำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ)
ตอบคำถามตามนี้ครับ
1. หากบริษัท A ปิดโครงการ (คงหมายถึงสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ได้รับส่งเสริมแล้ว) ก็ไม่สามารถใช้สิทธิใดๆได้อีก
จึงไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมได้
2.A (Non BOI) ซื้อสินค้าจาก B (BOI) ไปส่งออก แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพ ต้องนำกลับเข้ามาซ่อม
B สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรของ B ได้
เนื่องจากเป็นการซ่อมสินค้าที่ B เป็นผู้ผลิตขึ้นเอง ไม่ใช่การรับจ้างซ่อมสินค้าที่ผลิตโดยผู้อื่นครับ
ขอบคุณมากค่ะ