FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / การทำลายเครื่องจักร
การทำลายแม่พิมพ์
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
mitsuwa เมื่อ 1 ธค 57, 14:51 น.

เนื่องจากบริษัทมีนำเข้าชิ้นส่วนแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิ BOI มาผลิตแม่พิมพ์ และเก็บเงินค่าแม่พิมพ์จากลูกค้า และผลิตงานขายให้ลูกค้า จน หมดรุ่น และต่อมาทางลูกค้าต้องการให้ทำลายแม่พิมพ์ ได้ปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ BOI ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าก่อน 5ปี ต้องมีการดำเนินการให้ได้ใบ certificate จากการInspection อย่างเช่น SGS แต่ทางลูกค้าต้องการทำลายก่อน และอยากทราบค่าใช้จ่ายในการทำลายแแม่พิมพ์

ในกรณีนี้เราจะทราบได้อย่างไร

ADMIN เมื่อ 1 ธค 57, 15:34 น. #1

ขอสรุปข้อเท็จจริงให้ใหม่นะครับ (แต่ถ้าสรุปผิด ช่วยท้วงด้วย)

ข้อเท็จจริง

A ได้รับส่งเสริมผลิตแม่พิมพ์ และชิ้นงานโลหะ

โดย A นำเข้าชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากต่างประเทศมาผลิตเป็นแม่พิมพ์ แล้วจำหน่ายแม่พิมพ์ให้กับ B แต่แม่พิมพ์ยังอยู่ที่โรงงานของ A เพื่อใช้ผลิตชิ้นส่วนโลหะจำหน่ายให้ B

คำถาม

หาก B ต้องการทำลายแม่พิมพ์ จะต้องดำเนินการอย่างไร

คำตอบ

B ซื้อแม่พิมพ์จาก A โดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรอะไร เนื่องจากเป็นการซื้อแม่พิมพ์จากโรงงานในประเทศ

  • หาก B ต้องการทำลายแม่พิมพ์ ก็ทำลายได้โดยไม่ต้องแจ้ง BOI
  • กรณีที่ B ทำลายแม่พิมพ์ก่อนวันตรวจเปิดดำเนินการ B จะนำมูลค่าแม่พิมพ์มาคำนวณเป็นขนาดการลงทุนเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้
  • A ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร เพราะ A ยืมแม่พิมพ์ของ B มาผลิตชิ้นงานให้กับ B (หาก B สั่งให้ A ทำลายแม่พิมพ์ A ก็จะเรียกค่าใช้จ่ายในการทำลายจาก B)

กรณีนี้ ไม่น่ามีประเด็นเรื่องการตรวจสอบโดย inspector เพราะเป็นแม่พิมพ์ที่ผลิตในประเทศ ไม่ใช่แม่พิมพ์ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 28 หรือ 29 ครับ

mitsuwa เมื่อ 1 ธค 57, 16:20 น. #2

A เป็นลูกค้าต่างประเทศของB

แม่พิมพ์ผลิตที่ไทยแต่มีส่วนประกอบที่นำเข้าจากญี่ปุ่นโดยใช้สิทธิBOI ยกเว้นภาษี

ADMIN เมื่อ 1 ธค 57, 17:23 น. #3

ตัวอย่างที่ผมตั้งไว้ให้ คือ A ได้รับส่งเสริมผลิตแม่พิมพ์ ส่วน B คือลูกค้าผู้ซื้อแม่พิมพ์และชิ้นส่วนโลหะจาก A

ขอสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมคือ

- B (ซึ่งเป็นลูกค้าของ A) เป็นบริษัทในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ ??

- A นำส่วนประกอบแม่พิมพ์เข้ามาผลิตเป็นแม่พิมพ์ขายให้กับ B // ขอถามว่า ส่วนประกอบนี้ A นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีด้วยหรือ ใช้สิทธิยกเว้นตามมาตราอะไรครับ ??

=======================================================

หากตัวอย่างข้อเท็จจริงที่ผมเขียนให้ใหม่ ไม่ตรงกับที่คุณ mitsuwa ต้องการจะถาม ขอให้ช่วยสรุปข้อเท็จจริงให้ใหม่อีกครั้ง โดยให้ครอบคลุมข้อมูลที่ผมยกตัวอย่างและสอบถามเพิ่มเติมด้วยครับ

mitsuwa เมื่อ 3 ธค 57, 09:22 น. #4

B เป็นลูกค้า ซึ่งอยู่ต่างประเทศ

A นำเข้าส่วนประกอบจากญี่ปุ่นโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี (นำเข้ามาโดยระบบ emt online)

ซึ่งนำชิ้นส่วน เข้ามาประเทศไทยเมื่อปี 2012 เพื่อประกอบเป็นแม่พิมพ์ และในปีนี้ทางลูกค้าแจ้งให้ทำลายเนื่องจากหมดรุ่นผลิตแล้ว จึงอยากทราบว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ADMIN เมื่อ 3 ธค 57, 10:20 น. #5

บัตรส่งเสริมทุกฉบับ กำหนดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 3.3 ไว้ว่า "จะต้องไม่จำนอง จำหน่าย โอน ให้เช่า หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้เครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า"

กรณีที่สอบถาม บริษัท A จำหน่ายแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ให้กับบริษัท B โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงน่าจะกระทำผิดต่อเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมแล้วครับ