FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / บัญชีเครื่องจักร (Master List)
บัญชีเครื่องจักร MASTER LIST
1 - 13 จาก 13 คำตอบ
page: 1/1
mitsuwa เมื่อ 20 ตค 57, 18:54 น.

บัญชีเครื่องจักร MASTER LIST

เนื่องจากทางเราต้องการขายเครื่องจักร แต่ไม่แน่ใจว่าอยู่ภายใต้ BOI หรือไม่

ซึ่งเจ้าหน้าที่คนเก่าได้ลาออกไป จึงไม่ทราบว่า สามารถขอข้อมูลจาก BOI ได้หรือเปล่าค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 08:08 น. #1

ระบบ eMT Online สามารถตรวจสอบรายงานได้ว่าโครงการนั้นสั่งปล่อยเครื่องจักรอะไรไปแล้วบ้าง ตามหนังสือสั่งปล่อยเลขที่เท่าใด

แต่ข้อมูลนี้ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่า เครื่องจักรที่จะขอจำหน่าย เป็นรายการเดียวกันกับที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI หรือไม่

การขออนุมัติจำหน่ายเครื่องจักร นอกจากจะต้องใช้หลักฐานการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักรแล้ว ยังต้องใช้สำเนาใบขนขาเข้าที่แสดงการใช้สิทธิ BOI ตามเลขที่หนังสือสั่งปล่อยนั้นๆ ดังนั้น บริษัทจึงต้องตรวจสอบจากหลักฐานต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ด้วยครับ

mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 11:11 น. #2
แก้ไขโดย mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 11:36 น.

บริษัทต้องการขายเครื่องจักรในส่วนของการผลิตแม่พิมพ์

เช็คการนำเข้าจากใบขน สำหรับรายการที่ไม่ได้ใช้สิทธ์ยกเว้นภาษี สามารถขายได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุมัติBOI ใช่หรือไม่ค่ะ

และไม่จำเป็นต้องรอครบ 5ปี ด้วยใช่หรือไม่ค่ะ

และไม่ต้องขอตัดบัญชีเครื่องจักรด้วยใช่ไหมค่ะ

และสำหรับเครื่องจักรบางรายการนำเข้าโดยมีหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย แต่มีจ่ายภาษี 5% อันนี้หมายถึงได้รับการลดหย่อนจากภาษีนำเข้าเครื่องจักรใช่หรือไม่ค่ะ และถ้าไม่ได้รับการยกเว้นเราต้องจ่ายภาษีกี่%

ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้จ่ายไปตอนนำเข้าแล้วหากมีการจำหน่ายยังต้องจ่ายเพิ่มให้ทางกรมศุลฯอีกหรือไม่ค่ะ หรือจ่ายแค่ค่าภาษีนำเข้าอย่างเดี่่่ยวค่ะ

และการเปิดดำเนินการ ซึ่งบริษัทจะครบกำหนด ภายใน 18 มกราคม 2558 นี้ จะต้องดำเนินการแก้ไขบัตรส่งเสริมก่อนหรือไม่ เพราะในบัตรส่งเสริม รวมถึงการผลิตแม่พิมพ์ด้วย

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 12:22 น. #3
  1. การจำหน่ายเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้สิทธินำเข้าจาก BOI สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องรอให้ครบ 5 ปี และไม่ต้องยื่นตัดบัญชีเครื่องจักร
    แต่หากเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรหลัก ซึ่งหากจำหน่ายไปแล้วจะทำให้กำลังผลิตลดลง หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตมีไม่ครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ก็จะมีปัญหาตามมาภายหลัง
  2. เครื่องจักรที่มีหนังสือสั่งปล่อย แต่บริษัทจ่ายภาษี 5% แสดงว่าบริษัทได้รับสิทธิลดหย่อนอากรขาเข้ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 29 ซึ่งสิทธินี้จะใช้ได้เฉพาะกรณีที่อากรเครื่องจักรเกินกว่า 10% เท่านั้น
    แต่เครื่องจักรดังกล่าวมีอากรขาเข้า 5% บริษัทจึงไม่ได้ใช้สิทธิการลดหย่อนนอากรขาเข้า แต่คาดว่าบริษัทน่าจะได้ใช้สิทธิการยกเว้น VAT ไป
  3. ลองตรวจสอบใบขนขาเข้า และหลักฐานการชำระภาษีให้ชัดเจนว่า ได้ชำระอากรขาเข้า แต่ไม่ได้ชำระ VAT (ตามที่อธิบายในข้อ 2) หรือว่าได้ชำระทั้งอากรขาเข้าและ VAT (คือไม่ได้ใช้สิทธิสั่งปล่อย)
  4. การเปิดดำเนินการ กำหนดให้สิ้นสุดภายใน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร
    หากต้องการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร เพื่อใช้สิทธินำเข้าแม่พิมพ์ ก็ให้ยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร (ขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี) พร้อมกับขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการออกไปด้วย

ปล. การตั้งคำถามกรณีที่มีหลายเรื่องปนกัน ขอให้แยกเป็นทีละคำถาม และแยกตั้งเป็นคนละกระทู้คำถามให้ตรงกับหมวดหมู่คำถาม โดยอย่านำหลายๆเรื่องมารวมในคำถามเดียวกัน เช่นกระทู้นี้ตั้งไว้ในหมวดหมู่บัญชีเครื่องจักร จึงขอให้สอบถามเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับบัญชีเครื่องจักรเท่านั้นครับ

mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 13:49 น. #4

1. จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง (จากคำตอบข้อ1.)

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 14:05 น. #5

ช่วยให้ข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้ด้วยว่า บริษัทจะจำหน่ายอะไร เมื่อจำหน่ายแล้วจะทำให้เกิดผลอะไรที่คิดว่าไม่ตรงกับเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม

ถ้าตามสั้นๆรวบๆ ก็ไม่รู้จะให้คำแนะนำอย่างไรนะครับ

mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 16:06 น. #6

ตามบัครส่งเสริม ระบุชนิดผลิตภัณฑ์ว่า

-ชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับอุตสาหรรมต่างๆ ปีละประมาณ 900ตัน

-แม่พิมพ์ ปีละประมาณ 30ชุด และการซ๋อมแซมแม่พิมพ์

ในส่วนของเครื่องจักรที่ต้องการจำหน่ายคือเครื่องจักรที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ (อย่างเดียวไม่รวมเครื่องจักรที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก)

เราจะมีวิธีดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับบัตรส่งเสริม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังการจำหน่ายค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 16:11 น. #7

หมายความว่า จะไม่ผลิตแม่พิมพ์แล้วใช่ไหมครับ

หรือจะจำหน่ายเครื่องจักรสำหรับผลิตแม่พิมพ์ไปบางส่วน แต่ยังคงทำการผลิตแม่พิมพ์อยู่ด้วย แต่กำลังผลิตลดลง

อย่างไหนหรือครับ

mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 16:17 น. #8

จะจำหน่ายทั้งหมดในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ค่ะ คือจะไม่่มีการผลิตแม่พิมพ์ค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 17:04 น. #9

หากจะไม่ทำการผลิตแม่พิมพ์อีกต่อไป สามารถยื่นขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตแม่พิมพ์ทั้งหมดโดยชำระภาษีตามสภาพ โดยชี้แจงเหตุผลว่าเนื่องจากจะขอยกเลิกผลิตภัณฑ์คือแม่พิมพ์

และเมื่อจำหน่ายเครื่องจักรและเคลียร์บัญชีวัตถุดิบ (หากมี) เสร็จแล้ว ก็ให้ยื่นแก้ไขโครงการเพื่อยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ เหลือไว้แค่ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติกครับ

fndt เมื่อ 11 ธค 57, 11:00 น. #10
แก้ไขโดย fndt เมื่อ 12 ธค 57, 10:22 น.

บริษัทได้รับสิทธิในการนำเข้าเครื่องจักรใหม่ ภายใน 21 พ.ย. 58 ตามบัตรส่งเสริมกรณีประสบอุทกภัย 5091 อยากทราบว่าบริษัทสามารถจะนำเข้า spare part เพิ่มเติมของเครื่องจักรที่ประสบอุทกภัยและได้ซ่อมแซมไปเรียบร้อยแล้วโดยใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่ (ถ้าได้ ต้องทำ Master List โดยตั้งเป็นเครื่องจักรใหม่กับระบบ Emt online ก่อนหรือไม่ เพราะเดิมที่นำเข้ามาเป็นเครื่องจักรใหม่เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว)

ADMIN เมื่อ 11 ธค 57, 15:44 น. #11

ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณ fndt คือโครงการนี้เคยสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว แต่ต่อมาได้รับอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรอีก 2 ปี เพื่อให้นำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนเครื่องที่เสียหายจากอุทกภัย ใช่ไหมครับ

fndt เมื่อ 12 ธค 57, 10:45 น. #12

ไม่แน่ใจค่ะเนื่องจากสิทธิ์คร่อมกันบางส่วน แต่บริษัทไม่เคยขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเลยค่ะ บัตรส่งเสริมก่อนเกิดอุทกภัยมีระบุให้นำเข้าเครื่องจักรทดแทนไว้ชัดเจนตั้งแต่ 28 พ.ย.2554 ถึง 12 ธ.ค. 2556 และบัตรส่งเสริมที่ออกมาเป็น 5091 ให้นำเข้าเครื่องจักรใหม่ได้ตั้งแต่ 18 มี.ค.2556 ถึง 21 พ.ย.2558 เลยไม่แน่ใจว่าสิทธิ์ที่เหลือบริษัทสามรถใช้อย่างไรได้บ้างคะ จะนำเครื่องจักรใหม่มาเพิ่มเติมในบางกระบวนการผลิตได้หรือไม่ รบกวนเจ้าหน้าที่ชี้แจงหน่อยค่ะ..ขอบพระคุณมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 12 ธค 57, 15:34 น. #13

บัตรส่งเสริมที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 คือ บัตรที่ออกตามมาตรการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย

เช่น โครงการเดิมอาจจะสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว แต่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จึงให้ได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 30 เดือน และกำหนดให้เปิดดำเนินการภายใน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักร

ประเด็นที่สอบถาม น่าจะหมายความว่า บริษัทสามารถขอนำอะไหล่สำหรับเครื่องจักรเดิมที่มีอยู่ในโครงการเดิม เข้ามาเพิ่มเติม ได้หรือไม่

กรณีนี้เข้าใจว่า จะต้องใช้ คำชี้แจงเรื่องแนวทางปฏิบัติตามมาตรการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ตามข้อ 2.1.2 กำหนดไว้ว่า เครื่องจักรในโครงการเก่าที่ยังใช้งานได้ จะต้องโอนย้ายไปยังโครงการที่ขอรับส่งเสริมใหม่ โดยจะคัดข้อมูลเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิจากสมาคม IC และแจ้งรายการต่อ BOI ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริมฉบับใหม่

หากดำเนินการตามที่ BOI ประกาศ เครื่องจักรที่มีอยู่ในโครงการเดิม ก็จะถูกย้ายไปในบัญชีเครื่องจักรของโครงการใหม่ ซึ่งน่าจะขอนำเข้าอะไหล่ของเครื่องจักรส่วนนี้ได้เช่นเดียวกับเครื่องจักรใหม่ที่นำเข้ามาใหม่ภายหลัง

========================================================

ส่วนการนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมในกระบวนการผลิต หากไม่ทำให้กำลังผลิต หรือชนิดผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไป น่าจะทำได้

เนื่องจากในคำชี้แจง ข้อ 5.1 ระบุว่า จะไม่อนุมัติในกรณีเป็นการเพิ่มกำลังผลิต หรือเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ แต่หากเป็นการแก้ไขอื่นๆ สามารถแก้ไขได้ตามเกณฑ์

หากมีคำถามในส่วนแก้ไขโครงการ ขอให้แยกตั้งเป็นกระทู้ใหม่ ในหมวดหมู่แก้ไขโครงการนะครับ