FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การเปิดดำเนินการ / ภาพรวม
การคำนวณขนาดกิจการ สำหรับเปิดดำเนินการ
1 - 11 จาก 11 คำตอบ
page: 1/1
mitsuwa เมื่อ 10 ตค 57, 13:36 น.
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 10 ตค 57, 13:48 น.

การคำนวณขนาดกิจการ สำหรับเปิดดำเนินการ

1.ขั้นตอนการผลิตหลัก ต้องใส่อะไร สามารถดูตัวอย่างการกรอกข้อมูลได้จากที่ไหน? หมายถึงต้องใส่ยังไง คือโครงการนี้ ตั้งแต่ การฉีดงานพลาสติก ---พ่นสีที่ชิ้นงาน---สกีนที่ชิ้นงาน

2.และขั้นตอนการผลิตที่เป็นตัวกำหนดกำลังผลิตของโครงการ คือ ขั้นตอน?

3. ในหัวข้อการเปิดดำเนินการและแก้ไขโครงการ มีช่องสี่เหลี่ยมอยู่4ช่อง หลักเกณฑ์ในการเลือกจะใส่ช่องไหน จะทราบได้อย่างไร

4. อยากได้ตัวอย่าง Process Chart , Machine layout สำหรับเป็น guide line จะหาดูได้จากที่ไหน

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 10 ตค 57, 14:03 น. #1
  1. ขั้นตอนการผลิตหลัก คือขั้นตอนการผลิตที่สำคัญซึ่งบริษัทต้องลงทุนเครื่องจักรให้เพียงพอ
    หากไม่ผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถผลิตเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้
    โครงการที่ได้รับส่งเสริมแต่ละโครงการอาจมีกรรมวิธีการผลิตต่างกัน ขั้นตอนการผลิตหลักจึงต่างกัน
    หากจะคิดว่าเครื่องจักรที่สามารถคำนวณกำลังผลิตได้ เป็นขั้นตอนหลัก ก็ไม่ผิดอะไร
  2. ขั้นตอนการผลิตที่เป็นตัวกำลังผลิตของโครงการ ปกติจะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องผลิต แต่มีกำลังผลิตน้อยกว่าขั้นตอนอื่น จึงเป็นคอขวดที่เป็นตัวกำหนดกำลังผลิต
  3. หัวข้อการเปิดดำเนินการและแก้ไขโครงการ ให้ติ๊กตามข้อเท็จจริง
    ข้อเท็จจริงตอนนี้คืออะไร ช่วยอธิบายให้ทราบก่อนครับ
  4. process chart ก็เพียงนำกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติไปเขียนเป็น chart
    ส่วน machine layout ทางฝ่าย production น่าจะมีอยู่แล้วครับ
mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 11:48 น. #2
แก้ไขโดย mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 11:51 น.

ข้อ3. ข้อเท็จจริงคือ ตามบัตรส่งเสริมเราระบุกำลังการผลิต 900ตัน แต่คำนวนการผลิตงานตาม บัตรคือ 16 ชั่วโมง/วัน 290วัน/ปี แล้วจะสามารถผลิตงานโดยใช้วัตถุดิบ ประมาณ 215.66ตัน อย่างนี้ต้องระบุอย่างไรในหัวข้อที่3ค่ะ

สำหรับรายการเครื่องจักรให้รวมทั้งภายใต้ BOI และ Non BOI อย่างอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ ที่เราไม่ได้รวมเข้าไปจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 12:33 น. #3

ข้อเท็จจริงคือ บัตรส่งเสริมระบุว่ามีกำลังผลิต 900 ตัน (เวลาทำงานคือ 16 ชั่วโมง/วัน 290 วัน/ปี)

แต่หากคำนวณตามเวลาทำงานดังกล่าว บริษัทจะผลิตได้เพียง 215 ตัน ใช่หรือไม่

-> หากใช่ แปลว่า มีกำลังผลิตไม่ครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม 

หากต้องการเปิดดำเนินการ (คือไม่ต้องการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาอีกแล้ว) ก็ให้กรอกข้อ 3 ตามกำลังผลิตจริงคือ 215 ตัน

และติ๊กข้อ 4 ที่ช่องแรกว่าขอแก้ไขขนาดกิจการให้เป็นไปตามกำลังผลิตที่มีอยู่จริง (คือลดโครงการ)

.........................................

ส่วนเครื่องมือเล็กๆน้อยๆ หากต้องการนำไปนับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ให้ใส่ไปในตารางเครื่องจักรด้วย แต่หากไม่ต้องการนำไปนับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ จะไม่ใส่ก็ได้ครับ

mitsuwa เมื่อ 21 ตค 57, 13:41 น. #4

ในกรณีนี้ หากยังต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาอีก สามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากมีการขยายเวลามาครบ3ครั้งแล้วค่ะ

ADMIN เมื่อ 21 ตค 57, 14:07 น. #5

หากขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว และสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว หากยังต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาอีก ก็ต้องชำระภาษีอากรครับ

ZATH เมื่อ 21 เมย 64, 17:27 น. #6

รบกวนสอบถามว่ากรณีซื้อแม่พิมพ์ให้ supplier ที่อยู่ต่างประเทศเพื่อให้ผลิตวัตถุดิบให้เรา กรณีค่าแม่พิมพ์นี้สามารถคำณวนรวมเป็นค่าเครื่องจักรสำหรับวงเงินที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่คะ

ADMIN เมื่อ 23 เมย 64, 11:29 น. #7

เครื่องจักรที่เป็นสินทรัพย์ของบริษัท แต่ไม่ได้ติดตั้งใช้งานในประเทศไทย ไม่นับเป็นมูลค่าการลงทุนที่จะนำมาคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ

ZATH เมื่อ 23 เมย 64, 18:18 น. #8

แล้วหากเป็นแม่พิมพ์ที่เรานำไปให้ supplier ที่อยู่ในประเทศไทยใช้ผลิตวัตถุดิให้เราล่ะคะ

ADMIN เมื่อ 26 เมย 64, 19:12 น. #9

หากแม่พิมพ์เป็นรายการในทะเบียนสินทรัพย์ของบริษัท และนำไปว่าจ้าง Supplier ในประเทศ ตามที่ BOI อนุญาต

ถือเป็นการลงทุนที่สามารถนำมาคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ครับ

ZATH เมื่อ 27 เมย 64, 11:46 น. #10

หากตอนเปิดดำเนินการ วงเงินที่ได้รับสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้ ได้ถูกรวมค่าใช้จ่ายตัวนี้ไปแล้ว และทางออดิเตอร์บัญชีแนะนำว่าให้ใช้สิทธิโดยไม่เอายอดเงินจากแม่พิมพ์พวกนี้มารวม จะกระทำได้ไหมคะ โดยไม่ต้องแก้ไขการเปิดดำเนินการ หรือเอกสารการเปิดดำเนินการจากบีโอไอ

ADMIN เมื่อ 28 เมย 64, 12:45 น. #11

กรณีที่เปิดดำเนินการโดยกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว แต่ต่อมาบริษัทส่งแม่พิมพ์ไปว่าจ้างบริษัทที่ต่างประเทศให้ผลิตให้ (โดยกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมมีขั้นตอนให้นำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิต)

เนื่องจากแม่พิมพ์ที่นำไปว่าจ้างบริษัทที่ต่างประเทศจะไม่นับเป็นการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้

ความเห็นของแอดมินคือ บริษัทควรใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยไม่นำมูลค่าแม่พิมพ์นี้มารวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษี เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

แต่ไม่ต้องยื่นแก้ไขปรับลดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ในบัตรส่งเสริมและใบอนุญาตเปิดดำเนินการ ครับ