FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / การจำหน่าย โอน บริจาคเครื่องจักร
เงื่อนไขการโอนเครื่องจักร
1 จาก 1 คำตอบ
page: 1/1
nst เมื่อ 22 กย 57, 15:21 น.

การจำหน่าย/โอน/บริจาค เครื่องจักร

      ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอการจำหน่าย/โอน/บริจาค เครื่องจักรได้ โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้

 

  1. ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า
  2. ที่ผ่านมาดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
  3. ไม่ทำให้กรรมวิธีผลิตหรือกำลังผลิตเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่จะมีเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน
  4. กรณีจำหน่าย
    • หากนำเข้ามายังไม่ถึง 5 ปี จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่ขอยื่นจำหน่าย แต่หากเกิน 5 ปี จะไม่มีภาระภาษี
  5. กรณีโอน
    • ผู้รับโอนต้องเป็นผู้ได้รับส่งเสริมที่มีลักษณะโครงการสอดคล้องสามารถรับโอนเครื่องจักรของผู้โอนได้ เช่น กรรมวิธีการผลิต โครงการให้ใช้เครื่องเก่า เป็นต้น และยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรอยู่
      แต่หากสิทธิฯของผู้รับโอนน้อยกว่า ผู้โอนจะต้องชำระภาษีอากรของเครื่องจักรในส่วนที่เกิน
  6. กรณีบริจาค
    • ต้องบริจาคให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ที่สามารถนำเครื่องจักรนั้นไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานเหล่านั้น

จากเงื่อนไขข้างบนตามข้อ 5 กรณ๊โอนเครื่องจักร

สามารถใช้ในกรณีด้านล่างได้หรือไม่ 

หากบริษัท A ต้องการปิดบริษัท เนื่องจากภาวะอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา มีเครื่องจักรที่บริษัท A นำเข้ามาภายใต้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า และยังไม่ได้ใช้งานเครื่องจักรดังกล่าว และต้องการทำเรื่องโอนเครื่องจักรนั้น มายังบริษัทB ซื่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนเช่นกัน และได้รับสิทธิการใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการด้วย และกรรมวิธีการผลิตการสามารถ รับเครื่องจักรของบริษัท A เข้ามาใช้ในกรรมวิธีการผลิตของบริษัทฺBได้

คำถาม  ทั้งสองบริษัท สามารถทำเรื่อง โอน และรับโอนเครื่องจักรนี้ได้ไหมค๊ะ  และเครื่องจักรนี้สามารถนำมาใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมของบริษัท B ได้หรือไม่ค๊ะ และสามารถได้รับสิทธิยกเว้นภาษีรายได้ด้วยหรือเปล่า

หากไม่ได้ กรณีโอนเครื่องจักรใช้ได้ในกรณีใด

 

ขอบคุณค่ะ

 

ADMIN เมื่อ 22 กย 57, 16:10 น. #1

กรณีการโอนเครื่องจักรที่ไม่กระทบกับกำลังผลิต หากเป็นไปตามเกณฑ์ข้างต้น ปกติจะได้รับอนุมัติ

แต่หากเป็นการโอนเครื่องจักรหลักที่มีผลกำลังผลิต จะต้องดูรายละเอียดของทั้งสองโครงการด้วย

เช่น A ได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกปีละ 10 ล้านชิ้น (ใช้เครื่องฉีดพลาสติก 10 เครื่อง) ต้องการโอนเครื่องฉีดพลาสติก 1 เครื่องให้กับ B ซึ่งได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกปีละ 1 ล้านชิ้น -> กรณีนี้ไม่สามารถอนุมัติได้ เพราะเท่ากับเป็นการนำเครื่องจักรหลักที่เคยใช้สิทธิประโยชน์ในบริษัทหนึ่ง ไปเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ในอีกบริษัทหนึ่ง ถือเป็นการเวียนเทียนเครื่องจักร

=======================================================================

  1. กรณีที่สอบถาม คาดว่าเป็นการขอโอนเครื่องจักรหลัก แต่จากที่เขียนว่า เครื่องจักรที่จะโอนนั้น ยังไม่ได้ใช้งานในบริษัท A
    ดังนั้น หากพิสูจน์ได้ เช่น บัตรส่งเสริมของ A ยังไม่เคยมีรายได้เกิดขึ้น ก็ควรได้รับอนุมัติให้โอนเครื่องจักรนั้นไปยังบริษัท B ได้ แม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรหลักก็ตาม
    แต่หากพิสูจน์ไม่ได้ และเป็นเครื่องจักรหลักตามโครงการของผู้รับโอน (บริษัท B) ก็ไม่ควรอนุมัติให้โอน
  2. กรณีที่ได้รับอนุมัติให้โอนเครื่องจักร
    บริษัท B สามารถนำเครื่องจักรนั้นไปใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม และสามารถใช้สิทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามสิทธิที่มีอยู่ครับ