ADMIN
เมื่อ 25 ธค 56, 12:57 น.
#1
1. การผ่อนผันให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิต จะอนุญาตให้ตามที่จำเป็นจริง แต่ต้องไม่ขัดกับสาระสำคัญของโครงการนั้น เช่น - โครงการผลิต TV เดิมมีขั้นตอนฉีดพลาสติก ประกอบแผงวงจร (PCBA) และอื่นๆ หากจะขอนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ขึ้นรูปแล้ว ก็จะพิจารณาว่าไม่ใช่สาระสำคัญ เนื่องจากหากไม่มีขั้นตอนนี้เลย ก็ยังสามารถให้ส่งเสริมได้ ดังนั้น ในกรณีนี้ไม่ควรใช้วิธีผ่อนผัน แต่ควรแก้ไขกรรมวิธีผลิตเป็น ฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติกฉีดหรือจัดซื้อมา เพื่อที่จะทำได้ทั้ง 2 วิธี - โครงการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เดิมมีขั้นตอนการฉีดพลาสติกและพ่นสี หากขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ฉีดแล้วมาพ่นสีอย่างเดียว ก็คงอนุญาตลำบาก เว้นแต่หากจำเป็นจริงๆ ก็อาจผ่อนผันเป็นกรณีไป โดยอาจกำหนดจำนวนที่น้อยที่สุดในครั้งนั้นครั้งเดียว และกำหนดว่ารายได้ในส่วนนี้ไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น 2. ที่ต้องกรอก คือ - ข้อมูลทั่วไปสำหรับการแก้ไขทุกประเภท - เรื่องที่ขอแก้ไข - เหตุผลที่ขอแก้ไข - และข้อ 4.2 ชนิด ปริมาณและระยะเวลาที่จะนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป 3. การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต มีแนวทางพิจารณาคล้ายๆ กับการผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปตามข้อ 1 คือต้องดูว่าจะกระทบกับสาระสำคัญของโครงการมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่กระทบหรือกระทบน้อย ก็ให้ได้ แต่ถ้ากระทบมาก ก็จะไม่อนุญาต การขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป และการขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต เป็นคนละกรณีกัน ดังนั้น แม้ว่าจะได้รับอนุมัติให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป A แต่ต่อมาอยากจะเปลี่ยนเป็นขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน A ก็ต้องขออนุมัติด้วย ซึ่งหากบริษัทเตรียมการตั้งแต่ต้น จะยื่นการแก้ไขทั้ง 2 วิธีนี้เข้ามาพร้อมกันในคำขอเดียวกันก็ได้
View More