FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การแก้ไขโครงการ / การแก้ไขเพื่อว่าจ้างหรือรับจ้างผลิต
การรับจ้างผลิตสินค้า
1 - 9 จาก 9 คำตอบ
page: 1/1
giftkea เมื่อ 25 กค 57, 10:15 น.

รบกวนสอบถามนะคะ ในกรณีที่บริษัทเป็น BOI แล้วมีลูกค้ามาติดต่อลูกค้าอยู่ในเขต EPZ Zone ให้ผลิตงานให้โดยที่ลูกค้า Support Mat'l and Mold ให้โดยให้เรามีหน้าที่ผลิตสินค้าให้กับลูกค้าอย่างเดียว บริษัทต้องยื่นเรื่องแจ้งต่อ BOI หรือไม่คะและสามารถทำได้หรือไม่คะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 25 กค 57, 10:48 น. #1

การรับจ้างผลิตสินค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่บริษัทได้รับส่งเสริม และมีกรรมวิธีผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแจ้งอะไรต่อ BOI

ส่วนในการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและแม่พิมพ์จาก EPZ ก็สามารถใช้สิทธิได้เสมือนกับการนำเข้าจากต่างประเทศ คือ

วัตถุดิบ

  1. เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ (EPZ) เมื่อผลิตเสร็จก็ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ (EPZ) จึงสามารถใช้สิทธิมาตรา 36(1) ในการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบได้
  2. แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาให้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ก็ต้องสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร
  3. กรณีเกิดส่วนสูญเสียจากการผลิต ขึ้นอยู่กับว่ามีข้อตกลงกับลูกค้าอย่างไร หากไม่ส่งส่วนสูญเสียคืนกลับไปให้ลูกค้าใน EPZ ก็ต้องทำลายหรือชำระภาษีตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36(1)

แม่พิมพ์

  1. ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28 ได้
  2. ต้องสำแดงราคา เพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร ทั้งนี้ในทางบัญชี ถือว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่ส่งมาให้บริษัทใช้ผลิตชิ้นงานให้ลูกค้า
  3. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ก็ยื่นเรื่องขออนุญาตส่งแม่พิมพ์คืนไปต่างประเทศ (EPZ) ครับ
giftkea เมื่อ 25 กค 57, 11:23 น. #2

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะคะ ในกรณีที่บริษัทมีกรรมวิธีการผลิต คือ 1. ปั้มขึ้นรูป 2. ตัด ดัด เจาะรู 3. ตกแต่งชิ้นงาน 4. ตรวจสอบ แพ็ค จำหน่าย แต่ในวิธีการที่ลูกค้าจ้างผลิตไม่มีขั้นตอนที่ 3 อย่างนี้ต้องขออนุญาติกับ BOI ก่อนหรือไม่คะ และในกรณีที่บริษัทยังไม่ได้เปิดดำเนินการ (ขยายเวลาเครื่องจักรอยู่) บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะและการสำแดงราคาหมายถึงอะไรคะ รบกวนสอบถามด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 25 กค 57, 12:24 น. #3

ขอตอบคำถามดังนี้

  1. ขั้นตอนการตบแต่งชิ้นงานหลังจากการขึ้นรูป เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งๆ ตามความจำเป็นหลังการขึ้นรูปชิ้นงาน
    ดังนั้น หากของที่ผลิตได้ แม้จะไม่มีการตบแต่งชิ้นงาน ยังใช้ชื่อสินค้าตามบัตรส่งเสริม (คือ ไม่เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป) ก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขกรรมวิธีผลิตก็ได้
  2. หรือหากบริษัทจะขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จากเดิมที่มีการตบแต่งชิ้นงาน เป็น "บางกรณีตบแต่งชิ้นงาน" ก็ได้
    โดยการแก้ไขในกรณีนี้ จะยื่นก่อนหรือหลังเปิดดำเนินการก็ได้ เพราะไม่กระทบกับการนำเข้าเครื่องจักร
  3. การสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินอากรคือ เมื่อลูกค้าส่งวัตถุดิบจาก EPZ มาให้บริษัท จะมีการเปิดอินวอยซ์มาด้วย แต่เนื่องจากเป็นการส่งวัตถุดิบมาว่าจ้าง ดังนั้น มูลค่าตามอินวอยซ์จะเป็น 0 ซึ่งจะคำนวณอากรขาเข้าไม่ได้
    ดังนั้น ลูกค้าจึงต้องระบุมูลค่าวัตถุดิบในอินวอยซ์ เพื่อประโยชน์สำหรับการคำนวณภาษีอากร แม้จะไม่ได้มีการซื้อขายวัตถุดิบเกิดขึ้นก็ตาม ครับ
giftkea เมื่อ 25 กค 57, 13:07 น. #4

ขอบคุณมากนะคะ ได้รับคำตอบที่ชัดเจนและรวดเร็วมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 25 กค 57, 15:31 น. #5

ยินดีครับ

giftkea เมื่อ 14 สค 57, 15:49 น. #6

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะคะ ในกรณีที่ลูกค้าที่อยู่ใน EPZ Zone ส่งวัตถุดิบมาให้บริษัททำการผลิตสินค้าให้ เมื่อบริษัทผลิตสินค้าเสร็จแล้วทำการส่งออกไปในเขต EPZ Zone อันนี้เราไม่ต้องใช้สิทธิ BOI ได้ใช่มั้ยคะ เพราะยังไงก็เสีย 0% อยู่แล้วถึงแม้เราจะใช้แม่พิมพ์ที่เราใช้สิทธิ BOI นำเข้ามาเพราะลูกค้าแจ้งว่าจะ Support วัตถุดิบให้โดยที่ไม่เอาเศษซากกลับคืนด้วย ให้เราคิดราคาหักค่าเศษซากไปด้วยอันนี้เราสามารถทำได้มั้ยคะ สำหรับส่วนสูญเสียแบบนี้แล้วเราสามารถขายเป็น Scrap ปกติได้มั้ยคะ รบกวนสอบถามหน่อยนะคะ พอดียังงงๆ อยู่น่ะค่ะ ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ADMIN เมื่อ 14 สค 57, 19:48 น. #7
  1. แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาว่าจ้างโรงงานในประเทศให้ผลิตและรับคืนกลับไปใน EPZ โดยไม่คิดราคาวัตถุดิบ แต่ก็ถือเป็นการนำเข้าวัตถุจากต่างประเทศ (EPZ) ซึ่งต้องชำระอากรขาเข้า
    ดังนั้น หากต้องการยกเว้นอากรขาเข้า ก็ต้องยื่นขอสั่งปล่อยโดยใช้สิทธิ BOI
  2. ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เป็นภาระรับผิดชอบของโรงงานในประเทศที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยวัตถุดิบ
    หากไม่จัดการตามข้อกำหนดเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36 โรงงานในประเทศก็ต้องรับผิดชอบภาษีนั้น โดยจะไปชาร์จจากผู้ว่าจ้างเป็นค่าจัดการเศษซาก ก็แล้วแต่จะตกลงกันเองครับ
giftkea เมื่อ 15 สค 57, 09:13 น. #8

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

ADMIN เมื่อ 15 สค 57, 16:09 น. #9

ยินดีครับ