FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การเปิดดำเนินการ / การเปิดดำเนินการ
ข้อมูลการเปิดดำเนินการ
1 - 7 จาก 7 คำตอบ
page: 1/1
oyooat เมื่อ 27 สค 67, 10:32 น.

กรณีการเปิดดำเนินการ ข้อมูลทะเบียนสินทรัพย์ ในข้อมูลส่วนอะไหล่เครื่องจักร ต้องระบุรายละเอียดเลขที่ทะเบียนสินทรัพย์, รายชื่ออะไหล่เครื่องจักรตามอินวอยซ์นำเข้าและในประเทศ จะต้องจัดทำข้อมูลเข้าไปในแบบฟอร์มขอเปิดดำเนินการด้วยหรือไม่ค่ะ

 

oyooat เมื่อ 27 สค 67, 15:42 น. #1

ขอสอบถามเพิ่มเติม 
ข้อมูลรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในโครงการ ช่องราคาทุน/ราคาที่ได้มา ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้องใช้ราคา CIF ตามใบขนสินค้า หรือ ราคาตามที่บัญชีบันทึกมูลค่าสินค้าค่ะ 

ADMIN เมื่อ 27 สค 67, 16:11 น. #2

1. อะไหล่เครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทน เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้ตามวัตถุประสงค์เดิม

จะไม่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ แต่จะลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าซ่อม ฯลฯ)

2. แต่ในการรายงานรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในขั้นเปิดดำเนินการ ต่อ BOI

จะต้องแสดงให้ครบทุกรายการที่บริษัทนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร

3. ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถแสดงรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เฉพาะที่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์

แต่จะต้องแสดงให้ครบทุกรายการที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยตามมาตรา 28 และ 29

4. เจ้าหน้าที่ BOI ผู้พิจารณาแต่ละคน อาจต้องการให้บริษัทแสดงรายละเอียดตามวิธีที่ จนท เห็นว่าตรวจสอบได้ง่าย

ดังนั้น บริษัทจึงอาจจัดเตรียมร่างรายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามทะเบียนสินทรัพย์

และรายการอะไหล่ที่ใช้สิทธินำเข้า แต่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์

เพื่อนำไปหารือกับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะยื่นคำร้องขอเปิดดำเนินการก็ได้

5. ส่วนอะไหล่ที่ซื้อในประเทศ เป็นรายการที่ไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า และไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ตั้งแต่แรก

จะไม่แสดงรายการนั้นในการยื่นขอเปิดดำเนินการก็ได้

แต่หากต้องการนำมูลค่าอะไหล่รายการนั้น มารวมคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ก็สามารถแสดงรายละเอียดได้


6. การแสดงรายละเอียดเครื่องจักรในการขออนุมัติเปิดดำเนินการ สามารถใช้แนวทางคือ

6.1 เครื่องจักรทุกเครื่องที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี (รวมถึงอะไหล่ ส่วนประกอบ แม่พิมพ์ ฯลฯ ทั้งหมด)

6.2 เครื่องจักรเท่าที่ทำให้กรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับอนุมัติ / แต่หากขั้นตอนการผลิตมากหรือน้อยกว่า สามารถแก้ไขเพื่ม/ลดขั้นตอนการผลิตได้

6.3 เครื่องจักรเท่าที่ทำให้กำลังผลิตครบตามที่ได้รับอนุมัติ / แต่หากกำลังผลิตมากหรือน้อยกว่า สามารถยื่นแก้ไขเพิ่ม/ลดกำลังผลิตได้

6.4 เครื่องจักรเท่าที่ต้องการนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ

ADMIN เมื่อ 27 สค 67, 16:12 น. #3

ตอบข้อ #1

ใช้ราคาตามที่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ครับ

oyooat เมื่อ 28 สค 67, 08:53 น. #4

รายการอะไหล่ที่ใช้สิทธิBOI และไม่ได้บันทึกในทะเบียนทรัพย์สินตั้งแต่แรก จะใช้ราคา CIF ตามใบขนสินค้าขาเข้าใช่หรือไม่ค่ะ

ADMIN เมื่อ 28 สค 67, 10:39 น. #5

อะไหล่ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ และไม่ได้บันทึกเป็นสินทรัพย์ ให้ใช้ราคาตามอินวอยซ์หรือใบเสร็จรับเงิน ครับ

oyooat เมื่อ 28 สค 67, 13:37 น. #6

ราคาอะไหล่ในอินวอยซ์ เป็น YEN และ USD ดังนั้น ใช้ราคา CIF ตามใบขนสินค้าขาเข้าใช่หรือไม่ค่ะ

ADMIN เมื่อ 28 สค 67, 15:46 น. #7

แนวทางการรายงานรายละเอียดเครื่องจักร/อุปกรณ์ ในแบบขออนุญาตเปิดดำเนินการ
(แต่ขอให้ตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ BOI ที่ดูแลโครงการของบริษัทก่อนด้วย)

1. กรณีใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์

1.1 ช่องรายการเครื่องจักร ต้องระบุเลขที่ทะเบียนสินทรัพย์ด้วย

1.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ และช่องหนังสือสั่งปล่อย ให้ระบุเลขที่วันที่ใบขน และหนังสือสั่งปล่อย

1.3 ช่องราคาทุน ตามราคาทุนในทะเบียนสินทรัพย์

2. กรณีใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

ให้ทำเอกสารแนบเพิ่มเติม และแนบสำเนาบัญชีรายการค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมหรือหมวดที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายนั้น

2.1 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ และช่องหนังสือสั่งปล่อย ให้ระบุเลขที่วันที่ใบขน และหนังสือสั่งปล่อย

2.2 ช่องราคาทุน ตามมูลค่าที่บันทึกในบัญชีค่าใช้จ่าย
(โดย BOI อาจขอให้แนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของรายการนั้นๆ ด้วยก็ได้)

3. กรณีไม่ได้ใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์

3.1 ช่องหนังสือสั่งปล่อย ไม่ต้องระบุ

3.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ อาจระบุเลขที่ใบเสร็จ หรือระบุว่านำเข้าโดยชำระภาษี หรือซื้อในประเทศก็ได้
(เนื่องจากบางกรณีอ้างอิงหลาย INVOICE)

3.3 ช่องราคาทุน ตามราคาทุนในทะเบียนสินทรัพย์

4. กรณีไม่ได้ใช้สิทธิสั่งปล่อย และบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

ให้ทำเอกสารแนบเพิ่มเติม และแนบสำเนาบัญชีรายการค่าใช้จ่ายในหมวดค่าซ่อมหรือหมวดที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายนั้น

4.1 ช่องหนังสือสั่งปล่อย ไม่ต้องระบุ

4.2 ช่อง INVOICE/ใบเสร็จ อาจระบุเลขที่ใบเสร็จ หรือระบุว่านำเข้าโดยชำระภาษี หรือซื้อในประเทศก็ได้

4.3 ช่องราคาทุน ตามมูลค่าที่บันทึกในบัญชีค่าใช้จ่าย
(โดย BOI อาจขอให้แนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของรายการนั้นๆ ด้วยก็ได้)

-------------------------------------------------------------------------

ข้อ 1 และ 2 ต้องแสดงให้ครบทุกรายการ เนื่องจากเป็นรายการที่ใช้สิทธิสั่งปล่อย

ข้อ 3 สามารถแสดงรายการเฉพาะเท่าที่จำเป็น

คือเพื่อทำให้กำลังผลิตและกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม และได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่เพียงพอ

ข้อ 4 ปกติจะไม่แนะนำให้ยื่น

ยกเว้นกรณีที่บริษัทคำนวณแล้วว่า วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่เพียงพอในการใช้สิทธิ

จึงต้องการนำมูลค่าในข้อ 4 มารวมคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย ครับ