FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / ภาพรวม
เครื่องจักรที่ขอใช้สิทธิ BOI
1 - 7 จาก 7 คำตอบ
page: 1/1
OMA เมื่อ 16 กค 57, 19:17 น.
แก้ไขโดย OMA เมื่อ 16 กค 57, 19:17 น.

ในระหว่างที่บริษัทกำลังดำเนินการขอรับการส่งเสริมโดยยื่นเอกสาร

ครั้งที่ 1 ยื่นเอกสารไปวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 นัดชี้แจงเอกสารวันที่ 11 มิถุนายน 2557 มีการชี้แจงและแก้ไขเอกสารที่ยื่นไปครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2 ยื่นเอกสารไปวันที่ 3 กรกฏาคม 2557 พร้อมชี้แจงแก้ไขเอกสาร ให้ทำเพิ่ม

ครั้งที่ 3 ยื่นเอกสารไปวันที่ 18 กรกฎาคม 2557จบการชี้แจงรออนุมัติโครงการ

สอบถามค่ะ

1.ในระหว่างที่กำลังขอรับการส่งเสริมอยู่ บริษัทฯได้มีการนำเข้าเครื่องจักร แม่พิมพ์ และอุปกรณ์ ในต้นเดือนสิงหาคม 2557 บริษัทฯจะขอใช้สิทธิBOI ได้หรือไม่

2.ถ้าได้ บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะถึงจะใช้สิทธิ BOI ได้

3.ถ้าไม่ได้ บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะ

4.ขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบEMT ใช้ระยะเวลากี่วันคะที่บัญชีเครื่องจักรจะอนุมัติ

5.ถ้าบริษัทฯนำเครื่องจักรเข้ามาช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2557 บริษัทฯสามารถเอาเข้ามาก่อนแล้วขอคืนอากรได้หรือเปล่าคะ ในกรณีที่บัตรส่งเสริมยังไม่ได้รับการอนุมัติ

 

ADMIN เมื่อ 17 กค 57, 09:06 น. #1

ตอบดังนี้ครับ

1-3,5 ระหว่างที่รออนุมัติโครงการ จะยังใช้สิทธิใดๆไม่ได้ ในกรณีนี้จึงต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรไปก่อน จากนั้นเมื่อได้รับบัตรส่งเสริม จึงขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลังไปจนถึงวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จากนั้นจึงยื่นสั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักร

4. การอนุมัติบัญชีเครื่องจักร กำหนดระยะเวลาไว้ 60 วันทำการ แต่ส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติได้เร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่และรายละเอียดของโครงการนั้นๆ โดยเฉลี่ยน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 อาทิตย์ครับ

KPI77 เมื่อ 15 กย 66, 16:02 น. #2

นำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิ์ยกเว้นอากร  มาใช้ในโครงการบีโอไอ ต่อมา จำเป็นต้องปิดโครงการเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ  ซึ่งมีเครื่องจักรบางส่วน นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี ไม่สามารถตัดบัญชีหรือจำหน่ายเพื่อให้หมดภาระภาษี   อยากทราบว่าบริษัทต้องทำอย่างไร กับเครื่องจักรที่นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี  ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง  และมีวิธีการคำนวณอย่างไร เพราะแต่ละตัวนำเข้ามาไม่พร้อมกัน 

 

ขอบคุณค่ะ

ADMIN เมื่อ 16 กย 66, 09:56 น. #3

เครื่องจักรที่นำเข้าไม่เกิน 5 ปี แต่จะไม่ใช้ในโครงการ

1. กรณีส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ ไม่มีภาระภาษี

2. กรณีชำระภาษีเครื่องจักร จะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุมัติให้ชำระภาษี
ประกอบด้วยค่าอากร และ VAT โดยคำนวณจากราคาเครื่องจักรตามสภาพ

วิธีการคำนวณภาษีอากร ควรสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง
เบื้องต้นคือ อายุของเครื่องจักรกำหนดไว้ 5 ปี
หากนำเครื่องจักรเข้ามาแล้ว 3 ปี ราคาเครื่องจักรตามสภาพจะเป็น 40% ของมูลค่าเครื่องจักร ณ วันนำเข้า ครับ

KPI77 เมื่อ 23 เมย 67, 16:39 น. #4
แก้ไขโดย KPI77 เมื่อ 24 เมย 67, 16:20 น.

จากรูปดังกล่าว คือ เครื่องมือใช้ในการวัดขนาดรูของชิ้นงาน (เก่าใช้งานแล้ว) (Used Pin Gauge)  ต้องขอเพิ่มในบัญชีรายการเครื่องจักร หรือบัญชีแม่พิมพ์ค่ะ

ADMIN เมื่อ 25 เมย 67, 13:45 น. #5

1. บัญชีแม่พิมพ์ ตามประกาศ สกท ที่ ป.4/2556 หมายถึงบัญชีแม่พิมพ์หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนแม่พิมพ์และอุปกรณ์ยึดจับชิ้นงาน รวมถึงอะไหล่ของแม่พิมพ์และอุปกรณ์ยึดจับชิ้นงาน

2. Pin Gauge ตามที่สอบถาม จัดอยู่ในบัญชีเครื่องจักรทั่วไป คือ เป็นเครื่องมือ เครื่องวัด
จึงต้องขออนุมัติในข่ายบัญชีเครื่องจักรทั่วไป
และเนื่องจากเป็นเครื่องจักรเก่า จึงต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าด้วย
โดยบริษัทอาจพิจารณาความเหมาะสมในการนำเข้าโดยชำระภาษีอากร โดยไม่ต้องยื่นขอใช้สิทธิจาก BOI ก็ได้ ครับ

boi1234 เมื่อ 12 มิย 67, 16:01 น. #6

สอบถามค่ะ

1.เครื่องจักรที่ขอใช้สิทธิ BOI 1 บัตรส่งเสริม  สามารถนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศได้กี่เครื่องค่ะ (กำหนดมั้ยค่ะ)

2.ต้องกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกของเครื่องจักรมั้ยค่ะ

ADMIN เมื่อ 12 มิย 67, 17:28 น. #7

ตอบคำถามดังนี้

1. บริษัทสามารถขออนุมัตินำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ โดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ได้ไม่เกินกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม

เช่น บัตรส่งเสริมกำหนดกำลังผลิต 1,000,000 ชิ้น/ปี (เวลาทำงาน 8 ชม./วัน 300 วัน/ปี)

หากเครื่องจักร A มีกำลังผลิต 400,000 ชิ้น/ปี (ทำงาน 8 ชม./วัน 300 วัน/ปี)

บริษัทสามารถขออนุมัตินำเข้าเครื่องจักร A ได้ไม่เกิน 3 เครื่อง

2. วันเริ่มต้นได้รับสิทธิเครื่องจักร คือวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม

และวันสิ้นสุดสิทธิเครื่องจักร คือวันที่ครบ 30 เดือนนับจากวันออกบัตรส่งเสริม

การใช้สิทธิเครื่องจักรจึงไม่ต้องขอกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก ซึ่งต่างกับการใช้สิทธิวัตถุดิบซึ่งต้องกำหนดวันนำเข้าครั้งแรก ครับ