เรียนสอบถามกรณีการใช้เครื่องจักรร่วมกันของ 2 โครงการ มี 2 กรณี
กรณีที่ 1 - 2 โครงการประกอบด้วย 1) โครงการเดิมบัตรปี 56 ประเภท 5.1 และ 5.3 และ 2) โครงการใหม่กิจการ 4.3.5 (กำลังจะยื่นขอ)
กรณีที่ 2 - 2 โครงการเป็น กิจการ 4.3.5 ทั้งคู่ (กำลังจะยื่นขอ)
คำถามสำหรับทั้ง 2 กรณี คือ
1. ใช้เครื่องจักรร่วมกันได้หรือไม่
2. เครื่องจักรแบบใดที่ใช้ร่วมกันไม่ได้ เช่น เครื่องจักรที่เป็น Bottle neck
3. ทั้งสองโครงการจำเป็นต้องมี Bottle neck ตัวเดียวกันหรือไม่ มี Bottle neck คนละขั้นตอนได้หรือไม่
4. เวลากรอกคำขอรับการส่งเสริม หากมีเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกัน ให้ใส่ในข้อ 4.5 ทั้ง 2 โครงการ โดยระบุเพิ่มเติมในเอกสารแนบว่าเครื่องใดเป็นเครื่องที่ใช้ร่วมกันระหว่างโครงการใช่ไหมคะ
การใช้เครื่องจักรร่วมกัน ไม่มีประกาศ BOI กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นการเฉพาะ
จึงจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการเป็นแนวทางพิจารณา
ตอบคำถามตามความเห็นของแอดมิน ดังนี้
1. โครงการที่ 2 (กำลังยื่นขอรับส่งเสริม) จะขอใช้เครื่องจักรบางส่วนร่วมกับโครงการที่ 1 (เปิดดำเนินการแล้ว)
- ต้องไม่เป็นเครื่องจักรในขั้นตอนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
- เครื่องจักรที่จะขอใช้ร่วมกัน ต้องมีกำลังผลิตเหลือเพียงพอ
ยกตัวอย่าง เช่น โครงการที่ 2 ยื่นขอรับส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่จะขอใช้เครื่องพ่นสี ร่วมกับโครงการที่ 1
กรณีนี้จะพิจารณาว่า
- หากโครงการที่ 2 ยื่นขอรับส่งเสริม โดยจะฉีดชิ้นส่วนพลาสติกขึ้นเอง แต่จะนำไปว่าจ้างผู้อื่นพ่นสี จะอยู่ในข่ายให้การส่งเสริมหรือไม่
- เครื่องพ่นสีของโครงการที่ 1 มีกำลังผลิตเกิน เนื่องจากเป็นลักษณะปกติของเครื่องจักรดังกล่าว หรือเป็นเพราะนำเข้าเครื่องจักรเกินกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม
หากพิจารณาเห็นว่า
- ขั้นตอนที่จะขอใช้เครื่องจักรร่วมกัน ไม่เป็นสาระสำคัญของโครงการ และ
- ไม่ได้มีกำลังผลิตเหลือ เนื่องจากนำเข้าเครื่องจักรเกินกว่ากำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม
ก็จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรร่วมกันได้
2. โครงการที่ 3 และ 4 (กำลังยื่นขอรับส่งเสริม) จะขอใช้เครื่องจักรร่วมกัน
- ใช้แนวทางพิจารณาเดียวกับข้อ 1
- แต่บริษัทควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการยื่นรวมเป็นโครงการเดียวกัน
เนื่องจากมูลค่าการลงทุนเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกัน จะนับเป็นเงินลงทุนของโครงการเดียวเท่านั้น ไม่สามารถปันส่วนมูลค่าเครื่องจักรได้ ครับ
เรียนสอบถามเพ่ิมเติมว่า คำว่าเครื่องจักรหลัก หมายถึงเครื่องจักรที่คำณวนกำลังการผลิตไหมคะ เพราะในบางกรณีเครื่องจักรหลักที่ไม่ได้คำณวนกำลังการผลิตอาจจะมีกำลังการผลิตเหลือ เราเลยคิดว่าไม่จำเป็นต้องนำเขามาเพิ่มอีกสำหรับโครงการใหม่น่ะค่ะ
เครื่องจักรหลัก ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณกำลังผลิตของโครงการ
ตัวอย่างตามที่ตอบในคำตอบ #1
เครื่องพ่นสี ก็ถือเป็นเครื่องจักรหลักในขั้นตอนการพ่นสี แต่อาจจะมีกำลังผลิตมากกว่ากำลังผลิตของโครงการได้ ครับ
หมายความว่าหากกรณีที่ยกตัวอย่าง หากเครื่องพ่นสีในโครงการปัจจุบันมีกำลังการผลิตเหลือ โครงการใหม่ที่ใช้เครื่องพ่นสีแบบเดียวกัน และไม่ได้ใช้เครื่องพ่นสีคำณวนกำลังการผลิตของโครงการใหม่ จะต้องนำเข้าหรือซื้อเครืองพ่นสีใหม่ หากไม่มีเครื่องพ่นสีของตัวโครงการเองจะไม่สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ เข้าใจถูกไหมคะ
ไม่ใช่ครับ
หากโครงการที่ 1 มีเครื่องพ่นสี ซึ่งมีกำลังผลิตเหลือ และไม่ถือเป็นขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ 1
และโครงการที่ 2 จะขอใช้เครื่องพ่นสีร่วมกับโครงการที่ 1 โดยที่ขั้นตอนการพ่นสี ก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญของโครงการที่ 2
ก็อยู่ในข่ายที่อาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องพ่นสีร่วมกันได้
แต่หากขั้นตอนการพ่นสี เป็นขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ 2 และขั้นตอนอื่นที่เหลือ มีสาระสำคัญไม่เพียงพอ
ปกติจะไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องพ่นสีร่วมกับโครงการที่ 1
การจะดูว่าขั้นตอนนั้นเป็นสาระสำคัญหรือไม่
1) ต้องเป็นไปตามกรรมวิธีผลิตที่กำหนดในประเภทกิจการ (กรณีมีการกำหนดเงื่อนไขขั้นตอนผลิตในประเภทกิจการ)
2) หากไม่มีขั้นตอนนั้น หรือมี แต่จะว่าจ้างผู้อื่นผลิตให้ ขั้นตอนอื่นที่เหลือจะยังคงมีสาระสำคัญพอที่จะให้การส่งเสริมได้หรือไม่
การไปมองที่ Bottle neck เพียงอย่างเดียว จะทำให้หลงประเด็น
หากไม่เข้าใจตามตัวอย่างที่ตอบ ควรให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันโครงการที่ 1 ผลิตสินค้าอะไร กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติเป็นอย่างไร
และโครงการที่ 2 จะผลิตสินค้าอะไร โดยมีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร และจะขอใช้เครื่องจักรในขั้นตอนใดร่วมกัน
จะได้คำตอบที่ตรงกับที่ต้องการทราบ ครับ