บริษัทเปิดดำเนินการแล้ว เมื่อปี 64 พี่งขอเพิ่ม
จากเวลาทำงาน 20 ชั่วโมง/วัน : 350 วัน/ปี เป็น เวลาทำงาน 24 ชั่วโมง/วัน : 350 วัน/ปี
ปัจจุบันหากจะขอแก้ไข วันทำงาน/ปี สามารถขอได้อีกไหมคะ
จากเวลาทำงาน 24 ชั่วโมง/วัน : 350 วัน/ปี เป็น เวลาทำงาน 24 ชั่วโมง/วัน : 365 วัน/ปี
ลักษณะกรณีนี้เป็นไปได้ไหมที่ทาง BOI จะอนุมัติค่ะ
สามารถขอแก้ไขได้ แต่กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียง 4% เท่านั้น
ซึ่งไม่น่าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทมากนัก
จึงควรจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็น และประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการแก้ไข ครับ
รบกวนขอสอบถาม จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้ค่ะ
1. ในกรณีที่บริษัทต้องการ ยื่นเรื่อง ขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน) ค่ะ
คำถาม
1.1 บริษัทต้องทำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานฯ โดยใช้แบบฟอร์ม F PA PC 15-00
ถูกต้องหรือไม่คะ
1.2 ต้องใช้เอกสารอะไรประกอบการยื่นเรื่องบ้าง
1.3 ถ้าบริษัทยื่นขออนุญาต และได้รับการอนุมัติแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานฯ
เข้ามาตรวจโรงงานหรือไม่คะ
2. การนำเข้าเครื่องจักร หลังจากครบกำหนดระยะเวลานำเข้า บริษัทสามารถทำได้หรือไม่
* บริษัท ได้รับการส่งเสริม ประเภท 2.4.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ฯ
* เครื่องจักรจะครบกำหนดระยะเวลานำเข้า วันที่ 7 กพ. 2567
* ครบเปิดดำเนินการตามโครงการ วันที่ 7 ต.ค. 2567
คำถาม บริษัทอยากทราบว่า ในกรณีที่บริษัทมีการทำบัญชีรายการเครื่องจักรไว้ และเครื่องจักร
ที่ขออนุมัติไว้ยังไม่ได้มีการนำเข้า
2.1 บริษัทจะสามารถนำเข้าเครื่องจักร หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลานำเข้าได้หรือไม่คะ
2.2 ถ้าสามารถนำเข้าได้ ในการนำเข้าเครื่องจักรบริษัทจะยังสามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า
ของเครื่องจักรได้หรือไม่คะ
รบกวนขอคำแนะนำค่ะ ขอบคุณค่ะ
บริษัท R......
ตอบคำถามดังนี้
1. การเพิ่มกำลังผลิตจากการเพิ่มเวลาทำงาน
1.1 ให้ยื่นคำร้องตามแบบ F PA PC 15 ต่อ BOI
1.2 เอกสารอื่นๆ ที่ต้องแนบ ไม่มีข้อกำหนด
แต่บริษัทอาจแนบปริมาณการจำหน่ายและยอดขาย 3 ปีย้อนหลัง เพื่อเป็นข้อมูลให้ จนท ก็ได้
1.3 จะไม่มีการตรวจสอบโรงงาน จากการที่บริษัทยื่นขอเพิ่มกำลังผลิต
2. การนำเข้าเครื่องจักรหลังครบระยะเวลานำเข้า
2.1 บริษัทสามารถนำเข้าเครื่องจักรหลังระยะเวลานำเข้าได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2.2 แต่หากนำเข้ามาหลังระยะเวลาครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะไม่นับเป็นเครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริม
จึงจะไม่นับรวมเป็นกำลังการผลิต/ขั้นตอนการผลิต และไม่นับเป็นเงินลงทุนที่จะรวมคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ
เรียนแอดมิน
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ เนื่องจากครั้งแรกบริษัทได้ยื่นกำลังการผลิตเป็นหน่วย กิโลเมตร และวันทำงาน จันทร์-ศุกร์
1. ต่อมาพบปัญหาหน่วยการผลิต ตามกรมศุลกากร จะมีแค่เมตรที่ใกล้เคียงผลิตภัณฑ์ที่เราจำหน่าย เจ้าหน้าที่ไอซีแนะนำให้เราแก้ไขโครงการ หน่วยการผลิตจากกิโลเมตร เป็นเมตร สามารถแก้ไขได้หรือไม่
2. วันทำงานตามจริง จันทร์-เสาร์ สามารถแก้ไขวันทำงานต่อ วัน/เดือน/ปี ได้หรือไม่ ต้องมีเอกสารแนบอะไรเป็นพิเศษไหมคะ
3. ทั้ง2ข้อแรก หากสามารถแก้ไขได้ สามารถทำพร้อมกันได้หรือไม่
ปล. บริษัทยังไม่เปิดดำเนินการ ส่วนตัวคิดว่ากำลังการผลิต เปลี่ยนหลังจากเปิดดำเนินการจะดีกว่า ขอความคิดเห็น ข้อปฏิบัติจากแอดมินที่ถูกต้องต่อไปด้วยค่ะ
กรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริมโดยมีหน่วยผลิตภัณฑ์เป็น "กิโลเมตร" แต่หน่วยตามพิกัดศุลกากรกำหนดไว้เป็น "เมตร"
1. บริษัทไม่ต้องแก้ไขหน่วยผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม
- การอนุมัติ Max stock ให้ระบุหน่วยผลิตภัณฑ์ของสูตรอ้างอิงเป็น "กิโลเมตร" ตามบัตรส่งเสริม
- การขออนุมัติสูตรการผลิต ให้ระบุหน่วยผลิตภัณฑ์เป็น "เมตร" ตามหน่วยส่งออกและหน่วยพิกัด
- การส่งออก ให้ระบุหน่วยสินค้าส่งออกเป็น "เมตร" ตามหน่วยพิกัด
- การตัดบัญชี จะคำนวณจากปริมาณการใช้วัตถุดิบ จากปริมาณส่งออก (หน่วยเป็นเมตร) และสูตรการผลิต (หน่วยผลิตภัณฑ์เป็นเมตร)
2. สามารถยื่นขอแก้ไขเวลาทำงานได้
- กำลังผลิตจะเปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนกับเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
- ยื่นขอแก้ไขตามแบบฟอร์ม F PA PC 15
3. จะแก้ไขก่อนหรือหลังเปิดดำเนินการเต็มโครงการก็ได้ ครับ
สวัสดีค่ะ
รบกวนสอบถามการแก้ไข เพิ่มกำลังการผลิต โดยเพิ่มวันทำงาน
ในกรณีที่บัตรส่งเสริมอนุมัติเป็น 2 หน่วย เวลาคำนวนแก้ไข ต้องคำนวนและแก้ไขเพิ่มทั้ง 2 หน่วยถูกต้องไหมคะ
ขอบคุณค่ะ
กรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริม โดยกำหนดหน่วยของกำลังผลิตเป็น 2 หน่วย (เช่น ชิ้น หรือกิโลกรัม)
หากขอเพิ่มกำลังผลิตโดยการเพิ่มเวลาทำงาน ก็จะได้รับอนุญาตให้แก้ไขกำลังผลิตทั้ง 2 หน่วย ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น ครับ