ในกรณีที่เปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ถ้าในอนาคตทางบริษัทซื้อเครื่องจักรเพิ่ม
1. ทางบริษัทสามารถขอแก้ไขกำลังการผลิตเนื่องจากซื้อเครื่องจักรเพิ่มได้หรือไม่
2.หรือแก้ไขวันทำงานเพิ่มได้ไหมคะในกรณีที่บัตรเปิดวันทำงาน 240 วัน แก้เป็น 365 วัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
บ. S......
1. การแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิต/หรือเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ใช้แนวทางตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 คือ
หากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว (หรือครบกำหนดเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว) จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม
กรณีที่สอบถามตามข้อ 1 จึงไม่สามารถทำได้ จะต้องยื่นเป็นโครงการใหม่ (ขยายกิจการ)
2. การขอเพิ่มกำลังผลิตโดยเพิ่มเวลาทำการ ใช้แนวทางตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2543
คือ จะให้เพิ่มกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม จากการเพิ่มเวลาทำงานของเครื่องจักร
ซึ่งไม่มีข้อกำหนดว่าจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม
กรณีที่สอบถามตามข้อ 2 จึงสามารถยื่นขอแก้ไขได้
แต่จะได้ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น ครับ
รบกวนสอบถามในกรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
ทางบริษัทต้องการขอแก้ไข เพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์ ได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ต้องไปยื่นเรื่องที่กองไหนคะ เอกสารและข้อมูลต้องใช้อะไรบ้าง
ขอบคุณค่ะ
1. หากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขโครงการที่ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมได้
ยกเว้นกรณีกิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน จะมีเงื่อนไขแยกต่างหาก
2. คำขอแก้ไขโครงการ ยื่นต่อกองที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท
แบบฟอร์มคำขอแก้ไข และเอกสารที่จำเป็น ตาม Link ครับ
จากข้อ 1.หากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขโครงการที่ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมได้
ถ้าบริษัทขอแก้ไขเพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้ใช่ไหมคะ เพราะไม่มีการลงทุนเพิ่ม
ขอบคุณคะ่
เช่น
ผลิตภัณฑ์ ตามอนุมัติ COPPER WIRE ROD
เพิ่มเป็น
- COPPER WIRE 1.80MM
- COPPER WIRE 1.80MM ANNEALED
- OFC COPPER WIRE / OFC COPPER WIRE ROD
1. Copper Wire Rod กับ Copper Wire ต่างกันอย่างไรหรือครับ
และปัจจุบันเกิดปัญหาอะไร กับหน่วยงานใด จึงคิดว่าต้องแก้ไขโดยการเพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์
2. Annealed คือการอบ
บริษัทมีการผลิต Copper Wire ที่ไม่ต้องอบด้วยหรือครับ
3. OFC (Oxygen Free Copper) เป็นการระบุคุณสมบัติของทองแดง
1.80 MM เป็นการระบุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ทั้ง 2 กรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องนำมาตั้งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม ครับ
2. Annealed คือการอบ
บริษัทมีการผลิต Copper Wire ที่ไม่ต้องอบด้วยหรือครับ
- ใช่ค่ะ มีแบบ อบ กับ ไม่ อบ ตามความต้องการของลูกค้าค่ะ
ทั้ง 2 กรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องนำมาตั้งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม
- ถ้าไม่เพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์ รบกวนช่วยแนะนำได้ไหมคะ ตอนออกอินวอยซ์ขายให้ลูกค้าควรระบุแบบไหน ในกรณีที่ลูกค้าต้องการให้ระบุชื่อสินค้าค่ะ
ขอบคุณค่ะ
1. กรณีการอบ
สามารถระบุในกรรมวิธีการผลิตให้ถูกต้อง เช่น
- บางกรณี อบตามความต้องการของลูกค้า
2. สำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม คิดว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข
เนื่องจากชื่อที่สอบถาม เข้าใจว่าจัดเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม คือ Copper Wire Rod ได้ทั้งสิ้น
เช่น OFC Copper Wire, Annealed Copper Wire ฯลฯ
โดยให้ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตสำหรับชื่อที่จะจำหน่ายจริงเหล่านี้ด้วย ครับ
1. กรณีการอบ
ขั้นตอนนี้มีการขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตและได้รับอนุมัติแล้วค่ะ
2.สำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม คิดว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข โดยให้ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตสำหรับชื่อที่จะจำหน่ายจริงเหล่านี้ด้วย ครับ
- ความหมายคือ ไม่ต้องแก้ไขบัตรส่งเสริม แต่ให้ยื่นขออนุมัติสูตรตามชื่อที่จะจำหน่าย เมื่อได้รับอนุมัติก็สามารถจำหน่ายได้ตามนั้นใช่ไหมคะ
ขอบคุณค่ะ
หากสินค้าที่จำหน่าย เป็นผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม
ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไข หรือเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์
การยื่นขอสูตรให้ตรงกับชื่อที่จำหน่าย เป็นหลักเกณฑ์ตามปกติ เพื่อให้ตัดบัญชีวัตถุดิบได้ ครับ
ขอสอบถามค่ะ กรณีที่บริษัท เปิดดำเนินการเต็ม โครงการแล้ว อนาคต มี จะมีผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ สามารถขอแก้ไขโคงการ ได้ไหมค่ะ
กิจการ ผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้า เช่น Air puridifier , Humidifier , Dehumidifier
ผลิตภัณฑ์ใหม่ Water dispenser เครื่องทำน้ำร้อน-เย็น
1. ไม่มีการลงทุนเพิ่ม ใช้เครื่องจักรเดิม ...
2. กรรมวิธีการผลิต เหมือนเดิม
สามารถขอแก้ไขโครงการได้หรือไม่ค่ะ ...และมีกรณีไหนบ้าง ที่สามารถแก้ไขโครงการได้ โดยที่ไม่ต้อง ขอเปิดบัตรส่งเสริมใหม่ .
1. การแก้ไขโครงการที่มีการลงทุน กำหนดหลักเกณฑ์ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547
คือจะต้องเป็นโครงการยังไม่ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการ (และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ)
2. กรณีที่สอบถาม เป็นการแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ของโครงการที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว โดยไม่มีการลงทุนเพิ่ม
จึงไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2547
สามารถยื่นขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ได้
3. แนวทางพิจารณาจะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงนั้นๆ แต่โดยทั่วไป คือ
3.1 ผลิตภัณฑ์ใหม่จัดอยู่ในกิจการประเภทเดียวกับที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมหรือไม่
3.2 หากเป็นกิจการคนละประเภท สิทธิประโยชน์ทางภาษีของประเภทกิจการเดิมและประเภทกิจการใหม่ เท่ากันหรือไม่
และพ้นระยะเวลาการใช้สิทธิภาษีเงินได้แล้วหรือไม่
3.3 cycle time ในการผลิตของผลิตภัณฑ์เก่าและใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
3.4 กรรมวิธีการผลิตต้องเหมือนเดิม เนื่องจากจะต้องไม่การลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
กรณีที่สอบถาม
หากชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม ระบุเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น A, B, C
และบริษัทจะขอแก้ไขโครงการเพื่อผลิต D, E,...
4. หาก D, E, .. จัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
ไม่ต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เนื่องจากชนิดผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ครอบคลุม D, E, .. และอื่นๆ ที่เป็นเครื่องไฟฟ้า ไว้แล้ว
เพียงแค่ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิต D, E,.. เพิ่มเติม โดยไม่ต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ
5. แต่หาก D, E,.. ไม่จัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า
จะต้องยื่นแก้ไขโครงการ เพื่อแก้ไขทั้งชนิดผลิตภัณฑ์และประเภทกิจการ
รวมถึงจะต้องแยกกำลังผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จัดอยู่คนละประเภทกิจการด้วย ครับ
สอบถามเพิ่มเติมค่ะ ต่อจาก เดิม คือ ที่แจ้งว่า บัตรส่งเสริม
ระบุเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น A, B, C เครื่องฟอกอากาศ เครื่องทำความชืน เครื่องเพิ่มชื่น
1. ส่วน บริษัทจะขอแก้ไขโครงการเพื่อผลิต D, E,... เป็นเครื่องกดน้ำร้อน -นำเย๋็น ในการตีความหมายของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ นิยาม ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องมีแยกประเภท ด้วยไหมค่ะ หรือ สามารถใช้ได้ทุกประเภท หรือค่ะ ขอคำแนะนำ เพิ่มเติม ค่ะ สามารถ ศึกษา ได้จากแหล่งไหนได้บ้างค่ะ เพื่อความเข้าใจมากขึ้นค่ะ
2. ถ้าอย่างกรณี ที่บัตร เป็น กิจการ เครื่องไฟฟ้า ชื่อ ที่ใช้ต่างกัน กับ เดิม ที่ใช้ เป็น Air pruridifier ....ถ้าไม่แก้ไข ใช้บัตร เดิม ที่เป็น Water disperser สามารถยื่นขอสสูตร ได้เลยใช่ไหมค่ะ
ตอบคำถามตามนี้
1. การจะพิจารณาว่า D, E,.. ถือเป็นเครื่องไฟฟ้าตามที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมหรือไม่ และจัดอยู่ประเภทกิจการเดียวกับที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมหรือไม่
ควรหารือกับ จนท BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง จะเหมาะสมกว่า
2. กรณีที่ จนท เห็นว่า D, E,.. อยู่ในขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริม
บริษัทก็ไม่ต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ แต่สามารถยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตได้เลย
3. ขอยกตัวอย่างเทียบเคียง เช่น
ถ้าผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริมระบุว่าเป็น "ชิ้นส่วนโลหะจากการปั๊มขึ้นรูป เช่น Ring, Cover เป็นต้น"
บริษัทจะผลิตชิ้นส่วนโลหะ เช่น X, Y, Z,... อะไรก็ได้ (โดยจะไม่ผลิต Ring และ Cover ก็ได้)
แต่ต้องเป็นชิ้นส่วนโลหะที่ผลิตโดยการปั๊มขึ้นรูป และต้องมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม
และสามารถยื่นขอสูตรการผลิต X, Y, Z,.. โดยไม่ต้องแก้ไขบัตรส่งเสริม ครับ