FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / เครื่องจักร / สิทธิประโยชน์ มาตรา 28 และ 29
การโอนเครื่องจักร
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
oyooat เมื่อ 6 ธค 65, 09:09 น.

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการ 5.5  ชนิดผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน Hard Disk Drive เช่น Pivot Cartridge เป็นต้น ต่อมาธุรกิจ Hard Disk Drive ถดถอย ส่งผลกระทบต่อคำสั่งซิ้อสินค้าและกำลังการผลิตลดลงตามลำดับ จึงทำให้เครื่องจักร CNC Precision Automatic Lathe MC With Standard Accessories ไม่ได้ใช้งานหลายเครื่อง 

หากบริษัทฯ ต้องการโอนเครื่องจักรดังกล่าว ไปยังบัตรส่งเสริมอีกบัตร ซึ่งเป็นประเภทกิจการ 4.1.3 ชิ้นส่วนโลหะ เช่น Body Valve, Valve Seat  เป็นต้น  ขอสอบถามข้อมูลดังนี้

1. บริษัทฯ สามารถดำเนินการโอนเครื่องจักรไปยังบัตรส่งเสริมประเภทกิจการ 4.1.3 ได้หรือไม่ โดยมีกรรมวิธีการผลิตคล้ายคลึงกัน ประกอบกับประเภทกิจการ 5.5 ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการเรียบร้อย คงเหลือประเภทกิจการ 4.1.3 ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ 

2. ยื่นเรื่องที่สำนักงาน BOI หรือ ยื่นผ่านระบบ eMT Online และต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง ระยะเวลาการพิจารณากี่วันทำการ

3. ปริมาณเครื่องจักรที่สามารถโอนได้สูงสุดเป็นจำนวนกี่เครื่อง หากเป็นเครื่องจักรหลัก สามารถโอนได้หรือไม่ 

4. หากโอนเครื่องจักรไม่ได้ บริษัทฯ สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ADMIN เมื่อ 6 ธค 65, 12:46 น. #1

ตอบคำถามดังนี้ครับ

ข้อ 1-3 

การโอนเครื่องจักร Lathe Machine จากโครงการที่ 1 (ชิ้นส่วน HDD) ไปยังโครงการที่ 2 (ชิ้นส่วนโลหะ)

จะทำให้โครงการที่ 1 มีกำลังผลิตลดลง

และโครงการที่ 2 ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ จึงจะเป็นการนำเครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศ มาใช้ในขั้นตอนหลักของโครงการ
ซึ่งจะขัดกับหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม

ข้อ 4

หากเครื่องจักรในโครงการที่ 1 มีเครื่องจักรในขั้นตอนต่างๆ ครบเพียงพอที่จะผลิตชิ้นส่วนโลหะ

อาจขอแก้ไขประเภทกิจการและชนิดผลิตภัณฑ์ ของโครงการที่ 1 โดยลดกำลังผลิตชิ้นส่วน HDD ลงบางส่วน เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนโลหะแทน

ซึ่งการแก้ไขนี้ สามารถดำเนินการได้ แม้ว่าโครงการที่ 1 จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม

แต่จะต้องเป็นการแก้ไข ที่ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ครับ

 

oyooat เมื่อ 8 ธค 65, 08:49 น. #2

1.ถ้าโครงการที่2 (บัตรส่งเสริมประเภทกิจการ 4.1.3 ชิ้นส่วนโลหะ เช่น Body Valve, Valve Seat  เป็นต้น ) เปิดดำเนินการเรียบร้อบแล้ว จะสามารถนำครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการได้ใช่หรือไม่

2.โครงการที่2 ต้องดำเนินการขอแก้ไขโครงการขอใช้เครื่องจักรเก่าหรือไม่

3.การขอรับการส่งเสริมโครงการใหม่ กรณีขอใช้เครื่องจักรร่วม ที่เป็นเครื่องจักรหลักจะสามารถทำได้หรือไม่

รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ADMIN เมื่อ 8 ธค 65, 17:20 น. #3

ตอบข้อ 1-2

- การใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ จะไม่นับรวมเป็นส่วนที่ได้รับส่งเสริม ไม่ว่าจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม

ตอบข้อ 3

- กรณีขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ โดยจะขอใช้เครื่องจักรหลักร่วมกับโครงการเก่า

คงต้องให้คำตอบเป็นกรณีๆไป เนื่องจากความหมายของเครื่องจักรหลัก อาจเข้าใจไม่ตรงกัน

แตคำตอบเบื้องต้นคือ ไม่น่าจะได้ครับ


การขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่น อาจใช้แนวคิดว่า การขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่น = การนำไปว่าจ้างผลิต ก็ได้

คือ หากบริษัทยื่นขอส่งเสริม โดยไม่มีขั้นตอนดังกล่าว (ขั้นตอนที่จะขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่น) จะยังอยู่ในข่ายที่จะให้ส่งเสริมได้หรือไม่

หากไม่อยู่ในข่าย เช่น กรรมวิธีไม่ทันสมัย มูลค่าเพิ่มต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ... ก็จะไม่สามารถขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่นได้

- และในส่วนของโครงการที่จะขอนำเครื่องจักรไปให้โครงการอื่นใช้ร่วม (การนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่น) ก็ต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย ครับ 

oyooat เมื่อ 17 กพ 66, 14:44 น. #4

เครื่องจักรและวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI  หลังได้รับการยกเลิกบัตรส่งเสริมเรียบร้อยแล้ว อยากทราบว่า
1. เครื่องจักรสามารถนำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฉบับอื่นๆ ได้หรือไม่  หรือให้ใช้เฉพาะกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริม (NON BOI) เท่านั้น
2. เครื่องจักรสามารถจำหน่ายในประเทศได้หรือไม่   หรือต้องส่งออกไปต่างประเทศเท่านั้น   หรือขายเป็นเศษซาก
3. วัตถุดิบสามารถจำหน่ายในประเทศได้หรือไม่   หรือต้องส่งออกไปต่างประเทศเท่านั้น  หรือขายเป็นเศษซาก
4. กรณีโอนเครื่องจักร จะต้องยื่นเรื่องโอนเครื่องจักรหรือวัตถุดิบก่อนปิดโครงการใช่หรือไม่  และขอทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

ADMIN เมื่อ 17 กพ 66, 15:20 น. #5

ตอบคำถามดังนี้ครับ

1. เครื่องจักรจากโครงการที่ยกเลิกบัตรส่งเสริม ถือเป็นเครื่องจีกเก่าในประเทศ

จึงไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการอื่นที่ได้รับส่งเสริมได้ เนื่องจากจะขัดกับเงื่อนไขของโครงการนั้นๆ ที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ

 2. หากบริษัทได้ตัดบัญชีเครื่องจักรและจำหน่ายออกจากโครงการ / หรือชำระภาษีอากรเครื่องจักรแล้ว

เครื่องจักรนั้น ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการใช้สิทธิอีกต่อไป

บริษัทจะจัดการเครื่องจักรดังกล่าวอย่างไรก็ได้ เช่น จำหน่าย ส่งออก บริจาค ใช้ในกิจการ non-BOI ฯลฯ

เพียงแต่หากนำไปใช้ในโครงการอื่น --> โครงการที่นำเครื่องจักรนั้นไปใช้ จะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการส่งเสริม

3. วัตถุดิบที่ได้ชำระภาษีอากรไปแล้ว จะถือเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้สิทธิ

บริษัทจะจัดการวัตถุดิบดังกล่าวก็ได้ เช่น จำหน่ายในประเทศ ฯลฯ

4. การโอนเครื่องจักร ไม่มีประกาศ BOI ที่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นการเฉพาะ

ปกติทั่วไปคือ ไม่น่าจะโอนได้ เนื่องจากจะเป็นการผิดเงื่อนไขของบัตรที่รับโอน ที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ ครับ