-บริษัทฯ ใช้วัตถุดิบ ฺBlank Metal Case Back โดยใช้สิทธิฯ ม.36
-บริษัทฯ ดำเนินกระบวนการตัด ขัด พิมพ์ลาย เปลี่ยนเป็นวัตถุดิบ Case Back
-ต้องการนำ Case Back ไปเคลือบชิ้นงาน(Coating)กับบริษัท ทีอยู่ในเขตEPZ และนำกลับเข้ามาสู่กระบวนการผลิตสินค้า หรือบางส่วนจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป
-Invoice ที่ส่งชิ้นงานออกไปจะไม่มีการเก็บเงินค่าสินค้า (N.C.V)
-บริษัท ผู้รับจ้างจะออกใบแจ้งหนี้มาเรียกเก็บค่าบริการ+ภาษีมูลค่าเพิ่ม
-บริษัทฯ จะต้องดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อนำวัตถุดิบออก และนำเข้าเมื่อแล้วเสร็จ
คำถาม
1.บริษัทฯ สามารถใช้สิทธิฯ ยกเว้นอากร ม.36 ได้หรือไม่
2.แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อขออนุม้ติในการสั่งปล่อย และตัดบัญชีอย่างไร
ประเภทใบขนสินค้าขาออก D=ใบขนสินค้าขาออกโอนย้ายเข้าเขตปลอดอากร
ประเภทใบขนสินค้าขาเข้า C=ใบขนสินค้าโอนย้ายจากเขตปลอดอากร
(แอดมินลบ/แก้ไขข้อความบางส่วน ที่อาจทำให้ทราบผู้ตั้งคำถาม)
สรุปคำถามคือ บริษัทผลิตชิ้นส่วนคือ Case Back ในโรงงาน จากนั้นจะนำไปว่าจ้างบริษัทใน EPZ ให้ Coating แล้วนำกลับมาผลิตต่อเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบคำถามดังนี้
1) กรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะต้องระบุว่า มีการนำ Case Back ไปว่าจ้าง Coating (หรืออาจระบุกว้างๆ เช่น บางกรณีนำชิ้นส่วน เช่น ... ไปว่าจ้าง Coating ก็ได้)
หากไม่มีขั้นตอนว่าจ้างนี้ ต้องยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีผลิตก่อน
2) แนวทางปฏิบัติ (อาจจะไม่เหมือนกันทุกกรณี ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ จนท) คือ
2.1 จะอนุมัติสูตรการผลิต Case Back เพื่อให้ตัดบัญชี Case Back ที่ส่งไปยัง EPZ ได้ (สถานะเดียวกับส่งออกไปต่างประเทศ)
2.2 จะอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ คือ Coated Case Back (สมมุติ) เพื่อให้นำ Case Back ที่ผ่านการ Coating เข้ามาจาก EPZ ได้ (สถานะเดียวกับนำเข้าจากต่างประเทศ)
2.3 ปริมาณ Max Stock ของ Coated Case Back ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของบริษัท และการพิจารณาของ จนท
2.4 จะต้องแก้ไขสูตรการผลิตสินค้า เพื่อแก้ไขรายการวัตถุดิบเป็น Coated Case Back
2.5 การสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร และการตัดบัญชี ในส่วนที่เกี่ยวข้องนี้ ใช้วิธีเดียวกับกรณปกติทั่วไป
3) ในส่วนพิธีการของกรมศุลกากร ขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ซึ่งตามความเข้าใจของแอดมินคือ
3.1 ในการส่ง Case Back ไปว่าจ้างใน EPZ แม้มูลค่าตามอินวอยซ์จะเป็น 0 (เนื่องจากยังเป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง) แต่จะต้องสำแดงราคาเพื่อประเมินอากรตามจริงด้วย เช่น 100 บาท
3.2 ในการนำกลับเข้ามาจาก EPZ แม้มูลค่าตามอินวอยซ์จะเป็น 20 บาท (ค่าบริการ Coating) แต่จะต้องสำแดงราคาเพื่อประเมินอากรตามจริงด้วย เช่น 100 + 20 = 120 บาท ครับ