FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การขอรับส่งเสริม / ภาพรวมการขอรับการส่งเสริม
การขอบัตรส่งเสริมใหม่
1 - 4 จาก 4 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 1 กย 65, 11:10 น.

เนื่องจากทางบริษัทฯ มีบัตรส่งเสริมอยู่แล้ว 1 ฉบับ (กิจการประเภท 6.5 ) และได้รับสิทธิ์นำเข้าเครื่องจักรครบแล้ว

ที่นี้ทางบริษัทฯ กำลังจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น และต้องการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้น

หากต้องการขอบัตรส่งเสริมใหม่ อีก 1 ฉบับ ในประเภทกิจการที่ 6.5 เหมือนเดิม

สามารถทำได้หรือไม่ ในเรื่องเอกสารต้องเตรียมตรงไหนเป็นพิเศษไหมค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

บริษัท Qu...........

ADMIN เมื่อ 1 กย 65, 12:15 น. #1

การขอรับส่งเสริมโครงการที่ 2 (ขยายกิจการ)

จะผลิตสินค้าเดียวกับชนิดที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม หรือไม่ อย่างไรก็ได้

มีเงื่อนไขคือ

1.ต้องเป็นกิจการที่อยู่ในบัญชีประเภทที่กิจการที่ให้การส่งเสริม ณ วันที่ยื่นคำขอ

2.ต้องไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาต

3.กรณีใช้อาคารโรงงานร่วมกับโครงการเดิม ไม่นำมูลค่าก่อสร้างมารวมนับเป็นขนาดการลงทุน (เว้นแต่เป็นการก่อสร้างเพิ่มเติม ที่พิสูจน์ได้ว่าใช้เพื่อโครงการใหม่เท่านั้น)

4.ไม่นำมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆ ทั้งปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มราวมนับเป็นขนาดการลงทุน

5.อาจไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการที่ผ่านมา

6.ต้องแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละโครงการ เพื่อการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

7.อื่นๆ ที่เหลือส่วนใหญ่ จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกับการขอรับส่งเสริมโครงการแรก ครับ

nst เมื่อ 1 กพ 66, 14:11 น. #2

สอบถามเรื่องการส่งเสิรมการลงทุน ปัจจุบันบริษัทได้รับการส่งเสริมแล้ว 2 บัตร คือ ปี บัตรปี 2554(เปิดดำเนินการแล้ว) และปี 2562 (ยังไม่เปิดดำเนินการ)

และกำลังจะได้รับ คำสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศ โดยผ่านบริษัทแม่ที่ต่างประเทศ  และลูกค้าจะเป็นผู้ลงทุนเครื่องจักรให้  และส่งมาให้บริษัทฯ ผลิตสินค้าโดยใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรsupport วัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตอื่นๆในไทย 

1. สำหรับกรณีนี้บริษัทจะขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่   

2. เครื่องจักรที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสามารถนับรวมมูลค่าโดยแนบสัญญาจากลูกค้าและใช้มูลค่าที่นำเข้าเป็นมูลค่าการลงทุนได้หรือไม่

รบกวนด้วยค่ะ

ADMIN เมื่อ 2 กพ 66, 18:33 น. #3

หากลูกค้า (B) ในต่างประเทศ เป็นผู้ลงทุนเครื่องจักรเอง และส่งเครื่องจักรนั้นมาให้บริษัท (A) ในประเทศไทย เพื่อผลิตสินค้าให้กับลูกค้า (B)

1. กรณีนี้ A แม้ว่าอาจขอรับการส่งเสริมได้ 

แต่มูลค่าการลงทุน (= มูลค่าการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) จะมีเพียงค่าก่อสร้างและค่าเครื่องจักรอื่นๆ ที่ A ลงทุนเพิ่มเติมเอง เพื่อประกอบกิจการในส่วนนี้

2. มูลค่าเครื่องจักร จะนับเป็นเงินลงทุนได้ต่อเมื่อ (1) A เป็นผู้ลงทุนเครื่องจักรเอง หรือ (2) A ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรจาก B (อายุสัญญาเช่าเกินกว่า 1 ปี)

แต่กรณี เป็นสินทรัพย์ที่ผู้ว่าจ้างส่งมาให้ผู้รับจ้างใช้ผลิตสินค้าให้ผู้รับจ้าง จึงไม่นับเป็นมูลค่าการลงทุนของ A

3. กรณีที่สอบถาม มูลค่าเครื่องจักรที่นำเข้า

- ในทางศุลกากรจะสำแดงมูลค่าตามจริงเพื่อประเมินอากร (custom purpose)

- ในทางบัญชีจะเป็น 0 เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ผู้ว่าจ้างส่งมาให้ใช้ จึงไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าเครื่องจักร/หรือค่าเช่าใช้เครื่องจักร ครับ

nst เมื่อ 3 กพ 66, 09:12 น. #4

ขอบคุณมากค่ะ  ADMIN