สอบถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ BOI ที่เกี่ยวกับเครื่องจักร โดยมีข้อสงสัยและคำถามเกี่ยวกับการทำลายเครื่องจักร ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ค่ะ
กรณีทางบริษัทฯ มีเครื่องจักรที่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจาก เครื่องจักรหล่น ตอนทำการติดตั้ง ทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องจักรได้ และเครื่องจักรนี้มีอายุไม่เกิน 5 ปี จึงจำเป็นต้องขออนุญาตทำลายเครื่องจักรกับ BOI
คำถามคือ ทางบริษัท ยังไม่เคยทำลายเครื่องจักรมาก่อน นอกจากขออนุญาตทำลายกับทาง BOI แล้ว บริษัทต้องแจ้งกับทางฝ่ายไหนให้ทราบเกี่ยวกับการทำลายนี้อีกหรือไม่
และขั้นตอนในการดำเนินการทำลาย อยากทราบว่า ทางบริษัทเข้าใจถูกต้องหรือไม่ค่ะ
ก่อนการทำลาย
-ขออนุญาตทำลาย ระบุเหตุผลในการทำลาย ระบุขั้นตอนการทำลาย ในระบบ EMT แล้วรอทาง BOI อนุมัติ แล้วจึงจะทำลาย (โดยรอพิจารณา ประมาณ 30 วัน)
ตอนทำลาย
- จ้างบริษัท ทำลาย scrap มาทำลาย พร้อมกับแจ้ง Inspector ที่ได้รับการรับรองจากทาง BOI มาตรวจสอบและออกใบCer ให้
หลังการทำลาย
- ขออนุญาตตัดบัญชีทำลายเครื่องจักรในระบบ EMT
บริษัท Q......
การขอทำลายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนภาษีอากร กำหนดไว้ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2555
ขั้นตอนการทำลายตามที่สอบถาม เข้าใจถูกต้องแล้ว คือ
1. ยื่นขออนุมัติทำลายเครื่องจักร (ที่ยังไม่ปลอดจากภาระภาษี) ในระบบ eMT
2. หากเป็นการทำลายเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% จะต้องมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน หรือต้องลดขนาดโครงการ
3. ในการทำลาย จะต้องให้บริษัท inspector ที่ได้รับคัดเลือกจาก BOI ให้เข้าร่วมตรวจสอบ และออกใบรับรองการทำลาย
4. จากนั้นยื่นตัดบัญชีเครื่องจักร ในระบบ eMT ต่อไป ครับ
เรียน ADM,
ขอเรียนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
ในกรณีที่ บริษัทฯนำเข้าเครื่องจักรภาย มาตรา 28 รายการเป็นท่อ piping และ สายไฟ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว พบ ว่ามีเศษที่เหลือจากการตัด ให้ได้ตามขนาด
เศษที่เหลือไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ จึงจะทำลาย
1.กรณีนี้สามารถดำเนินการตามในกระทู้นี้ด้วยหรือไม่คะ
2.เศษ Scrap หลังทำลายแล้วสามารถขายเป็นเศษซากได้หรือไม่
3.หากขายได้ ต้องนำไปเสียภาษีก่อนหรือไม่คะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบคำถามดังนี้
1. เศษท่อและเศษสายไฟ ตามที่บริษัทสอบถาม ไม่ใช่เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย
จึงไม่เข้าข่ายการขอทำลายเครื่องจักร ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2555
2. การดำเนินการเกี่ยวกับเศษของเครื่องจักร (หรือของที่นำเข้าในข่ายเครื่องจักร)
ไม่มีประกาศกำหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะ
3. ความเห็นของแอดมินคือ ควรหารือกับ จนท BOI ที่รับผิดชอบงานเครื่องจักรของบริษัท
จากนั้นอาจทำหนังสือบริษัทขอจำหน่ายเศษเครื่องจักรดังกล่าว (เศษท่อ เศษสายไฟ) โดยสรุปชนิดและปริมาณของเศษ
เพื่อให้ BOI พิจารณาอนุญาตต่อไป ครับ
ขอบคุณมากค่ะ
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
เนื่องจากเป็นกรณีของเศษท่อ ที่บริษัทจะขอจำหน่าย
ปกติ BOI จะให้ชำระภาษีตามสภาพเศษ ครับ