FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน IC / ระบบ RMTS 2011 / บัญชีวัตถุดิบและปริมาณอนุมัติสูงสุด (MML)
ความหมายของคอลัมน์ใน MML
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
GUEST เมื่อ 6 มิย 65, 19:00 น.

รบกวนสอบถามค่ะ

MML คอลัม Balance คือ ยอดที่สามารถนำเข้าได้ใช่ไหมค่ะ
APP_QTY คืออะไรค่ะ

บริษัท Y..........

ADMIN เมื่อ 6 มิย 65, 19:54 น. #1
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 6 มิย 65, 19:58 น.

ความหมายของคอลัมน์ใน MML ที่สอบถาม ตามนี้ครับ

balance คือ ปริมาณคงเหลือในบัญชี
เป็นปริมาณที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี แต่ยังไม่ได้นำหลักฐานส่งออกมาตัดบัญชี หรือปรับยอด
เมื่อสิทธิประโยชน์สิ้นสุดลง จะแจ้งกรมศุลกากรเรียกเก็บภาษี ตามจำนวนยอดค้างคงเหลือนี้

app_qty คือ ปริมาณที่สามารถยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยได้
ถ้า balance เพิ่มขึ้น -> app_qty จะลดลง
ถ้า balance ลดลง -> app_qty จะเพิ่มขึ้น


สำหรับคอลัมน์อื่นๆ คือ

max_stock คือ ปริมาณสั่งปล่อย/ถือครองสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ

imp_qty คือ ปริมาณนำเข้าสะสม

exp_qty คือ ปริมาณส่งออกสะสม

ven_qty คือ ปริมาณสะสมจากการโอนสิทธิตัดบัญชีให้ vendor BOI (นำสิทธิที่ได้รับ ไปตัดบัญชีต่อได้)

loc_qty คือ ปริมาณสะสมจากการโอนสิทธิตัดบัญชีแบบ non-BOI (นำสิทธิที่ได้รับ ไปตัดบัญชีต่อไม่ได้) และผ่านการตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว

tmp_qty คือ ปริมาณสะสมจากการโอนสิทธิตัดบัญชีแบบ non-BOI (นำสิทธิที่ได้รับ ไปตัดบัญชีต่อไม่ได้) แต่ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

adj_qty คือ ปริมาณสะสมจากการปรับยอด balance ด้วยสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการตัดบัญชี เช่น ทำลายส่วนสูญเสีย / ชำระภาษี / ส่งคืนวัตถุดิบ เป็นต้น โดยจะมีทั้งค่าบวก (เพิ่มยอด balance) และค่าลบ (ลดยอด balance) 


 ความสัมพันธ์ของแต่ละคอลัมน์ คือ

app_qty = max_stock - balance
ปริมาณที่สามารถสั่งปล่อยได้ = ปริมาณอนุมัติสูงสุด - ปริมาณค้างคงเหลือในบัญชี

balance = imp_qty + ven_qty + loc_qty + tmp_qty - exp_qty + adj_qty
ปริมาณค้างคงเหลือในบัญชี = ปริมาณสั่งปล่อย + ปริมาณโอนสิทธิ (ven, loc, tmp) - ปริมาณส่งออก + ปริมาณปรับยอด

หมายเหตุ: ปริมาณปรับยอด จะมีทั้งกรณีที่เป็นค่าบวก (เพิ่มยอด balance) และกรณีที่เป็นค่าลบ (ลดยอด balance) วิธีคำนวณจึงระบุเป็น +

GUEST เมื่อ 8 มิย 65, 11:18 น. #2

กรณีเราตัดบัญชีแล้ว ไม่สามารถตัดบัญชีได้
กรุ๊ป บางรายการ ที่อยู่ใรสูตร Balance  ติดลบ เรจะดำเนินการอย่างไรค่ะ

อย่างเช่น Model A
มี กรุ๊ป 15 กรุ๊ป
กรุ๊ปที่ 1-10 ตัดได้
แต่กรุ๊ปที่ 11- 15  Balance เป็น  0.00 ถ้าตัดบัญชีได้จะทำให้ยอด Balance   ติดลบ

ADMIN เมื่อ 8 มิย 65, 11:30 น. #3

การตัดบัญชีติดลบ เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น

1.สูตรการผลิตมีปริมาณการใช้วัตถุดิบสูงเกินความเป็นจริง

2.ซื้อวัตถุดิบจากภายในประเทศ จาก vendor BOI (และ non-BOI)

3.นำวัตถุดิบเข้ามาโดยชำระภาษี

4.นำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิตามมาตรการอื่น เช่น FTA

5.ได้รับโอนสิทธิ (report-v) จากลูกค้าเกินกว่าปริมาณที่จำหน่าย แล้วนำ report-v ที่เกินนั้นมาตัดบัญชี ฯลฯ

จึงควรต้องตรวจสอบสาเหตุ และแก้ไขให้ถูกต้องตามสาเหตุนั้นๆ


หากการตัดบัญชีติดลบ เกิดจากการซื้อวัตถุดิบในประเทศ จาก vendor non-BOI

ให้ยื่นไฟล์ vendor.xlsx เท่ากับจำนวนที่ติดลบ โดยระบุข้อมูล vendor non-BOI

และระบุช่อง VEN_TYPE, VEN_PRODUCT_CODE, และ VEN_ENGLISH_DESC เป็นค่าว่าง ครับ

ZAZAZA เมื่อ 25 มีค 67, 17:38 น. #4

adj_qty ติดลบเกิดจากอะไรได้บ้างคะ

ADMIN เมื่อ 28 มีค 67, 13:33 น. #5

1. การบันทึกปริมาณที่ขอปรับยอด เช่น ส่งคืนวัตถุดิบ หรือปรับยอดส่วนสูญเสียนอกสูตร จะบันทึกเป็นค่าลบ

เช่น หากส่งคืนวัตถุดิบ 1,000 ชิ้น และยื่นปรับยอด
บริษัทจะคีย์ค่าในไฟล์ปรับยอดเป็น -1,000 C62

แต่หากเป็นการรับโอนวัตถุดิบจากโครงการอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มยอด balance จึงจะคีย์เป็นค่าบวก

2. adj_qty คือปริมาณสะสมของการปรับยอด

ดังนั้น หากบริษัทส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ 5 ครั้ง ครั้งละ 1,000 ชิ้น

adj_qty จะมีค่าสะสมเป็น -5,000

3. การปรับยอดส่วนใหญ่ จะเป็นการขอลดยอด balance ใน MML

เช่น ปรับยอดจากการส่งคืนวัตถุดิบ หรือทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร เป็นต้น

ดังนั้น ค่า adj_qty ใน MML ส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นลบ ครับ