สืบเนื่องกระทู้เดิมเรือง Solar roof
ตั้งกระทู้ใหม่เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการลงทุนใหม่ว่าจะได้รับสิทธิเพิ่มเติมอะไรบ้าง หากลงทุนติดตั้ง Solar roof ค่ะ (กิจการ 5.1.3)
มาตรการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มสำหรับกิจการกลุ่ม B ปัจจุบันมี 2 มาตรการ คือ
1. กรณีที่ใช้เครื่องจักรที่มีระบบทันสมัย และมีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ -> ประกาศ กกท ที่ 2/2564
2. กรณีมีการลงทุนในการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 -> ประกาศ กกท ที่ 26/2564
ข้อกำหนดโดยย่อคือ
1. ต้องเป็นการลงทุนใหม่
2. ต้องมีบัญชีประเภทกิจการที่ให้ส่งเสริม โดยจัดอยู่ในกลุ่ม B
3. กิจการบางประเภท ไม่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิตามมาตรการนี้ (ประกาศ สกท. ที่ ป.1/2564)
4. ต้องมีการลงทุน 2 ส่วนคือ
4.1) ส่วนที่ลงทุนเพื่อประกอบกิจการตามประเภทนั้นๆ
4.2) ส่วนที่ลงทุนตามมาตรการให้สิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น ลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ หรือลงทุนเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0
5. ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ กำหนดเป็นสัดส่วน (50% หรือ 100%) ตามมูลค่าการลงทุนข้อ 4.2
การลงทุนใหม่ในกิจการกลุ่ม B โดยจะมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์
ไม่อยู่ในข่ายที่จะขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการข้างต้นนี้ ครับ
เพื่อความกระจ่าง ขออนุญาตยกคำถามจากกระทู้เดิม (ในไฮไลท์เหลืองด้านล่าง) มาถามตรงนี้อีกรอบนะคะ
โครงการกลุ่มบี ไม่สามารถได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่อธิบายจากคำตอบในโพสต์ที่ 1 แต่หากเปิดดำเนินการแล้วสามารถขอสิทธิตามมาตรการประหยัดพลังงาน (โซลาร์เซลล์) ได้ ถูกต้องไหมคะ
และขอสอบถามแนวทางการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการเปิดดำเนินการ (รายละเอียดอยู่ในคำถามข้อที่ 2 ในไฮไลทเหลืองด้านล่างค่ะ
2. โครงการใหม่ที่ต้องการจะขยายออกไปอีก 3 เท่าของโครงการปัจจุบัน หากขอรับการส่งเสิรมในตอนนี้จะเป็นประเภท บี
คำถาม
สามารถขอรับส่งสเริมมาตรการนี้ได้ (โซลาร์เซลลื) หรือไม่
คำตอบ
ได้ แต่จะต้องขอเมื่อเปิดดำเนินการแล้วเท่านั้น
คำถาม
หากโครงการได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม จะต้องเปิดดำเนินการภายใน 36 เดือน นับจากวันที่ออกบัตร และขยายได้ 1 ปี สิ่งที่บริษัทต้องทำก่อนเปิดดำเนินการ คือ การนำเข้าเครื่องจักรหลักเข้ามาทั้งหมดใช่หรือไม่คะ คือกำลังสับสนว่าหากโครงการสามารถยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดไปและไม่มีการกำหนดวงเงินภาษี จะสามารถนำเข้าเครื่องจักรหลักมาหลังจากเปิดดำเนินการได้หรือไม่ หรือว่ามีการกำหนดกำลังการผลิตตอนเปิดดำเนินการโดยบริษัทไม่สามารถผลิตเกินจากนี้ได้ (แม้จะไม่มีการคำณวนวงเงินภาษีก็ตาม)
คำตอบ
รบกวนด้วยนะคะ
ไม่เข้าใจคำถามครับ
เงื่อนไข 6 ข้อ ที่สรุปในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
และเงื่อนไข 5 ข้อ ที่สรุปในมาตรการขอรับสิทธิเพิ่มของกลุ่ม B
น่าจะชัดเจนแล้วนะครับ
แอดมินเข้าใจว่า ต้องการสอบถามทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้ในคำถามเดียว เพื่อความสะดวกของผู้ถาม
แต่ถ้าเป็นคำถามที่แตกย่อยไปในหัวข้ออื่น เช่น การเปิดดำเนินการ รบกวนไม่นำมาถามรวมไว้ในหัวข้อกระทู้ที่ไม่เกี่ยวข้องนี้ เช่น หัวข้อนี้เป็นเรื่องของการรับสิทธิเพิ่มของกิจการ B ครับ
สอบถุามเพิ่มเติมค่ะ ไม่แน่ใจว่าต้องเข้ากลุ่มไหน
สีบเนื่องจากด้านบน หากบัตรแรก (เหลือภาษีเงินได้ครึ่งนึง 5 ปี) เราเปิดดำเนินการไปด้วยเครื่องจักรที่เป็นคอขวดจำนวน 2 เครื่อง หากต่อมาเรามีการนำเข้าเครื่องจักรแบบเดียวกันเรื่อยมาอีกหลายเครื่อง เช่น 6 เครื่อง (กำลังการผลิตขยายเกินออกจากตอนเปิดดำเนินการ 2 เครื่องไปเรื่อยๆ) ต่อมาเราต้องการจะเปิดบัตรใหม่ (กลุ่ม บี) และจะนำเข้าเครื่องจักรมาเพิ่มใหม่อีกหลายเครื่อง เช่น 9 เครื่อง
คำถาม ตอนขอบัตรใหม่ เราจะต้องแจ้งจำนวนเครื่องจักรอย่างไรคะ แจ้งทั้งหมดที่เกินมาจากบัตรแรก 2 เครื่อง (6+9 คือ 15 เครื่อง) หรือแจ้งเฉพาะเครื่องที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เช่น 2+9 เป็น 11 เครื่อง)
คำถามสืบเนื่องจาก โพสต์ที่ 5 นะคะ
1. หากบัตรใหม่ทุกบัตร ไม่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องระบุเลขที่บัตรบนใบขน/อินวอยซ์ให้ถูกต้อง เพื่อแยกรายได้แต่ละบัตร
2. บัตรใหม่แต่ละบัตร สามารถระบุเลขที่บัตรบนใบขน/อินวอยซ์ เป็นเลขบัตรเดียวกันกับบัตรปัจจุบัน โดยจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีให้เต็มจำนวนที่อนุมัติสำหรับบัตรปัจจุบัน เพราะจำนวนที่เกินมาก็ไม่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้อยู่แล้วจึงไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องระบุเลขที่บัตรให้ถูกต้องหรือไม่ค่ะ
ตอบคำถามที่ #5
บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่ม 6 เครื่อง โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี แต่ไม่ได้แจ้ง BOI ว่าเป็นเครื่องจักรหลักที่ทำให้กำลังผลิตเพิ่มขึ้น
จึงไม่ถือว่าโครงการนั้นมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น
โดยถือว่ายังคงมีกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริมเดิม/ หรือตามใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
ส่วนเครื่องจักร 6 เครื่อง ที่นำเข้ามนั้น
ถือเป็นเครื่องจักรตามโครงการนั้น แต่ไม่นำมาคำนวณเป็นกำลังผลิตให้ใหม่ ครับ
ตอบคำถามที่ #6
การระบุเลขที่บัตรส่งเสริมในอินวอยซ์
เข้าใจว่าไม่ได้เป็นข้อบังคับ
แต่เป็นเพียงวิธีการหนึ่งเพื่อให้สามารถแยกรายได้ของแต่ละโครงการได้สะดวกขึ้น ครับ
การแยกคำถามเป็นหมวดหมู่ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่สนใจ สามารถค้นหาข้อมูลได้เป็นเรื่องๆ ตามหัวข้อนั้น
คำถาม #5, #6 ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับหัวข้อกระทู้นี้ "สิทธิเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนใหม่ในกลุ่ม B (ประกาศ กกท ที่ 2/2564)"
จึงขอความร่วมมือจากคุณ ZATH อีกครั้ง ให้ตั้งคำถามให้ตรงกับหมวดหมู่
เช่น หากคำถาม #5 เกี่ยวข้องกับการนำเข้าเครื่องจักรหลังเปิดดำเนินการ
ก็ตั้งคำถามในหมวดหมู่ เครื่องจักร / การนำเข้าเครื่องจักร
โดยอาจตั้งเป็นคำถามใหม่ / หรือถามต่อท้ายในคำถามเดิมของผู้อื่น ที่เคยสอบถามคำถามลักษณะเดียวกันแล้ว
หรือ หากคำถาม #6 เป็นเรื่องการระบุเลขที่บัตรส่งเสริมในอินวอยซ์ เพื่อใช้สิทธิภาษีเงินได้
ก็ตั้งคำถามในหมวดหมู่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ
รบกวนสอบถามค่ะ หากโครงการที่เป็นกลุ่ม บี ผลิตสินค้าเกินจากที่อนุมัติ จะเป็นอะไรไหมคะ พอดีไม่เคยทำโครงการที่ไม่ได้รับสิทธยกเว้นาภาษีเงินได้ที่หากเกินก็จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ แต่หากโครงการไม่ได้รับสิทธิฯอยู่แล้ว เลยไม่แน่ใจว่าจะกระทบกับอะไรบ้างน่ะค่ะ
เป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้นี้
จึงขอนำไปตอบในกระทู้ใหม่ ตาม Link ครับ