ทางบริษัท มีการนำเข้าเครื่องจักร ภายใต้สิทธิ BOI เมื่อปี 2012
และมีความประสงค์ที่จะทำการจำหน่ายเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรมีแนวโน้มการเสื่อมสภาพ
และต้องการซื้อเครื่องจักรใหม่ ภายในประเทศ ที่เป็นเครื่องที่ใช้ในกระบวนการเดียวกันมาทดแทน
บริษัทต้องทำอยากได้บ้างคะ ต้องเสียภาษีนำเข้าย้อนหลังหรือไม่คะ
และทางบริษัทเปิดใบแจ้งหนี้ขายโดยมีภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่คะ
บริษัท Su...
1. การขอจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ให้ยื่นขออนุมัติผ่านระบบ eMT
หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้วเกิน 5 ปี จะอนุญาตให้จำหน่ายได้ โดยไม่มีภาระภาษี
2. กรณีเครื่องจักรที่จำหน่าย เป็นเครื่องจักรหลัก
จะต้องระบุด้วยว่าจะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนหรือไม่
หากไม่มีการซื้อมาทดแทน ต้องขอลดกำลังผลิตหรือแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ให้สอดคล้องกับเครื่องจักรที่เหลืออยู่จริง
3. กรณีซื้อเครื่องจักรทดแทน จากในประเทศ ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น
หากเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ ต้องอายุไม่เกิน 5 ปี และมีใบรับรองประสิทธิภาพ แม้จะนำเข้ามาปรับปรุงโดยไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรก็ตาม
4. การจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ต้องเรียกเก็บ vat ด้วยตามปกติ
5. รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร เป็นรายได้ที่สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามสิทธิที่เหลืออยู่
แต่กรณีที่สอบถาม น่าจะสิ้นสุดสิทธิระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว ครับ
รบกวนสอบถามขั้นตอนการขอจำหน่ายเครื่องจักรแบบมีภาระภาษีค่ะ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ขอบคุณมากค่ะ
ขั้นตอนคือ
1. ยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรโดยมีภาระภาษี
2. คีย์ข้อมูลเลขที่หนังสืออนุมัติยกเว้นภาษี และเลขที่ใบขนขาเข้า
3. เลือกเครื่องจักรและจำนวนที่จะขอจำหน่าย
4. หากเป็นเครื่องจักรหลัก และทำให้กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 20% ต้องแนบหลักฐานการซื้อเครื่องจักรมาทดแทน / หรือต้องขอลดขนาดโครงการก่อน
5. เมื่อได้รับอนุมัติ ให้ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อชำระภาษี
6. จากนั้นยื่นขอตัดบัญชีเครื่องจักรที่ชำระภาษี โดยคีย์ข้อมูล/แนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเสร็จชำระภาษี ฯ ในระบบ emt ครับ
จากข้อความตามประกาศที่ว่า เมื่อทำการจำหน่ายเครื่องจักรแล้ว จะต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมจากข้อความนี้อยากสอบถามว่าคำนวณอย่างไร?
ยกตัวอย่างเช่น บรษัท ได้รับส่งเสริมเป็นระยะเวลา5ปี กำลังการผลิตสูงสุด 100,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งทำบัญชีเครื่องจักรไว้ว่าสามารถนำเข้าเครื่องจักร A ได้ 100 เครื่อง
หลังจากได้รับการอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร ได้ทำการนำเข้าเครื่องจักร A มาเป็นจำนวน 20 เครื่องภายในระยะเวลา 1 ปีต่อมาอยากจะทำจำหน่ายเครื่องจักร A แบบมีภาระภาษีออกจากโครงการจำนวน 2 เครื่อง และจะยังไม่มีเครื่องเข้ามาทดแทน
จากตรงนี้บริษัทสามารถทำจำหน่ายได้หรือไม่คะ? ถ้าได้อยากทราบว่าจะต้องคำนวณอย่างไรที่ว่าต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมคะ?
จากข้อความตามประกาศที่ว่า เมื่อทำการจำหน่ายเครื่องจักรแล้ว จะต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมจากข้อความนี้อยากสอบถามว่าคำนวณอย่างไร?
ยกตัวอย่างเช่น บรษัท ได้รับส่งเสริมเป็นระยะเวลา5ปี กำลังการผลิตสูงสุด 100,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งทำบัญชีเครื่องจักรไว้ว่าสามารถนำเข้าเครื่องจักร A ได้ 100 เครื่อง
หลังจากได้รับการอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร ได้ทำการนำเข้าเครื่องจักร A มาเป็นจำนวน 20 เครื่องภายในระยะเวลา 1 ปีต่อมาอยากจะทำจำหน่ายเครื่องจักร A แบบมีภาระภาษีออกจากโครงการจำนวน 2 เครื่อง และจะยังไม่มีเครื่องเข้ามาทดแทน
จากตรงนี้บริษัทสามารถทำจำหน่ายได้หรือไม่คะ? ถ้าได้อยากทราบว่าจะต้องคำนวณอย่างไรที่ว่าต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมคะ?
บริษัทได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักร A จำนวน 100 เครื่อง เป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ
ปัจจุบันนำเข้ามาแล้ว 20 เครื่อง แต่จะขอจำหน่าย 2 เครื่อง
1. เครื่องที่จะขอจำหน่าย 2 เครื่อง จะต้องชำระภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย
2. บริษัทสามารถชี้แจงได้ว่า เป็นการจำหน่ายเพียง 2 เครื่อง จากจำนวน 100 เครื่อง ที่มีแผนจะลงทุน
จึงทำให้กำลังผลิตลดลงเพียง 2 % ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องลดขนาดโครงการ
3. และหากบริษัทมีแผนจะซื้อเครื่องจักรเข้ามาทดแทนในส่วนที่จำหน่ายออกไป
ก็สามารถขอแก้ไขบัญชีเครื่องจักร เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องจักร A จาก 100 เครื่อง เป็น 102 เครื่อง ได้ครับ
การทำจำหน่ายแบบไม่มีภาระภาษี เมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่ายแล้ว ยังสามารถใช้งานต่อได้หรือไม่คะ
กรณีได้ทำการตรวจเปิดดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วค่ะ
การจำหน่ายเครื่องจักรตามความหมายของ BOI
คือ บริษัทไม่มีความประสงค์จะใช้เครื่องจักรนั้น ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมอีกต่อไป
BOI จึงอนุญาตให้จำหน่ายออกจากโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้นได้
แต่บริษัทอาจจะยังถือครองเครื่องจักรนั้นต่อไปก็ได้ เช่น อาจเพื่อนำไปใช้ในกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริม เป็นต้น
หากบริษัทได้รับอนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษี
ให้ดำเนินการตัดรายการเครื่องจักรนั้น ออกจากบัญชีสินทรัพย์ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้น
โดยผลผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรนั้น จะไม่นับเป็นผลผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
หากบริษัทต้องการใช้เครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป
ต้องไม่ใช่เป็นการยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร
แต่จะเป็นการยื่นขอตัดบัญชีภาษีเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี ครับ
กรณีที่มีการรวมบัตรเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ2554 โดยเลขที่บัตรจะเป็นเลข 50XX นั้น ซึ่ง บริษัท ทำการรวม2บัตรเข้าด้วยกัน จึงขอสอบถามว่า ถ้าเรามีการทำเรื่องขอจำหน่ายแบบไม่มีภาระภาษี จะต้องอ้างอิงในการทำคำร้องเป็นการจำหน่ายภายใต้บัตร 50XX ใช่หรือไม่คะ?
กรณีมีการรวมบัตร A และบัตร B เป็นบัตร C
ระบบ eMT จะไม่ได้ย้ายข้อมูลของเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามบัตร A และ B ให้มารวมอยู่ในบัตร C
ดังนั้น หากต้องการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิของบัตรเก่า (บัตร A และ B) เช่น ขอจำหน่าย ขอตัดบัญชี ฯลฯ
ให้ยื่นคำร้องภายใต้บัตรใหม่ (บัตร C) โดยให้เลือกเป็น "เครื่องจักรนอกระบบ"
จากนั้นแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามเรื่องนั้นๆ เช่น สำเนาใบขนสินค้าขาเข้า ฯลฯ
โดยในหมายเหตุ ให้ระบุว่าเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิของบัตร A (หรือ B) ซึ่งได้รับอนุญาตให้รวมโครงการเป็นบัตร C ครับ
บริษัทต้องการขายเครื่องจักรนำเข้าเกิน 5 ปีที่ไม่ใช้งานแล้ว (ตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปีแล้ว) จึงเรียนสอบถามดังนี้
1.บริษัทต้องการขายเครื่องจักรนำเข้าเกิน 5 ปีที่ไม่ใช้งานแล้ว ควรจะยื่นเรื่องในระบบเป็นหัวข้อใด / ขอจำหน่ายเครื่องจักรใช่หรือไม่
2.บริษัทต้องการขายเครื่องจักรนำเข้าเกิน 5 ปีที่ไม่ใช้งานแล้ว สามารถขายแบบเศษซากได้หรือไม่ ควรจะยื่นเรื่องในระบบเป็นหัวข้อใด / สามารถยื่นขอทำลายเครื่องได้หรือไม่
3.ตามรายการที่กล่าวมาบริษัทสามารถขายให้ผู้ซื้อในไทยได้หรือไม่
4.กรณีที่ขายให้ผู้ซื้อในไทยทั้งแบบจำหน่าย และทำลายเป็นเศษซากแล้วขาย ต้องมีเอกสารอะไรเพื่อนำไปปรับยอดกับ IC หรือไม่
5.ถ้าขายเครื่องจักรแล้ว ทำให้กำลังผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่า 80% หรือไม่มีการซื้อมาทดแทน จะต้องขอลดกำลังผลิตหรือแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ให้สอดคล้องกับเครื่องจักรที่เหลืออยู่จริง ดังนั้นควรทำก่อนขาย หรือถ้ามีความจำเป็นต้องขายด่วน สามารถยื่นที่หลังได้ไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบคำถามดังนี้
1. หากต้องการจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ
ให้ยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร
- หากนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี จะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย
- หากนำเข้ามาครบ 5 ปีแล้ว จะไม่มีภาระภาษี
2. หากต้องการทำลาย (กรณีนำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี)
- ให้ยื่นขอทำลายเครื่องจักร
เมื่อทำลายตามที่ได้รับอนุมัติ ให้ยื่นหลักฐานเพื่อขอตัดบัญชีเครื่องจักร
โดยเศษซากหลังการทำลาย สามารถจำหน่ายได้โดยไม่มีภาะภาษี
3. การขอจำหน่ายเครื่องจักร ตามข้อ 1 หมายถึงการให้จำหน่ายในประเทศ
4. เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในแต่ละเรื่อง จะแตกต่างกัน
ควรระบุเคสให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบให้ตรงประเด็นได้มากกว่า
5. การจำหน่าย/ทำลายเครื่องจักร ที่จะทำให้กำลังผลิตลดลงกว่า 20%
ต้องแสดงหลักฐานการจะซื้อเครื่องจักรทดแทน เช่น ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ
หากไม่มีแผนการซื้อเครื่องจักรทดแทนที่ชัดเจน จะต้องยื่นขอลดกำลังผลิตของโครงการเดิมด้วย ครับ
รบกวนสอบถามการจำหน่ายเครื่องจักร นำเข้าเกิน 5 ปี ดังนี้ค่ะ (บริษัทฯได้รับอนุมัติการเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)
1. ควรยื่นตัดบัญชีรายการเครื่องจักรก่อน หรือสามารถยื่นจำหน่ายเครื่องจักรได้เลย
2.เครื่องจักรที่ต้องการจำหน่ายคือเครื่องจักรหลักอยู่ในกระบวนการที่ 4 มีทั้งหมด 9 เครื่อง จำหน่าย 1 เครื่อง ซึ่งจำหน่ายแล้ว กำลังการผลิตลดลง 10% ทางบริษัทไม่มีแพลนที่จะซื้อเครื่องใหม่มาทดแทน จะสามารถจำหน่ายได้หรือไม่
3.ในกรณีที่บริษัทมีแพลนจะขอเพิ่มกำลังการผลิตจากวันทำงาน ควรจะเพิ่มก่อนหรือหลังจากการจำหน่ายเครื่องจักร
4.ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อจากผู้ซื้อ สามารถใช้เอกสารอื่นแทนได้หรือไม่
เพิ่มเติม......หากต้องการขายเครื่องจักรในกระบวนการอื่น สามารถทำได้หรือไม่อย่างไร ในการคำนวนกำลังการผลิตตอนเปิดดำเนินการ คำนวนจากกระบวนการสุดท้ายคือกระบวนการที่ 4 ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบคำถามดังนี้
1. เครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี สามารถยื่นขอจำหน่ายโดยไม่ต้องยื่นขอตัดบัญชีก่อน
เนื่องจากในการพิจารณาอนุญาตให้จำหน่าย สามารถพิจารณาการพ้นจากภาระภาษีไปพร้อมกันได้
2. หากการจำหน่ายเครื่องจักร จะทำให้กำลังผลิตลดลง 10% โดยไม่ซื้อเครื่องจักรมาทดแทน
สามารถอนุญาตให้จำหน่ายได้ โดยไม่ต้องปรับลดกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม
3. การขอเพิ่มกำลังผลิตโดยเพิ่มเวลาทำงาน กับการขอจำหน่ายเครื่องจักรที่ทำให้กำลังผลิตลดลง 10% จะยื่นเรื่องใดก่อนก็ได้
เนื่องจากไม่ทำให้ผลที่ได้รับแตกต่างกัน
4. กรณีที่ไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อจากผู้ซื้อ สามารถใช้เอกสารอื่นแทนได้หรือไม่
คงจะหมายถึง การแสดงหลักฐานว่าจะมีการซื้อเครื่องจักรมาทดแทนกรณีขอจำหน่ายเครื่องจักร
หากยังไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อเครื่องจักร จะใช้ใบเสนอราคาจากผู้จำหน่ายเครื่องจักรก็ได้
5. การขอจำหน่ายเครื่องจักร
หากเป็นเครื่องจักรที่มีกำลังผลิต (แม้จะไม่ใช่เครื่องจักรที่คำนวณกำลังผลิตของโครงการก็ตาม)
ต้องแสดงข้อมูลว่ากำลังผลิตของโครงการ ไม่ลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ด้วย
เช่น เครื่องจักร A เป็นเครื่องจักรที่ใช้คำนวณกำลังผลิตของโครงการ
แต่หากจำหน่ายเครื่องจักร B อาจทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงเกินกว่า 20% ก็ได้ ครับ
ในข้อกำหนดตามประกาศที่ว่า เมื่อทำการจำหน่ายเครื่องจักรแล้ว จะต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตสูงสุดของโครงการลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม นั่น ความหมายคืออย่างไรคะ และมีคำถามดังต่อไปนี้ค่ะ
ในกรณีที่ขายเครื่องจักรแล้วกำลังการผลิตลดลงไม่ถึง 20% ทางบริษัทสามารถผลิตและจำหน่ายได้ในปริมาณเดิมที่ได้รับอนุมัติ หรือปริมาณที่ลดลงหลังจากขายเครื่องจักร
ขอบคุณค่ะ
หากบริษัทได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักร โดยไม่ต้องปรับลดกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม
หมายความว่า บริษัทจะยังคงผลิตจำหน่ายได้ตามกำลังผลิตเดิมที่ระบุในบัตรส่งเสริม และตามเวลาทำงานที่ระบุไว้เดิม
ยกตัวอย่างเช่น
เดิมบริษัทมีกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม 10,000,000 ชิ้น โดยมีเครื่องจักร 10 เครื่อง
หากต่อมาได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักร 2 เครื่อง เหลือเครื่องจักร 8 เครื่อง ทำให้กำลังผลิตจากการคำนวณเป็น 8,000,000 ชิ้น
กรณีนี้ กำลังผลิตในบัตรส่งเสริม จะยังคงเป็น 10,000,000 ชิ้น ตามเดิม
ดังนั้น บริษัทสามารถใช้เครื่องจักร 8 เครื่องที่เหลือ ผลิตสินค้า ตามเวลาทำงานที่ระบุในบัตรส่งเสริม เกินกว่า 8,000,000 ชิ้น แต่ไม่เกืน 10,000,000 ชิ้น ได้ ครับ