รบกวนสอบถาม กรณีบริษัทเปิดดำเนินการแล้ว ต่อมามีโครงการจะลงทุนเพิ่ม โดยการซื้อเครื่องจักรหลักเพิ่ม
แต่นำเข้ามาแบบจ่ายภาษีปกติ อยากทราบดังนี้
1. เครื่องจักรที่เสียภาษีเข้ามา สามารถใช้ผลิตงานโดยใช้วัตถุดิบ BOI ได้หรือไม่ ผิดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ BOI หรือไม่อย่างไร
2. การนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาใช้ในโครงการ จำนวนหลายเครื่องโดยไม่ใช้สิทธิ์ BOI สามารถทำได้หรือไม่ ขอคำแนะนำที่สามารถดำเนินการโดยไม่ผิดเงื่อนไข BOI
ขอบคุณค่ะ
1. สามารถทำได้ ไม่ผิดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ใดๆ
แต่เครื่องจักรที่ชำระภาษีเข้ามาเองนั้น ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ ตามเงื่อนไขที่กำหนดอยู่ในบัตรส่งเสริมด้วย
2. เงื่อนไข BOI หากแยกกว้างๆ คือ
1) เงื่อนไขตามบัตร ... เป็นเงื่อนไขในการให้การส่งเสริม ซึ่งต้องปฏิบัติตามนั้น หากไม่ปฏิบัติ อาจถูกเพิกถอนบัตร
เช่น สภาพเครื่องจักร เป็นเงื่อนไขตามบัตร จึงต้องใช้เครื่องจักรใหม่เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่า
2) เงื่อนไขในการใช้สิทธิ .. เป็นเงื่อนไขกรณีที่จะใช้สิทธิตามมาตราต่างๆที่ได้รับ
เช่น หากจะใช้สิทธิยกเว้นอากรเครื่องจักร ก็ต้องขออนุมัติบัญชี ขออนุญา่ตสั่งปล่อย ขออนุญาตส่งไปซ่อม และต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น เป็นต้น
....
ที่บริษัทสอบถาม จะซื้อเครื่องจักรใหม่โดยชำระภาษีอากรขาเข้าเอง ไม่ใช้สิทธิมาตรา 28 (ไม่ว่าสิทธิจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่ก็ตาม)
จึงไม่ขัดกับเงื่อนไขตามบัตร และไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการใช้สิทธิมาตรา 28 ครับ
เรียน แอดมิน
รบกวนขอสอบถามค่ะ
*บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจะครบเปิดดำเนินการ เดือนมีนาคม 2566
อยากทราบว่าข้อมูลดังนี้ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
เรียนสอบถามเจ้าหน้าที่
บริษัทต้องการนำเข้าเครื่องจักรหลักเครื่องใหม่เข้ามาแทนเครื่องเดิม เนื่องจากเครื่องจักรเดิมเก่า เริ่มชำรุด และทำงานได้ช้าลง จึงมีคำถามดังนี้
1.เราสามารถนำเข้าเครื่องจักรหลักมาโดยใช้สิทธิ์ BOI ได้หรือไม่
2.ถ้านำเข้าภายใต้ BOI ไม่ได้ สามารถนำเข้าโดยเสียภาษีได้ไหม ผิดเงื่อนไขไหม
3.เครื่องจักรเก่าเราต้องยื่นเรื่องอะไรก่อนนำเข้าเครื่องใหม่เข้ามาหรือไม่
4.เครื่องจักรเก่าสามารถขาย ส่งคืนต่างประเทศ บริจาค หรือสามารถเก็บไว้ใช้เป็นอะไหล่ได้ไหม
ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณ Thun151 (คำถาม #3)
1. หากสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว ไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาโดยใช้สิทธิได้
2. สามารถนำเข้าโดยชำระภาษีได้ แต่ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
หากบัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าได้ ก็ต้องเป็นเครื่องจักรเก่าอายุไม่เกินที่กำหนด และต้องทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า
2.1 หากถูกต้องตามข้อ 2 ถือว่าเป็นเครื่องจักรที่สามารถนำมาใช้ในโครงการได้ เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
แต่จะไม่นับมูลค่าเครื่องจักรเป็นขนาดการลงทุน เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ หากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
2.2 หากไม่ถูกต้องตามข้อ 2 ไม่สามารถใช้ในโครงการได้
3. เครื่องจักรเก่าที่ไม่ต้องการใช้ในโครงการแล้ว
3.1 หากนำเข้าเกินกว่า 5 ปี สามารถยื่นขอจำหน่ายออกจากโครงการ โดยไม่มีภาระภาษี แต่จะเก็บไว้เป็นเครื่องสำรองต่อไปก็ได้
และหากเป็นเครื่องจักรหลักที่กระทบกำลังผลิตเกินกว่า 20% จะถูกปรับลดกำลังผลิตสูงสุดตามสัดส่วนนั้น เว้นแต่จะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน
3.2 หากนำเข้าไม่ถึง 5 ปี อาจยื่นขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ โดยไม่มีภาระภาษี หรือยื่นขอจำหน่ายออกจากโครงการ โดยมีภาระภาษีตามสภาพ (หักลดมูลค่าเครื่องจักรตามสัดส่วนระยะเวลาที่นำเข้า)
กรณีชำระภาษี จะเก็บไว้เป็นเครื่องจักรสำรองต่อไปก็ได้
และหากเป็นเครื่องจักรหลักที่กระทบกำลังผลิตเกินกว่า 20% จะถูกปรับลดกำลังผลิตสูงสุดตามสัดส่วนนั้น เว้นแต่จะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน
4. รวมตอบอยู่ในข้อ 3 ครับ
เรียน แอดมิน
รบกวนขอสอบถามค่ะ
*บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจะครบเปิดดำเนินการ เดือนมีนาคม 2566
อยากทราบว่าข้อมูลดังนี้ค่ะ
2. เครื่องจักรที่นำเข้ามาจะต้องเสียภาษีหรือไม่
ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณ Khun Ao (คำถาม #2, #5)
1. กิจการอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดไป ตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 10/3
โดยระบุว่า สามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม
2. หากบริษัทครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่มีกำลังผลิตไม่ถึง 80% จะถูกปรับลดกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมเท่าที่มีกำลังผลิตจริง
3. การนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว อยู่ในข่ายที่ควรทำได้ ตามประกาศข้างต้น
4. ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ปัจจุบัน BOI มีวิธีปฏิบัติในกรณีตามข้อ 3 นี้ อย่างไร เช่น
4.1 อาจไม่อนุญาตให้การเพิ่มกำลังผลิตโดยการลงทุนเพิ่มหลังได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว เนื่องจากขัดกับ ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547
แต่ในกรณีนี้ ควรต้องพิจารณาตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 เนื่องจากมีศักดิ์สูงกว่าประกาศ สกท ที่ ป.3/2547
4.2 อาจกำหนดให้บริษัทยื่นคำขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังโดยการลงทุนเพิ่ม จากนั้นจึงให้แก้ไขบัญชีเครื่องจักร แล้วจึงนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติม
4.3 อาจอนุญาตให้เพิ่มกำลังผลิตหลังเปิดดำเนินการ แต่อาจไม่ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประกาศ กกท ที่ 2/2557 ไม่มีข้อความคุ้มครองสิทธิส่วนนี้ไว้ / หรืออาจให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาและวงเงินที่เหลืออยู่ตามสิทธิเดิม โดยอาจตีความจากแนวปฏิบัติอื่น
4.4 อาจไม่อนุญาตให้นำมูลค่าการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม มาปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากประกาศ กกท ที่ 2/2557 ไม่ได้คุ้มครองสิทธิส่วนนี้ไว้ และ BOI ไม่มีมาตรการตรวจสอบเปิดดำเนินการรอบที่ 2 จึงไม่สามารถพิสูจน์มูลค่าเครื่องจักรที่ลงทุนเพิ่มเติมได้
5. บริษัทอาจทำหนังสือหารือเป็นทางการ เกี่ยวกับแนวทางพิจารณาตามข้อ 4 ให้ได้ความชัดเจนก่อน จึงตัดสินใจดำเนินการต่อไป
6. หากได้รับคำตอบเป็นทางการจาก BOI รบกวนช่วยแจ้งให้แอดมินทราบด้วย เพื่อจะใช้เป็นแนวทางการให้คำแนะนำแก่บริษัทอื่นๆ ต่อไป ครับ
เรียน แอดมิน ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับข้อมูลและคำแนะนำ หากบริษัทได้รับคำตอบเป็นทางการจาก BOI แล้ว จะแจ้งให้แอดมินทราบค่ะ
เรียน แอดมิน
รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
อ้างถึง 1. หากสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว ไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาโดยใช้สิทธิได้ >> แต่หากสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ที่บริษัทได้รับตามมาตรา 28 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม หมายความว่าบริษัทสามารถนำเข้าได้อีกถึงแม้จะเป็นเครื่องจักหลักก็ตามใช่หรือไม่
- และถ้าหากสามารถนำเข้าได้ตามมาตรา 28 ที่บริษัทได้ บริษัทจะต้องเข้าไปขอเพิ่มจำนวนเครื่องจักรเพื่อรองรับการนำเขามาอีกเครื่องใช่หรือไม่
เช่น เดิมทีสิทธิ์ใน EMT เครื่องจักรได้รับสิทธิ์นำเข้า 1 เครื่อง นำเข้ามาแล้ว 1 เครื่อง = ยอดคงเหลือ 0 เครื่อง
ถ้าหากว่าต้องการนำเข้าเครื่องจักรรายการเดิม เพื่อมาทดแทนเครื่องเดิมที่เก่า เริ่มชำรุดจะต้องไปขอเพิ่มตรงนี้ก่อนหรือไม่คะ หรือบริษัทต้องทำขั้นตอนอื่นก่อนการนำเข้า ขอบคุณค่ะ
ตอบคำถามดังนี้
1. แม้ว่าบริษัทจะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
แต่การจะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำมาใช้ผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
1.1 ดังนั้น หากบริษัทจะนำเข้าเครื่องจักรหลักเพิ่มเติม และทำให้กำลังผลิตเพิ่มจากที่ได้รับส่งเสริม
ควรต้องได้รับอนุญาตแก้ไขกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ให้เพิ่มขึ้นก่อน
ซึ่งจะเป็นเคสเดียวกับคำถาม #5 ที่แอดมินไม่สามารถยืนยันคำตอบได้
1.2 แต่หากเป็นการนำเข้าเครื่องจักรหลัก เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม ที่ชำรุดเสียหายหรือประสิทธิภาพต่ำ ภายใต้กำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม
อยู่ในข่ายที่สามารถขอนำเข้าได้ โดยไม่ต้องแก้ไขโครงการเดิม แต่อาจต้องขอจำหน่ายเครื่องจักรเดิมออกจากโครงการก่อน
2. เรื่องที่สอบถาม น่าจะเป็นกรณี 1.2 คือนำเครื่องจักรหลัก เข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม ที่ชำรุดเสียหาย
ไม่ได้เป็นการนำเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิต
จึงสามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายออกจากโครงการ
และยื่นขอแก้ไขบัญชีเครื่องจักร เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องจักร และนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิมที่จำหน่ายออกจากโครงการ ครับ
ขอบคุณค่ะ