FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / การส่งเสริมการลงทุน / หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์
ขอรับการส่งเสริมบัตรใหม่
1 - 20 จาก 22 คำตอบ
page: 1/2
ZATH เมื่อ 18 มค 65, 15:35 น.
แก้ไขโดย ZATH เมื่อ 18 มค 65, 15:36 น.

สอบถามกรณีบริษัทต้องการเปิดบัตรใหม่ดังนี้ค่ะ

 

  1. กิจการ 5.1 และ 5.3 อยู่ในนิคมอมตะซิตี้ระยอง บัตรเดิมหมดสิทธิภาษีเงินได้ 100% แล้วเหลือ 50% ไปอีก 5 ปี ตอนนี้ต้องการเปิดบัตรใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์เดิม และผลิตภัณฑ์ใหม่ (เหมือนผลิตภัณฑ์เดิม ต่างกันแค่ขนาด และกำลังไฟ)  
  • สามารถเปิดบัตรใหม่แบบรวม/แยกบัตรสำหรับสองผลิตภัณฑ์นี้ก็ได้ใช่ไหมคะ หรือแนะนำให้ควรแยก
  • กรณีใช้โรบอทในสายการผลิต จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรเพิ่มเติมหรือไม่ และควรขอรับการส่งเสริมแบบใด (ใบสมัครแบบไหน)
  • หากผลิตภัณฑ์จะมีการใส่บลูทูธที่ทำให้พัดลมสามารถสั่งงานทางมือถือได้จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรเพิ่มเติมหรือไม่ และควรขอรับการส่งเสริมแบบใด (ใบสมัครแบบไหน)
  • การใช้เครื่องจักรเก่าบางส่วนของโครงการเดิมร่วมกับโครงการใหม่ มีข้อกำหนัดอย่างไร (เช่น ใช้ได้เฉพาะเครื่องจักรที่ไม่ได้คำณวนกำลังการผลิต)
  • มีมาตรการส่งเสริมอะไรที่จะสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ไหมคะ

 

  1. ต้องการเปิดอีกบัตรเป็นกิจการประกอบสายการผลิต “Test and assembly testing” ใช้สำหรับทดสอบพัดลมในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตพัดลมอุตสาหกรรม จะผลิตไลน์นี้เพื่อขายให้กับบริษัทในเครื่อในประเทศต่างๆที่ผลิตพัดลมเช่นเดี่ยวกัน แต่ขั้นตอนออกแบบทั้งหมดจะอยู่ทีบริษัทแม่ ทางเราจะก๊อปปี้โปรแกรม/ขั้นตอนทั้งหมดมา
  • กรณีนี้จะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ในกล่มใด (Incentive A/B)
  • ควรขอรับการส่งเสริมแบบใด (ใบสมัครแบบไหน)
  • กรณีใช้โรบอทในสายการผลิตผลิตภัณฑ์ “Test and assembly testing”  นี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรเพิ่มเติมหรือไม่ และควรขอรับการส่งเสริมแบบใด (ใบสมัครแบบไหน)
  • มีมาตรการส่งเสริมอะไรที่จะสามารถเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้ไหมคะ
ADMIN เมื่อ 19 มค 65, 15:05 น. #1

ตอบคำถามดังนี้ครับ

1.กรณีจะยื่นขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ โดยมีผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด ซึ่งจัดอยู่คนละประเภทกิจการ
จะแยกยื่นเป็น 2 โครงการ (2 คำขอ) หรือยื่นรวมเป็นโครงการเดียวกัน (1 คำขอ) ก็ได้

1.1 กรณีแยกยื่นเป็น 2 คำขอ

- จะต้องแยกสายการผลิตของแต่ละคำขอ ออกจากกันอย่างขัดเจน โดยหลักการจะใช้เครื่องจักรร่วมกันระหว่าง 2 คำขอไม่ได้

- จะต้องแยกการใช้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และภาษีเงินได้นิติบุคคล ของแต่ละโครงการโดยชัดเจน
แต่สามารถขอรวมบัญชีสต็อกวัตถุดิบของแต่ละโครงการเข้าด้วยกันได้ในภายหลัง

- จะมีภาระในการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่าการรวมยื่นเป็นโครงการเดียว

- แต่มีข้อดีคือ หากระยะเวลาการเริ่มประการของทั้ง 2 โครงการแตกต่างกันมาก อาจทำให้การใช้สิทธิทางภาษีคุ้มค่ากว่าการแยกยื่นเป็น 2 โครงาร
เนื่องจากจะนับการเริ่มใช้สิทธิทางภาษีของแต่ละโครงการแยกออกจากกัน

1.2 กรณีรวมยื่นเป็นโครงการเดียวกัน

- ไม่ต้องแยกสายการผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์ และสามารถใช้เครื่องจักรร่วมกันได้ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์

- ไม่ต้องแยกการใช้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และภาษีเงินได้นิติบุคคล ของแต่ละผลิตภัณฑ์

- จะมีภาระในการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ทางภาษีน้อยกว่าการแยกยื่นเป็น 2 โครงการ

- แต่มีข้อเสียคือ หากระยะเวลาการเริ่มประการของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์แตกต่างกันมาก อาจทำให้การใช้สิทธิทางภาษีน้อยกว่าการแยกยื่นเป็น 2 โครงาร
เนื่องจากจะนับการเริ่มใช้สิทธิทางภาษีเป็นโครงการเดียวกัน

2. การยื่นขอรับส่งเสริมกิจการประเภท 5.1 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า (สิทธิประโยชน์ B1, A3, A4) และประเภท 5.3 การผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (สิทธิประโยชน์ B1, A2, A3, A4) ที่มีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้

2.1 หากได้สิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A

- ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆเพิ่มเติม

- แต่มูลค่าการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ จะรวมคำนวณเป็นเงินลงทุนของโครงการเพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.2 หากได้รับสิทธิประโยชน์ B1

- จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2564 (เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ให้อ้างอิงจาก คำชี้แจง สกท ลงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2561)
คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ไม่เกินวงเงิน 50% ของมูลค่าการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์

3. ผลิตภัณฑ์พัดลม ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จัดอยู่ในกิจการประเภท 5.1.1 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับเทคโนโลยีขั้นสูง
ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A3

4. การใช้เครื่องจักรร่วมกันกับโครงการ โดยหลักการไม่อนุญาตให้ใช้

5. คำถามในส่วน "Test and Assembly Testing" ไม่เข้าใจว่าจะผลิตเครื่องจักรเพื่อการ Test หรือจะลงทุนเพื่อรับจ้าง Test ครับ

ZATH เมื่อ 19 มค 65, 16:52 น. #2

"Test and Assembly Testing" เป็นสายการผลิตสำหรับการทดสอบพัดลมในขั้นตอนสุดท้าย (เป็นไลน์สุดท้ายของการผลิตพัดลม) ประกอบด้วยเครื่องจักรประมาณ 4-5 ตัว (โดยประมาณ) ซึงบริษัทเราจะผลิตและขายให้บริษํทในเครือค่ะ (ไม่ได้รับจ้างเทสต์)

 

ADMIN เมื่อ 19 มค 65, 17:52 น. #3

กิจการผลิตเครื่องจักร ให้การส่งเสริมในประเภท 4.5 (สิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A1-4) ครับ

ZATH เมื่อ 19 มค 65, 18:27 น. #4

ไม่แน่ใจว่าหากไม่มีขั้นตอนออกแบบในประเทศไทยจะจัดเป็นประเภทนี้หรือไม่คะ พอดีข้อมูลที่เคยหามาเมื่อปีที่แล้ว (ด้านล่าง) ระบุเรื่องการออกแบบได้ด้วยค่ะ (ไม่แน่ใจว่าอัพเดทไหม)

4.5.1 กิจการผลิตเครื่องจักรและ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Integration) รวมถึงมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง

4.5.2 กิจการผลิตเครื่องจักรและ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง

ZATH เมื่อ 19 มค 65, 20:06 น. #5

จากข้อความนี้ ** ผลิตภัณฑ์พัดลม ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จัดอยู่ในกิจการประเภท 5.1.1 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับเทคโนโลยีขั้นสูง

ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A3 **

 

หากผลิตภัณฑ์มีหลายรุ่น และมีเพียงบางรุ่นที่่สามารถเชื่อมต่อบนคลาวด์ได้ อย่างนี้แสดงว่าต้องแยกเอาผลิตภัณฑ์นั้นไปอีกบัตรนึงหรือคะ (5.1.3) หากใช่ แต่ติดตรงที่การลงทุนเครื่องจักรอาจจะเป็นสายการผลิตเดียวกับกิจการที่ผลิตแบบเดิม (ไม่มีบลูทูธ)  อย่างนี้จะสามารถขอเป็นบัตรเดียวกันแต่แยกสิทธิประโยชน์หรือคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ZATH เมื่อ 19 มค 65, 20:50 น. #6

จากข้อความนี้

******

2.2 หากได้รับสิทธิประโยชน์ B1

- จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2564 (เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ให้อ้างอิงจาก คำชี้แจง สกท ลงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2561)
คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ไม่เกินวงเงิน 50% ของมูลค่าการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์

​******

คำชี้แจง สกท ลงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2561)

๒. ขอบข่ายการให้การส่งเสริม กำรน ำเครื่องจักรระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มำใช้ในกำรผลิตหรือกำรบริกำร จะต้องมีกำรติดตั้ง เครื่องจักรระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์เพื่อยกระดับกำรผลิตหรือกำรบริกำร โดยจะต้องมีกำรน ำระบบอัตโนมัติเข้ำมำ ช่วยในกำรท ำงำนทั้งหมดหรือบำงขั้นตอน เช่น กำรใช้Automated Production Cell เป็นต้น

- กำรติดตั้งเครื่องจักรที่ช่วยในกำรควบคุมหรือกำรท ำงำนในบำงขั้นตอน เพื่อให้สำมำรถ ควบคุมกำรท ำงำนบำงประเภท เช่น ระบบขนย้ำยสินค้ำอัตโนมัติภำยในคลังสินค้ำ ระบบ กำรบรรจุสินค้ำลงหีบห่อ ระบบกำรเตรียมวัตถุดิบ ระบบไซโลอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งจะมีผล ท ำให้สำยกำรผลิตหรือบริกำรมีประสิทธิภำพเพิ่มขึ้น

- กำรติดตั้งระบบเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้ควบคุมหรือท ำงำนในทุกขั้นตอน โดยเฉพำะ ขั้นตอนที่ต้องอำศัยควำมละเอียดหรือคุณภำพงำนที่สูง หรือขั้นตอนที่ไม่เหมำะกับกำรใช้ แรงงำน โดยจะให้คนงำนมีหน้ำที่ออกค ำสั่ง ดูแล รักษำระบบเครื่องเท่ำนั้น เช่น กำรติดตั้ง หุ่นยนต์ท ำควำมสะอำดเตำเผำ ชุดป้อนวัตถุดิบอัตโนมัติ (Autoloader) กำรติดเครื่อง X-ray ที่สำยกำรผลิต ระบบวำงแผนและควบคุมกำรผลิต (รวมทั้ง Hardware และ Software) เป็นต้น ทั้งนี้ จะไม่รวมกำรน ำเครื่องจักรอัตโนมัติเข้ำมำใช้เป็นรำยเครื่อง 

******

รบกวนอธิบายเพิ่่มเติม/ยกตัวอย่างเพิ่มขึ้นให้เข้าใจง่ายขึ้นได้ไหมคะ (ถ้ามี) ว่าการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์เป็นอย่างไร

 

ADMIN เมื่อ 20 มค 65, 10:31 น. #7

ตอบคำถาม #5

กรณีที่จะลงทุนผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (ประเภท 5.1.1) และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป (ประเภท 5.1.3)

- หากสามารถพิสูจน์กำลังการผลิตของแต่ละประเภทกิจการได้โดยชัดเจน เช่น คำนวณกำลังผลิตของเครื่องจักรในขั้นตอนการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณและประมวลผลได้
  สามารถแยกยื่นเป็น 2 ประเภทกิจการใน 1 คำขอได้

- หากไม่สามารถแยก/พิสูจน์กำลังผลิตของแต่ละประเภทกิจการได้ชัดเจน
  จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการที่สิทธิประโยชน์น้อยกว่า คือ 5.1.3

 

ตอบคำถาม #6

- สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้ ตามข้อ 1.6 และ 3.2 ของคำชี้แจง คือ ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นวงเงินไม่เกิน 50% ตามเงื่อนไขข้อ 3.2(1) หรือไม่เกิน 100% ตามเงื่อนไขข้อ 3.2(2) ของเงินลงทุนเฉพาะค่าระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์

- สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ตามข้อ 3.1 ของคำชี้แจง ครับ

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 13:57 น. #8

มีความสงสัยค่ะ ในคำชี้แจง คำชี้แจง สกท ลงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2561) ข้อ 3.1 - 3.2 ระบุคำว่า ป็นสัดส่วนร้อยละ 50/100 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่ำที่ดินและทุนหมุนเวียน ประโยคนี้ทำให้เข้าใจว่าเป็นร้อยละจากเงินลงทุนทั้งหมด (รวมเงินลงทุนอื่นๆด้วย) โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เพราะหากเป็นร้อยละจากเฉพาะเงินลงทุนตัว Automation ก็ไม่จำเป็นต้องระบุคำว่า โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เพราะมันไม่รวมอยู่แล้วหรือเปล่าคะ

 

****quoted****

3. สิทธิและประโยชน์ที่จะได้รับ 3.1 ให้ได้รับยกเว้นอำกรขำเข้ำส ำหรับเครื่องจักร 3.2 ให้ได้รับยกเว้นภำษีเงินได้นิติบุคคล โดยแบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้ (๑) กรณีมีกำรใช้เครื่องจักรที่มีกำรเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสำหกรรมกำรผลิต เครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ ไม่น้อยกว่ำร้อยละ ๓๐ ของมูลค่ำเครื่องจักร เฉพำะส่วนที่เป็นกำรลงทุนน ำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มำใช้ในกำรผลิตหรือ กำรบริกำร ให้ได้รับยกเว้นภำษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลำ ๓ ปี เป็นสัดส่วน ร้อยละ ๑๐๐ ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่ำที่ดินและทุนหมุนเวียน (๒) กรณีมีกำรใช้เครื่องจักรที่มีกำรเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสำหกรรมกำรผลิตเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติในประเทศ น้อยกว่ำร้อยละ ๓๐ ของมูลค่ำเครื่องจักรเฉพำะส่วนที่เป็น กำรลงทุนน ำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มำใช้ในกำรผลิตหรือกำรบริกำร ให้ได้รับยกเว้น ภำษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลำ ๓ ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ ๕๐ ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่ำที่ดินและทุนหมุนเวียน 

****unquoted****

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 13:59 น. #9

คือจริงๆ ข้อ 6 ความตั้งใจที่จะถามคือ อยากให้อธิบายเพิ่มเติมว่าการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์  มีลักษณะอย่างไรน่ะค่ะ รบกวนอีกทีนะคะ ^^

 

Admin น่าจะตกคำถาม ข้อ 4 ไปน่ะค่ะ รบกวนอีกทีนะคะ

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 14:13 น. #10

จากคำตอบของแอดมินด่้านล่างนี้ หากเราสามารถแยกกำลังการผลิตได้ เราจะต้องมีการแยกเงินลงทุนต่างๆ ตามสัดส่วน (เพราะใช้เครื่องจักรร่วมกัน) เพื่อนำไปคำณวนเงินลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินภาษีเงินได้ สำหรับบัตรที่เป็นกลุ่ม A ด้วยใช่ไหมคะ

 

****quoted****

ตอบคำถาม #5

กรณีที่จะลงทุนผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (ประเภท 5.1.1) และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป (ประเภท 5.1.3)

- หากสามารถพิสูจน์กำลังการผลิตของแต่ละประเภทกิจการได้โดยชัดเจน เช่น คำนวณกำลังผลิตของเครื่องจักรในขั้นตอนการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณและประมวลผลได้
  สามารถแยกยื่นเป็น 2 ประเภทกิจการใน 1 คำขอได้

- หากไม่สามารถแยก/พิสูจน์กำลังผลิตของแต่ละประเภทกิจการได้ชัดเจน
  จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการที่สิทธิประโยชน์น้อยกว่า คือ 5.1.3

****unquoted****

 

ADMIN เมื่อ 20 มค 65, 15:11 น. #11

ตอบคำถาม #8

คำชี้แจงข้อ 1.6 ระบุชัดเจนว่า วงเงินยกเว้นภาษีให้คำนวณจากค่าเครื่องจักรเฉพาะที่เป็นการลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์

ดังนั้น จึงต้องยึดถือตามนี้

ตอบคำถาม #9

การลงทุนระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ กำหนดขอบข่ายตามคำชี้แจงข้อ 2 ครับ

ADMIN เมื่อ 20 มค 65, 15:25 น. #12

ตอบคำถาม #10

กรณีที่แยกกำลังผลิตได้ และจะยื่นขอส่งเสริมเป็น 1 คำขอ (2 ผลิตภัณฑ์ / 2 ประเภทกิจการ / 2 สิทธิประโยชน์)

เนื่องจากในการอนุมัติให้การส่งเสริม BOI จะต้องกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุดด้วย โดยคำนวณจากการลงทุนเฉพาะส่วนที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (5.1.1) เท่านั้น

ดังนั้น จึงต้องจัดทำเอกสารเพิ่มเติม เพื่อแสดงรายละเอียดมูลค่าการลงทุนค่าก่อสร้าง และค่าเครื่องจักร ของการผลิตเครื่องไฟฟ้าอัจฉริยะ (5.1.1) และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ (5.1.3) แยกออกจากกันด้วย ครับ

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 16:08 น. #13

ขอบคุณแอดมินมากๆค่ะ ถามซะเยอะเลย

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 16:15 น. #14

อ้อ ลืมไปยังรอคำตอบของคำถามใน #4 อยู่นะคะ

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 16:22 น. #15

ขออนุญาตรวบรวมช้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ  #4 มาไว้ด้านล่างนี้เพื่อความสะดวกนะคะ

 

"Test and Assembly Testing" เป็นสายการผลิตสำหรับการทดสอบพัดลมในขั้นตอนสุดท้าย (เป็นไลน์สุดท้ายของการผลิตพัดลม) ประกอบด้วยเครื่องจักรประมาณ 4-5 ตัว (โดยประมาณ) ซึงบริษัทเราจะผลิต "Test and Assembly Testing" และขายให้บริษํทในเครือที่ผลิตพัดลมค่ะ (เราไม่ได้รับจ้างเทสต์)

แต่ขั้นตอนออกแบบทั้งหมดของ "Test and Assembly Testing" จะอยู่ทีบริษัทแม่ ทางเราจะก๊อปปี้โปรแกรม/ขั้นตอนการผลิตทั้งหมดมา

แต่ไม่แน่ใจว่าหากไม่มีขั้นตอนออกแบบในประเทศไทยจะจัดเป็นประเภท 4 นี้หรือไม่คะ พอดีข้อมูลที่เคยหามาเมื่อปีที่แล้ว (ด้านล่าง) ระบุเรื่องการออกแบบได้ด้วยค่ะ (ไม่แน่ใจว่าอัพเดทไหม)

4.5.1 กิจการผลิตเครื่องจักรและ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Integration) รวมถึงมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง

4.5.2 กิจการผลิตเครื่องจักรและ/หรืออุปกรณ์อัตโนมัติ (Automation) ที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม และมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกลเอง

ADMIN เมื่อ 20 มค 65, 16:52 น. #16
แก้ไขโดย ADMIN เมื่อ 20 มค 65, 16:52 น.

การผลิตเครื่องจักรที่ไม่มีการออกแบบทางวิศวกรรม ใหส่งเสริมในประเภท 4.5.2 และ 4.5.3  ครับ

ZATH เมื่อ 20 มค 65, 18:33 น. #17

ในกิจการ 4.5.2 ิจการผลิิตเครื่่�องจัักร อุุปกรณ์์หรืือ ชิ้้�นส่่วน และ/หรืือ การซ่่อมแซม แม่่พิิมพ์์ ระบุว่าต้องมีขั้้นตอนการขึ้นรูปชิ้้นส่่วน และ/หรือ การออกแบบทางวิศวกรรม อยากทราบว่าคำว่า การขึ้นรูปชิ้้นส่่วน หมายถึงอะไรคะ คือการฉีดพลาสติคขึ้นโครงเครื่องจักรหรือคะ

 

ปล สำหรับของเราจะมีขั้นตอนพวก ตัดชิ้นส่วนอลูมิเนียมขึ้นเป็นโครงเครื่องจักร การเชื่อมติดชิ้นส่วนต่างๆ การทำสายไฟเพื่อประกอบเป็นตู้ควบคุม เป็นต้น

ADMIN เมื่อ 21 มค 65, 09:45 น. #18

การขึ้นรูป คือมีการผลิตชิ้นส่วนขึ้นเอง

หากไม่มีการผลิตชิ้นส่วน จะเป็นการประกอบเครื่องจักร ซึ่งจัดเป็นกิจการประเภท 4.5.3 ครับ

ZATH เมื่อ 21 มค 65, 11:34 น. #19

การผลิตชิ้นส่วนเอง หมายถึงอะไรหรือคะ เช่น เราซื้อปลั๊ก สายไฟ โครงเหล็ก แผ่นเหล็ก มาตัดและประกอบ อย่างนี้เรียกผลิตชิ้นส่วนเองหรือไม่คะ

ZATH เมื่อ 21 มค 65, 11:39 น. #20

สอบถามเรื่องการยื่นขอรับการสงเสริมทางออนไลน์ สามารถรวมเครื่องจักรที่นำเข้ามาภายในวันที่ยื่นบัตรส่งเสริมออนไลน์เป็นเครื่องจักรของโตรงการ (โดยวันนำเข้าเคร่องจักรหมายถึงวันเรือเข้าบนใบขน) ใช่หรือไม่คะ

2